เส้นทางของ" จเด็จ  กำจรเดช" ดับเบิ้ลซีไรต์ "เราต้องอยู่ได้จากงานเขียน "


เพิ่มเพื่อน    

        

    จเด็จ กำจรเดช เป็นอีกนักเขียนที่ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์)2ครั้ง หรือเรียกว่าดับเบิ้ลซีไรต์ และปีล่าสุด เขาคว้ารางวัลซีไรต์ประเภทเรื่องสั้นในผลงานชื่อว่า "คืนปีเสือ และเรื่องเล่าของสัตว์อื่น ๆ "เมื่อสัปดาห์ที่ผ่าน จเด็จ ก็ได้มาพูดคุย ถึงผลงานเรื่องสั้นเล่มนี้ ในงานงานพบนักเขียนรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2563


    ก่อนจะเข้าสู่การพูดคุยถึงผลงานเรื่องสั้น จเด็จ กำจรเดช ได้เล่าถึงเส้นทางการเป็นนักเขียนว่า ตนเป็นเพียงนักเขียนคนหนึ่งที่ทำงานเขียนมากว่า 20 ปี  ชอบที่จะเขียนเรื่องสั้นให้ยาว อาจจะดูขัดบุคลิกตัวที่พูดน้อย ทำให้รู้สึกว่านี่เป็นการท้าทายตัวเองอย่างหนึ่ง แต่หากย้อนกลับไปก่อนที่เราจะมาถึงจุดที่เป็นนักเขียน ก็ได้ทำงานศิลปะต่างๆ ตามที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา วาดรูปบ้าง วาดภาพพร้อมเขียนเรื่องการ์ตูนบ้าง หรือแต่งเพลงในบางครา แต่เพราะความชอบอ่านหนังสือหลากหลายแนวเป็นพื้นฐาน เพราะเมื่อได้อ่านก็จะทำให้เราได้รู้เรื่องราวต่างๆ และความคิดของนักเขียนมากขึ้น กลายเป็นเรื่องปกติที่เราจะพกหนังสือหนึ่งเล่มไปอ่านด้วยในทุกที่ ประกอบกับในสมัยนั้นงานศิลปะที่ทำอยู่ก็น้อยลง ตนจึงเปลี่ยนมาลองเริ่มงานเขียน สลับกับการทำงานเพื่อเลี้ยงตัวเอง แต่ในระหว่างทางไม่ได้ราบเรียบ ก็มีอุปสรรคที่ต้องเผชิญมากมาย ทั้งเรื่องชีวิต ครอบครัว หรือแม้กระทั่งตอนไม่มีงานทำ จึงได้ทบทวนและคิดว่าสิ่งที่พอจะทำได้มีอะไรบ้าง จากความสามารถที่เรามี  จนตกผลึกได้ว่า การเป็นนักเขียน น่าจะเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายสุดเพราะไม่ต้องมีอุปกรณ์เยอะ  เพียงแค่เราต้องถ่ายทอดงานเขียนออกมาให้น่าสนใจ ได้ถ่ายทอดลายเส้นที่คนอ่านจำได้ คือการนำเสนอเรื่องหรือมุมมองแปลก อย่าง บทกวีที่เคยเขียนว่า บางครั้งปลาก็อยากว่ายเล่นบนฟ้า สะท้อนความคิดตนเองว่ามีความแปลกประหลาดซ้อนอยู่ 


    จเด็จ เล่าต่อว่า  แม้ว่างานเขียนจะไม่ได้เป็นงานที่สร้างรายได้มากจนรวย แต่งานเขียนเหมือนเป็นการหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณของตนเองมากกว่า แต่ก็ต้องมีจุดที่ต่ำสุดของนักเขียนคือเขียนงานไม่ได้ ที่แย่กว่า คือ งานขายไม่ออกสักเล่ม เพราะในตอนที่เราเขียนงานไม่ออก เหมือนคนไร้ค่า ไม่มีความสุข แต่พอมีงานเขียนออกมาสักเล่มก็ทำให้เรามีตัวตน มีคุณค่า มีความสุข และยังเป็นผลงานที่ทำให้มีสถานะทางสังคมขึ้นมา เพื่ออวดคนในครอบครัว  กลับขายไม่ได้ จึงเป็นอะไรที่แย่มาก ส่วนเป้าหมายสูงสุดคือ ตนจะต้องอยู่ได้จากผลงานเขียน ไม่ต้องเดินสายประกวด  แต่จะมีคนที่รออ่านของเราอยู่ ดังนั้นเวทีการประกวดสปอร์ตไลท์ส่องทางให้คนรู้จักเราบันไดขั้นแรกเพื่อเป็นของเส้นทางเพื่อไปสู่เป้าหมาย 


    สำหรับเรื่องสั้น คืนปีเสือ และเรื่องเล่าของสัตว์อื่นๆ มือรางวัลซีไต์ บอกว่า  ตั้งใจที่จะทำให้แตกต่างจากงานเขียนที่ผ่านมา เพราะส่วนตัวก็ยังเบื่องานเขียนของตัวเองในแนวเดิมๆ เรื่องสั้นเล่มนี้จึงแตกต่างไปจากเดิมที่มีความเติบโตขึ้น สร้างสรรค์ตัวละครมากขึ้น แต่ยังคงเป็นโครงเรื่องสั้นที่ยาวเช่นเดิม ที่อาจจะแปลกไปจากหลักของเรื่องสั้น ที่อาจจะมีการเน้นตัวละครเพียงตัวเดียว แต่ในเรื่องสั้นแต่ละเรื่องตนได้บอกเล่าถึงพื้นที่ที่เราได้เดินทางไป รวมไปถึงการใช้สัตว์เป็นสัญลักษณ์หรือตัวแทนบางอย่าง เปรียบเทียบเป็นสิ่งต่างๆ ซึ่งเราก็ต้องไปหาข้อมูล เข้าไปสัมผัสพื้นที่จริง  ได้เก็บรายละเอียดเล็กๆทั้งกลิ่น เสียง หรือความรู้สึก สีหน้าของผู้คน  เพื่ออรรถรสของเนื้อหา อย่างเรื่องเป็ดบนหลังคา ที่ถ่ายทอดมาจากเรื่องจริงในชีวิตที่ต้องสูญเสียลูกชายจากโรคไข้เลือดออก แต่มีการเชื่อมโยงถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจริงอีกมุมคือ เป็ดคือสัตว์ที่เราซื้อให้ลูกไปเลี้ยง แต่อยู่มาวันหนึ่งมันก็หายไป แต่ก็มีเสียงกุกกักอยู่บนหลังคา จึงคิดว่ามันอาจจะอยู่บนนั้น จนแม่ก็ได้พูดขึ้นมาว่า ไม่ใช่เป็ดหรอก เพราะมันขึ้นบนสวรรค์ไปแล้ว ความน่าสนใจจึงอยู่ที่ผู้อ่านจะได้หาคำตอบว่าสัตว์ถึงถูกนำมาเปรียบเปรยนั้นแท้จริงแล้วมันคือสัญญะหรือตัวแทนของอะไร หรือมันพยายามจะบอกอะไรกับเรา


    ด้าน รศ.ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร นายกสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้แสดงความเห็นว่า  เรื่องสั้นคืนปีเสือ และเรื่องเล่าของสัตว์อื่นๆ เป็นเหมือนเรื่องเล่า ที่ดูจะเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน ในบางครั้งที่เรารับรู้ข้อมูลข่าวสารมาจากสิ่งที่เขาเล่าว่า เขาบอกว่า มาอีกที โดยที่ยังไม่รู้ว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ และความน่าสนใจยังอยู่ที่การปรากฎตัวของตัวละครที่คือ สัตว์หลายชนิด ในเรื่องก็มีความแปลกไปในแต่ละบท แต่กลับเหมือนการหลอมรวมไปกับชีวิตจริง ทั้งนี้ในเล่มนี้จะยังคงมีบางบทที่ทำให้เราเห็นวิธีการเขียนเรื่องสั้นแบบเดิม และแบบที่สร้างสรรค์ขึ้นมาในแบบฉบับของนักเขียนเอง  ทำให้เราได้สัมผัสความท้าทายทั้งเนื้อหา วิธีการเล่า และภาษาที่ใช้ ที่ทั้งได้คิดวิเคราะห์ ได้ถกเถียงถึงความคิดของนักเขียน และเราก็ยังได้ทบทวนตนเองอีกด้วย

    ส่วนผลงานเรื่องสั้น"คืนปีเสือ และเรื่องเล่าของสัตว์อื่น ๆ " ของจเด็จ คณะกรรมการซีไรต์ ที่ตัดสินลงความเห็นว่า ด้หยิบยกนำสัตว์หลากหลายชนิด มาบอกเล่าผ่านเรื่องสั้นในแต่ละตอนได้อย่างน่าขบคิด มีความซับซ้อน น่าค้นหา ปนเปด้วยความรู้สึกที่หนักหน่วง  จากประสบการณ์การสังเกต การตีความ ที่เป็นมโนทัศน์ลึกซึ้งของนักเขียนที่มีความสร้างสรรค์ฉีกขนบเรื่องสั้นในแบบเดิมได้อย่างมีเอกลักษณ์ 
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"