’พลังบวร’ ณ ชุมชนวัดมงคลวราราม  เพชรเม็ดงามภูเก็ต


เพิ่มเพื่อน    


 ขนมลา จากขนมพื้นบ้านสู่สินค้าของฝากภูเก็ตขึ้นชื่อ

          

     "ภูเก็ต" ดินแดนสวรรค์แห่งอันดามัน หนึ่งในจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวระดับโลก นอกจากหาดทรายสวย  น้ำทะเลใส และเกาะน้อยใหญ่ ที่เป็นเสน่ห์แล้ว  ภูเก็ตยังมีชุมชนที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม คือชุมชนวัดมงคลวราราม ตั้งอยู่หมู่ที่1 ต.สาคู อ.ถลาง  ซึ่งน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนวิถีชุมชนด้วยพลังบวร เป็น 1 ใน 100 ชุมชนต้นแบบที่ได้รับรางวัลระดับประเทศ  เป็นอีกเดสติเนชั่นที่อยากชวนเดินทางมาท่องเที่ยว  


      ล่าสุดนายอิทธิพล คุณปลื้มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.)  พร้อมด้วยยุพา วัฒนะกิจบวร ปลัด วธ. ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานชุมชนคุณธรรมวัดมงคลวราราม จ.ภูเก็ต  โดยมีพระสงฆ์ ผู้นำชุมชน ชาวบ้านในยาง ให้การต้อนรับอย่างคึกคักโอกาสนี้ รมว.วธ. กราบสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิภายในวัด ได้แก่ ต้นพระศรีมหาโพธิ์สมเด็จย่าทรงปลูกไว้เมื่อปี2515 จากนั้นเคารพรูปปั้นหลวงพ่อหนังเสือ เจ้าอาวาสรูปแรก ผู้เคร่งครัดชำนาญในพุทธศาสตร์และวิทยาอาคม เพื่อความเป็นสิริมงคลและสักการะพระพุทธมงคลเมตตา ก่อนชมการแสดงทางศิลปวัฒธรรมแดนใต้  อาทิ ระบำร่อนแร่และการแสดงชุดภูเก็ตเมืองสวรรค์ชาวบ้านแต่งกายพื้นเมืองร่ายรำอย่างสวยงาม อีกทั้งเยี่ยมชมการสาธิตภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณค่าและผลิตภัณฑ์ชุมชนของดีของชาวในยางที่มาจากวิถีเกษตร วิถีประมงพื้นบ้าน 


      นายอิทธิพล กล่าวว่า ชุมชนวัดมงคลวราราม  มีขับเคลื่อนด้วย บ้าน วัด โรงเรียน ซึ่งเป็นพลังบวร ตามวิถีวัฒนธรรมไทยแต่โบราณ และน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดำเนินชีวิต มีการนำทุนทางวัฒนธรรมที่ดีงามอันเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นมาต่อยอด ส่งเสริมการท่องเที่ยวสร้างสินค้าและบริการ ซึ่งทางวธ.  ค้นพบว่าชุมชนแห่งนี้เป็นเพชรเม็ดงามของภูเก็ต  ขับเคลื่อนชุมชนด้วยคุณธรรมบวกกับศักยภาพในพื้นที่ ความพร้อมของสถานที่  และเป็นแกนกลางถ่ายทอดไปสู่เครือข่าย  ที่นี่มีโครงการสืบสาน รักษา ต่อยอด“บวร on tour”   จัดตั้งวิสาหกิจชุมชนจำหน่ายในตลาดนัดพอเพียงและจำหน่ายนักท่องเที่ยว   ซึ่งต่อจากนี้ วธ.จะนำเทคโนโลยีเข้ามาส่งเสริมชุมชนคุณธรรม   ด้วยการจัดทำตลาดการค้าออนไลน์  รูปแบบบวรออนทัวร์ออนไลน์ นำเสนอของดีของชุมชน   คัดเลือกผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น มาประชาสัมพันธ์ให้คนทั่วโลกได้รู้จักสนใจเข้ามาท่องเที่ยวในชุมชนคุณธรรมมากขึ้น

 

อิทธิพล คุณปลื้ม รมว.วธ. พร้อมด้วยปลัด วธ. เยี่ยมชมสาธิตเพนท์ผ้าบาติก ของดีชุมชน


      ในฐานะเจ้าบ้าน  กิตติกร ประทีป ณถลาง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสาคู บอกเล่าเรื่องราวของชุมชนว่า   บ้านในยางเป็นหมู่บ้านเล็กๆ มีความเป็นอยู่เรียบง่าย ดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และสืบสานวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม  มีวัดมงคลวรารามหรือวัดในยางวัดเก่าแก่ เป็นศูนย์รวมจิตใจ  นอกจากนี้ ที่นี่ยังมีความงดงามของธรรมชาติ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะหาดในยางที่มีระบบนิเวศสมบูรณ์สะอาด เป็นแหล่งวางไข่ของเต่ามะเฟือง  


    ด้านทุนวัฒนธรรมชาวบ้านในชุมชนมีการนำภูมิปัญญามาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนจำหน่าย ทั้งอาหารคาวของหวานและสินค้าแปรรูป ภูมิปัญญาที่ขึ้นชื่อทั้งน้ำพริกกะลาปิ้ง,น้ำพริกรวน, ขนมจู้จุน,ขนมลา,กาละแม,ข้าวอยู่เกาะ,ชาลูกสมอไทย,เบือทอด,ห่อหมกย่างปลาทะเล,โอ๋วเอ๋ว,ผ้าไทยมัดย้อม,ผ้าบาติก เป็นของฝากจากเมืองภูเก็ตสร้างงานสร้างรายได้ 

 

รูปปั้นหลวงพ่อหนังเสือ เจ้าอาวาสรูปแรก สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ชุมชนคุณธรรมฯ วัดมงคลวราราม


    " ที่นี่เรามีวัดในยางเป็นศูนย์กลางชองชุมชน   โดยมีพระครูสัทธาวราภิยุต เจ้าอาวาสวัดมงคลวราราม เป็นผู้นำทำกิจกรรมทางศาสนา เช่น ประเพณีวันสารทเดือนสิบประเพณีกวนข้าวทิพย์ ประเพณีชักพระเวลามีงานวัดชาวบ้านจะแต่งกายด้วยชุดพื้นเมือง ขณะที่การทำกิจกรรมต่างๆ ของชาวบ้านได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนในพื้นที่และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น "


     เอกลักษณ์ของความเป็นวิถีชาวเกาะของชุมชน นับเป็นอีกจุดที่ผู้มาเยือนจะได้สัมผัส  เช่น ข้าวอยู่เกาะ  หรือน้ำพริกกะลาปิ้ง  ขนมจู้จุน  และ เบือทอด ที่หากินได้ที่นี่เท่านั้น


    ข้าวอยู่เกาะเป็นอย่างไรนั้น  ปู่สงัด ครุฑแก้ว ปราชญ์ชาวบ้าน วัย87 ปี ผู้สาธิตการทำข้าวอยู่เกาะ บอกเล่าว่า ข้าวอยู่เกาะเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านดั้งเดิม จะเดินป่า ทำสวนบนควนหรือภูเขา จะใช้ใบเล็ดมาห่อข้าวที่ล้างแล้วใส่กระบอกไม้ไผ่ ย่างจนสุก แล้วยังมีน้ำพริกกะลาปิ้ง  ตำน้ำพริกที่มีส่วนผสมกะปิ ปลาฉิ้งฉ้าง กระเทียม หัวหอม ตะไคร้ พริกจากนั้นเอามาใส่ในกะลา จับกะลาคว่ำปิ้งกับไฟ ถ้าไม่ย่างก็เรียกว่า น้ำชุบ ชาวชุมชนสืบสานรักษาภูมิปัญญานี้ ถ้ามาเที่ยวชุมชน ชวนมาเรียนรู้วิถีชาวบ้านอยู่เกาะ

 

ข้าวอยู่เกาะ - น้ำพริกกะลาปิ้ง อาหารจากภูมิปัญญาดั้งเดิม


     ส่วน อุษา ฟุ้งวิทยา ชาวบ้านในยาง เล่าถึงการสืบทอดสูตรขนมจู้จุน ขนมพื้นบ้านของ จ.ภูเก็ตมาจากครอบครัว โดยวางขายที่ตลาดเมืองใหม่สร้างรายได้ให้ครอบครัววัตถุดิบที่ใช้มีแป้งหมี่ แป้งข้าวเจ้า น้ำตาลเกลือ น้ำเปล่า วิธีการทำก็ง่าย เริ่มจากนำน้ำตาลมาตั้งไฟเคี่ยวให้เดือดพักไว้จนเย็นจากนั้นนำแป้งผสมกับน้ำตาลที่พักไว้พร้อมเกลือตีส่วนผสมให้เข้ากันแล้วหมักทิ้งไว้6 ชั่วโมง นำกระทะตั้งไฟเติมน้ำมันตั้งให้ร้อน แล้วตักแป้งขนมเทตรงกลางน้ำมันรอให้ขนมเหลืองอมแดงทแล้วพลิกกลับด้านล่างก็เสร็จทพร้อมทาน 


       อาหารพื้นบ้าน“เบือทอด“ก็อร่อยสมคำร่ำลือ  จิราพร ปิ่นครุฑ หนึ่งในเจ้าของร้านขายเบือทอด บอกว่า เปิดร้านขายเบือทอดทุกวัน รายได้ก่อนโควิดสองหมื่นบาทต่อเดือน หลังโควิดรายได้ลดลง เพราะนักท่องเที่ยวหายไป แต่ก็ยังมีชาวไทยมาเยือนภูเก็ต มาชุมชนบ้านในยาง สำหรับการทำเบือต้องใช้ความพยายามและเอาใจใส่มาก ทำให้ได้เบือทอดที่มีความกรอบ จุดเด่นผสมกับวัตถุดิบท้องถิ่นอย่างปลาฉิ้งฉ้างทานคู่กับน้ำจิ้มรสเด็ด วิธีการทำนำแป้งข้าวเจ้า พริกแกง น้ำตาลทราย กะปิ ผสมกับน้ำเปล่าให้เข้ากัน จากนั้นนำปลาฉิ้งฉ้างลงทอดให้เหลืองกรอบแล้วพักไว้ ขั้นตอนต่อมาตวงแป้งใส่ลงในกะทะที่ตั้งน้ำมันไว้  เมื่อแป้งเริ่มสุกให้โรยปลาฉิ้งฉ้างที่ทอดไว้ลงบนแป้ง สุกได้ที่จึงตักขึ้นพักไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน เป็นอีกเมนูพื้นบ้านของภูเก็ตที่ใครมาก็ต้องลิ้มรส

 

ผลิตภัณฑ์จักสานฝีมือชุมชนคุณธรรมฯ จะเสนอในตลาดบวรออนทัวร์ออนไลน์

 

       ปัจจุบันจังหวัดภูเก็ตมีชุมชนคุณธรรมทั้งหมด 62 แห่ง แบ่งเป็นชุมชนคุณธรรมระดับส่งเสริม 15 แห่งชุมชนคุณธรรมระดับคุณธรรม29 แห่งและชุมชนคุณธรรมระดับต้นแบบ18 แห่ง 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"