ใช้ความรุนแรงไม่ใช่ทางออกไฟใต้ ทุกอย่างดับได้ด้วยการพัฒนา


เพิ่มเพื่อน    

     ครบรอบ 16 ปี ของการตายหมู่กว่า 80 ศพ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 ไปอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในปีนี้ แนวร่วม ที่เป็นกลุ่มติดอาวุธของขบวนการแบ่งแยกดินแดนบีอาร์เอ็นไม่ได้ก่อเหตุความรุนแรงใดๆ เพื่อเป็นการ ตอกย้ำ ให้มวลชนอย่าได้ลืมบาดแผล แห่งความทรงจำของความสูญเสีย จากความ หละหลวม ของเจ้าหน้าที่รัฐเมื่อ 16 ปีที่แล้ว 

     แต่ครบรอบ ตากใบทมิฬ ปีนี้ ยังมีการแขวนป้ายผ้า เพื่อ รำลึก ถึงเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งทุกๆ ปี ผู้ที่ปฏิบัติการแขวนป้ายผ้า จะไม่ปรากฏตัว เพราะเป็นหน้าที่ของ แนวร่วม ในแต่ละพื้นที่เป็นผู้ปฏิบัติการ แต่ปีนี้ ผู้ที่ทำการแขวนป้ายผ้าทำอย่างเปิดเผย มีตัวตนที่ชัดเจน คือกลุ่มของภาคประชาสังคมในพื้นที่ ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่ เห็นต่าง จากเจ้าหน้าที่รัฐ และมีจุดมุ่งหมายที่ต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 

     โดยผู้ทำหน้าที่แขวนป้ายรำลึกถึงเหตุการณ์ตายหมู่ที่ตากใบ เมื่อ 16 ปีก่อน ยอมให้เจ้าหน้าที่นำตัวมาโรงพัก เพื่อเปรียบเทียบปรับในข้อหาเล็กๆ เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ความสะอาด คนละ 500 บาท 

     ที่นี่ได้พยายาม สื่อ ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้คนในสังคมได้รับรู้ว่า วันนี้บีอาร์เอ็นมีการเปลี่ยน ยุทธวิธี โดยทำงานทาง การเมือง มากขึ้น และทำงานการ ทหาร หรือการ ก่อเหตุ น้อยลง 

     และมีมวลชนใน ปีกการเมือง ทำหน้าที่อย่างเปิดเผย แทนกลุ่มผู้ ติดอาวุธ เพื่อป้องกันการสูญเสีย และการถูกจับกุม 

     ที่เห็นชัดเจนคือ กลุ่มการเมือง ได้ใช้เวทีใหญ่ของการขับไล่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  โดย เบียดแทรก เข้าไปมีส่วนร่วมในทุกเวที เพื่อการแสดงออกให้สังคมในประเทศและสังคมโลกได้รับรู้ถึงเรื่องความ ขัดแย้ง ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และ ความต้องการของที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลงของคนในพื้นที่ ส่วนในเวทีโลกนั้น ไม่ต้องกล่าวถึง เพราะทุก วาระ ที่เกี่ยวกับเรื่องการเมือง เรื่องความยุติธรรม เรื่องประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ และอัตลักษณ์บนเวทีของยูเอ็น ต้องมีตัวแทนปีกทางการเมืองจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปปรากฏ เพื่อแสดง ตัวตน ให้สังคมโลกได้รับรู้ทุกครั้ง 

     นั้นคือความเคลื่อนไหวของกลุ่มเยาวชนในพื้นที่ ซึ่งทางหน่วยงานความมั่นคงเชื่อว่าเป็น ปีกทางการเมือง ของขบวนการบีอาร์เอ็น ที่หากสังเกตให้ถี่ถ้วน จะเห็นว่าเป็นปฏิบัติการที่เป็นขบวนการ มีความแนบแน่นกับองค์กรต่างๆ ที่มาจากต่างประเทศ มีระบบ มีแผน ในการขับเคลื่อนที่ชัดเจนมากขึ้นทุกวัน 

     วันนี้ หน่วยงานความมั่นคงจึงต้องมีการปรับเปลี่ยน ทั้ง ยุทธศาสตร์ และ ยุทธวิธี ใหม่ เพื่อให้สอดรับกับแผนปฏิบัติการทาง การเมือง ของปีกทางการเมืองของบีอาร์เอ็นเสียใหม่ และงานที่จะเอาชนะงานการเมืองของบีอาร์เอ็นได้ คืองานการพัฒนา พื้นที่ เพื่อเป็นการแยกมวลชนที่ยัง เห็นต่าง จากมวลชนกลุ่มนี้ให้ได้ 

     เพราะยังมีเยาวชนในพื้นที่ 3 จังหวัด 4 อำเภออีกเป็นจำนวนมาก ที่อยู่ในวัยการศึกษาเล่าเรียน และจบออกมาปีละนับหมื่นคน คนเหล่านี้ เมื่อจบออกมาจะต้องมีที่รองรับ หรือมีที่ หยั่งเท้า ในการมีอาชีพที่มั่นคง เพื่อมิให้กลายเป็นคน ว่างงาน มีอคติกับรัฐ และจะกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ไปสนับสนุนปีกการเมืองของบีอาร์เอ็น เพื่อต้องการให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ 

     ต้องมีการสร้างงานขนาดใหญ่ในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น ปัตตานี,ยะลา, นราธิวาส และสงขลา เมืองต้นแบบ ที่เกิดขึ้นแล้ว ทั้งใน ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะรัฐบาลในส่วนกลางต้องเร่งรีบผลักดัน อะไรที่เป็นปัญหาและ อุปสรรค ต้องเร่งมือในการแก้ให้จบ 

     ต้องมีโครงการใหญ่ๆ อย่าง เมืองต้นแบบที่ 4 ที่ อ.จะนะ จ.สงขลา เกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อให้เป็นแหล่งงานรองรับเยาวชนที่จบการศึกษาแล้วยังไม่มีงานทำ และเยาวชนที่จบใหม่ให้มีงานทำ เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม 

     โครงการเมืองต้นแบบทั้ง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะช้าไม่ได้ เพราะสิ่งที่เห็นชัดเจนว่า การพัฒนาที่ถูกต้อง และการพัฒนาที่ประชาชนได้รับประโยชน์ จะสร้างความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เพราะความล่าช้าและความล้มเหลว จะกลายเป็นเงื่อนไขให้ปีกทางการเมืองของบีอาร์เอ็นนำไปโฆษณาชวนเชื่อให้เห็นถึงความไม่จริงใจของรัฐบาล และความไร้ประสิทธิภาพของหน่วยงานในพื้นที่ 

     โครงการเมืองต้นแบบที่ อ.เบตง จ.ยะลา โครงการเมืองต้นแบบที่ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี วันนี้ เริ่มขับเคลื่อนไปได้แล้ว เช่นเดียวกับ โครงการการค้าชายแดนที่ จ.นราธิวาส ก็พอจะมองเห็นเป้าหมายที่ชัดขึ้น และเชื่อว่าถ้าหมดปัญหาเรื่องของ โควิด-19 การพัฒนา ด่านชายแดนเพื่อสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน ก็จะเติบโตอย่างรวดเร็ว 

     เหลือเพียง เมืองต้นแบบที่ 4 ที่รัฐบาลต้องเร่งมือในการขับเคลื่อนให้เร็วกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคมที่ผ่านมา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ผู้รับผิดชอบงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มีการประชุมเพื่อให้หน่วยงานทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องกับการเดินหน้าของ เมืองต้นแบบ ทั้งหมด ให้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถขับเคลื่อนแผนงานของ เมืองต้นแบบทุกแห่งไปสู่ความสำเร็จโดยเร็ว 

     สำหรับ เมืองต้นแบบที่ 4 ที่ อ.จะนะนั้น หลังจากที่กรรมการผังเมืองของ จ.สงขลา ได้มีมติให้เปลี่ยนผังเมืองจากสีเขียวเป็นสีม่วงเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ก็นับเป็นความคืบหน้าอีกขั้นหนึ่งของ เมืองต้นแบบที่ 4 แห่งนี้ ซึ่งยังมีอีกหลายขั้นตอน ที่เป็นหน้าที่ของกรมโยธาธิการในการดำเนินการไปสู่ความสำเร็จ 

     เชื่อเถอะ โดยข้อเท็จจริง สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่สามารถจะจบลงได้ด้วยการป้องกัน ปราบปราม เพื่อรักษาความสงบในพื้นที่ เพราะหากมวลชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ยังตกอยู่ใน วังวน ของความยากจน ว่างงาน ย่อมกลายเป็นเงื่อนไขของบีอาร์เอ็นในการไอโอ เพื่อให้มวลชนที่ได้รับผลกระทบ สนับสนุนขบวนการให้มากที่สุด 

     แต่...ถ้าเยาวชนที่จบการศึกษาหรือที่ว่างงาน มีงานทำ มีความมั่นคงของชีวิต กินอิ่ม นอนอุ่น เงื่อนไขในการปลุกระดมของบีอาร์เอ็น ก็จะกลายเป็น ฟืนเปียก จุดไม่ติด ไฟใต้ ที่  โชนแสง ก็จะมอดดับไปส่วนหนึ่ง หน่วยงานความมั่นคงก็จะ จัดการ กับปัญหา ไฟใต้ ที่ยังเหลืออยู่ได้ง่ายขึ้น 

     วันนี้ปัญหาหนึ่งที่ ศอ.บต.ขับเคลื่อนงานไม่ได้อย่างที่ต้องการ คือหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และต้องร่วมคิดร่วมทำ ยังชักช้า อืดอาด ไม่ตอบสนองความต้องการของรัฐบาล จนทำให้กลายเป็น จุดอ่อน ให้ทั้งเอ็นจีโอและบีอาร์เอ็นนำไปเป็นเงื่อนไขในการขัดขวางแผนการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มิให้ประสบความสำเร็จ 

     สำหรับบีอาร์เอ็นแล้ว หนึ่งในปัจจัยของความสำเร็จในการแบ่งแยกดินแดน คือทำให้รัฐล้มเหลวในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้คนในพื้นที่ยากจน สิ้นหวัง กับการแก้ปัญหาของรัฐบาล ดังนั้น การที่เอ็นจีโอออกมาขัดขวางการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงเป็นสิ่งที่ “เข้าทาง” ของบีอาร์เอ็นโดยไม่ต้องลงทุน.

เมือง ไม้ขม

31kom21

รายงาน/หน้า 2

 

              ใช้ความรุนแรงไม่ใช่ทางออกไฟใต้  

               ทุกอย่างดับได้ด้วยการพัฒนา

     ครบรอบ 16 ปี ของการตายหมู่กว่า 80 ศพ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 ไปอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในปีนี้ แนวร่วม ที่เป็นกลุ่มติดอาวุธของขบวนการแบ่งแยกดินแดนบีอาร์เอ็นไม่ได้ก่อเหตุความรุนแรงใดๆ เพื่อเป็นการ ตอกย้ำ ให้มวลชนอย่าได้ลืมบาดแผล แห่งความทรงจำของความสูญเสีย จากความ หละหลวม ของเจ้าหน้าที่รัฐเมื่อ 16 ปีที่แล้ว 

     แต่ครบรอบ ตากใบทมิฬ ปีนี้ ยังมีการแขวนป้ายผ้า เพื่อ รำลึก ถึงเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งทุกๆ ปี ผู้ที่ปฏิบัติการแขวนป้ายผ้า จะไม่ปรากฏตัว เพราะเป็นหน้าที่ของ แนวร่วม ในแต่ละพื้นที่เป็นผู้ปฏิบัติการ แต่ปีนี้ ผู้ที่ทำการแขวนป้ายผ้าทำอย่างเปิดเผย มีตัวตนที่ชัดเจน คือกลุ่มของภาคประชาสังคมในพื้นที่ ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่ เห็นต่าง จากเจ้าหน้าที่รัฐ และมีจุดมุ่งหมายที่ต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 

     โดยผู้ทำหน้าที่แขวนป้ายรำลึกถึงเหตุการณ์ตายหมู่ที่ตากใบ เมื่อ 16 ปีก่อน ยอมให้เจ้าหน้าที่นำตัวมาโรงพัก เพื่อเปรียบเทียบปรับในข้อหาเล็กๆ เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ความสะอาด คนละ 500 บาท 

     ที่นี่ได้พยายาม สื่อ ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้คนในสังคมได้รับรู้ว่า วันนี้บีอาร์เอ็นมีการเปลี่ยน ยุทธวิธี โดยทำงานทาง การเมือง มากขึ้น และทำงานการ ทหาร หรือการ ก่อเหตุ น้อยลง 

     และมีมวลชนใน ปีกการเมือง ทำหน้าที่อย่างเปิดเผย แทนกลุ่มผู้ ติดอาวุธ เพื่อป้องกันการสูญเสีย และการถูกจับกุม 

     ที่เห็นชัดเจนคือ กลุ่มการเมือง ได้ใช้เวทีใหญ่ของการขับไล่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  โดย เบียดแทรก เข้าไปมีส่วนร่วมในทุกเวที เพื่อการแสดงออกให้สังคมในประเทศและสังคมโลกได้รับรู้ถึงเรื่องความ ขัดแย้ง ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และ ความต้องการของที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลงของคนในพื้นที่ ส่วนในเวทีโลกนั้น ไม่ต้องกล่าวถึง เพราะทุก วาระ ที่เกี่ยวกับเรื่องการเมือง เรื่องความยุติธรรม เรื่องประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ และอัตลักษณ์บนเวทีของยูเอ็น ต้องมีตัวแทนปีกทางการเมืองจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปปรากฏ เพื่อแสดง ตัวตน ให้สังคมโลกได้รับรู้ทุกครั้ง 

     นั้นคือความเคลื่อนไหวของกลุ่มเยาวชนในพื้นที่ ซึ่งทางหน่วยงานความมั่นคงเชื่อว่าเป็น ปีกทางการเมือง ของขบวนการบีอาร์เอ็น ที่หากสังเกตให้ถี่ถ้วน จะเห็นว่าเป็นปฏิบัติการที่เป็นขบวนการ มีความแนบแน่นกับองค์กรต่างๆ ที่มาจากต่างประเทศ มีระบบ มีแผน ในการขับเคลื่อนที่ชัดเจนมากขึ้นทุกวัน 

     วันนี้ หน่วยงานความมั่นคงจึงต้องมีการปรับเปลี่ยน ทั้ง ยุทธศาสตร์ และ ยุทธวิธี ใหม่ เพื่อให้สอดรับกับแผนปฏิบัติการทาง การเมือง ของปีกทางการเมืองของบีอาร์เอ็นเสียใหม่ และงานที่จะเอาชนะงานการเมืองของบีอาร์เอ็นได้ คืองานการพัฒนา พื้นที่ เพื่อเป็นการแยกมวลชนที่ยัง เห็นต่าง จากมวลชนกลุ่มนี้ให้ได้ 

     เพราะยังมีเยาวชนในพื้นที่ 3 จังหวัด 4 อำเภออีกเป็นจำนวนมาก ที่อยู่ในวัยการศึกษาเล่าเรียน และจบออกมาปีละนับหมื่นคน คนเหล่านี้ เมื่อจบออกมาจะต้องมีที่รองรับ หรือมีที่ หยั่งเท้า ในการมีอาชีพที่มั่นคง เพื่อมิให้กลายเป็นคน ว่างงาน มีอคติกับรัฐ และจะกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ไปสนับสนุนปีกการเมืองของบีอาร์เอ็น เพื่อต้องการให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ 

     ต้องมีการสร้างงานขนาดใหญ่ในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น ปัตตานี,ยะลา, นราธิวาส และสงขลา เมืองต้นแบบ ที่เกิดขึ้นแล้ว ทั้งใน ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะรัฐบาลในส่วนกลางต้องเร่งรีบผลักดัน อะไรที่เป็นปัญหาและ อุปสรรค ต้องเร่งมือในการแก้ให้จบ 

     ต้องมีโครงการใหญ่ๆ อย่าง เมืองต้นแบบที่ 4 ที่ อ.จะนะ จ.สงขลา เกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อให้เป็นแหล่งงานรองรับเยาวชนที่จบการศึกษาแล้วยังไม่มีงานทำ และเยาวชนที่จบใหม่ให้มีงานทำ เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม 

     โครงการเมืองต้นแบบทั้ง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะช้าไม่ได้ เพราะสิ่งที่เห็นชัดเจนว่า การพัฒนาที่ถูกต้อง และการพัฒนาที่ประชาชนได้รับประโยชน์ จะสร้างความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เพราะความล่าช้าและความล้มเหลว จะกลายเป็นเงื่อนไขให้ปีกทางการเมืองของบีอาร์เอ็นนำไปโฆษณาชวนเชื่อให้เห็นถึงความไม่จริงใจของรัฐบาล และความไร้ประสิทธิภาพของหน่วยงานในพื้นที่ 

     โครงการเมืองต้นแบบที่ อ.เบตง จ.ยะลา โครงการเมืองต้นแบบที่ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี วันนี้ เริ่มขับเคลื่อนไปได้แล้ว เช่นเดียวกับ โครงการการค้าชายแดนที่ จ.นราธิวาส ก็พอจะมองเห็นเป้าหมายที่ชัดขึ้น และเชื่อว่าถ้าหมดปัญหาเรื่องของ โควิด-19 การพัฒนา ด่านชายแดนเพื่อสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน ก็จะเติบโตอย่างรวดเร็ว 

     เหลือเพียง เมืองต้นแบบที่ 4 ที่รัฐบาลต้องเร่งมือในการขับเคลื่อนให้เร็วกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคมที่ผ่านมา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ผู้รับผิดชอบงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มีการประชุมเพื่อให้หน่วยงานทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องกับการเดินหน้าของ เมืองต้นแบบ ทั้งหมด ให้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถขับเคลื่อนแผนงานของ เมืองต้นแบบทุกแห่งไปสู่ความสำเร็จโดยเร็ว 

     สำหรับ เมืองต้นแบบที่ 4 ที่ อ.จะนะนั้น หลังจากที่กรรมการผังเมืองของ จ.สงขลา ได้มีมติให้เปลี่ยนผังเมืองจากสีเขียวเป็นสีม่วงเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ก็นับเป็นความคืบหน้าอีกขั้นหนึ่งของ เมืองต้นแบบที่ 4 แห่งนี้ ซึ่งยังมีอีกหลายขั้นตอน ที่เป็นหน้าที่ของกรมโยธาธิการในการดำเนินการไปสู่ความสำเร็จ 

     เชื่อเถอะ โดยข้อเท็จจริง สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่สามารถจะจบลงได้ด้วยการป้องกัน ปราบปราม เพื่อรักษาความสงบในพื้นที่ เพราะหากมวลชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ยังตกอยู่ใน วังวน ของความยากจน ว่างงาน ย่อมกลายเป็นเงื่อนไขของบีอาร์เอ็นในการไอโอ เพื่อให้มวลชนที่ได้รับผลกระทบ สนับสนุนขบวนการให้มากที่สุด 

     แต่...ถ้าเยาวชนที่จบการศึกษาหรือที่ว่างงาน มีงานทำ มีความมั่นคงของชีวิต กินอิ่ม นอนอุ่น เงื่อนไขในการปลุกระดมของบีอาร์เอ็น ก็จะกลายเป็น ฟืนเปียก จุดไม่ติด ไฟใต้ ที่  โชนแสง ก็จะมอดดับไปส่วนหนึ่ง หน่วยงานความมั่นคงก็จะ จัดการ กับปัญหา ไฟใต้ ที่ยังเหลืออยู่ได้ง่ายขึ้น 

     วันนี้ปัญหาหนึ่งที่ ศอ.บต.ขับเคลื่อนงานไม่ได้อย่างที่ต้องการ คือหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และต้องร่วมคิดร่วมทำ ยังชักช้า อืดอาด ไม่ตอบสนองความต้องการของรัฐบาล จนทำให้กลายเป็น จุดอ่อน ให้ทั้งเอ็นจีโอและบีอาร์เอ็นนำไปเป็นเงื่อนไขในการขัดขวางแผนการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มิให้ประสบความสำเร็จ 

     สำหรับบีอาร์เอ็นแล้ว หนึ่งในปัจจัยของความสำเร็จในการแบ่งแยกดินแดน คือทำให้รัฐล้มเหลวในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้คนในพื้นที่ยากจน สิ้นหวัง กับการแก้ปัญหาของรัฐบาล ดังนั้น การที่เอ็นจีโอออกมาขัดขวางการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงเป็นสิ่งที่ “เข้าทาง” ของบีอาร์เอ็นโดยไม่ต้องลงทุน.

เมือง ไม้ขม


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"