7นักวิชาการเตือนต้องตระหนัก"  ฝุ่นพิษ : ร้ายกว่าโควิด"


เพิ่มเพื่อน    

7 นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม-สุขภาพ-กฎหมาย-เศรษฐศาสตร์ รวมตัวหาทางออกมลพิษฝุ่น PM2.5

 


      เมืองที่ห่มคลุมไปด้วยมลพิษอากาศ  หากผู้อยู่อาศัยในเมืองนั้นยังเมินเฉย ไม่รู้สึกรู้สม   ย่อมหมายถึง สุขภาพของเขาเหล่านั้น กำลังตกอยู่ใน"ความเสี่ยง" เพราะฝุ่นพิษที่เป็นละอองขนาดเล็กจิ๋วนั้นประกอบด้วยสารอันตรายหลายชนิด  เมื่อสูดดมเข้าไป  ก็เหมือนนำสารพิษเข้าสู่ร่างกาย  อันตรายที่เกิดขึ้นจึงเหมือน"ตายผ่อนส่ง "


    ซึ่งปัญหาฝุ่นพิษขนาดเล็ก  ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในประเทศไทย ทั้งในกรุงเทพมหานคร  ภาคเหนือ และภาคใต้  ทำให้เกิดคำถามกับ ประชาชนว่า ตระหนักถึงมหันตภัยของฝุ่นพิษแค่ไหน อย่างไร   ใครควรเป็นผู้รับผิดชอบ  ไปจนถึงจะควบคุมต้นตอกำเนิดฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่างไร   เพื่อที่เราจะได้หายใจได้อย่างวางใจเต็มปอด


     มุมมองข้างต้น เป็นทัศนะของ  7 นักวิชาการ ที่มีความความเชี่ยวชาญและเกาะติดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5  ซึ่งไม่ยอมเพิกเฉย กับปัญหา พากันรวมตัวกันหาทางออกมลพิษทางอากาศ  พร้อมกระตุ้นเตือน ให้คนไทยตระหนักในใจมากยิ่งขึ้น ถึงภัยร้ายจากฝุ่นพิษจิ๋วผ่าน ”โครงการพลเมืองสร้างสรรค์ (Active Citizen) และผู้นำเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง (Prime Mover) ในบริบทการจัดการคุณภาพอากาศสำหรับประเทศไทย “                 ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 

 

สภาพฝุ่นขนาดจิ๋ว ปกตลุม กรุงเทพฯ


    นักวิชาการทั้ง 7 คน ได้มานั่งพูดคุย แลกเปลี่ยน และเสนอแนะแนวทางควบคุมฝุ่นท่ามกลางสถานการณ์มลพิษอากาศที่บั่นทอนสุขภาพของคนไทย เริ่มจาก  ศ.ดร.ศิวัช   พงษ์เพียจันทร์ ผู้อำนวยศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวว่า เราตั้งใจวางให้นักวิชาการทำหน้าที่เป็นผู้นำที่รวมองค์ความรู้ด้านมลพิษทางอากาศมอบให้แก่ประชาชน องค์ความรู้นี้ครบถ้วนและผ่านการตกตะกอนจากการคลุกคลีกับปัญหาฝุ่นพิษ และยังเกาะติดปัญหาจนถึงตอนนี้ การแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กจะประสบผลสำเร็จได้ ต้องสื่อสารเรื่องฝุ่น ไม่ใช่เรื่องขี้ฝุ่น แต่ภัยร้ายของมลพิษอากาศนี้บั่นทอนชีวิต ทำให้อายุคนสั้นลง คุณภาพชีวิตแย่ลง คนไทยตายผ่อนส่งจากฝุ่น โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เด็ก คนท้อง และผู้สูงอายุ โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ 2 ปีมานี้ปัญหามลพิษอากาศเลวร้าย  และมีกระแสการตระหนักถึงฝุ่นพิษ ควรเดินหน้าต่อเพื่อให้คนไทยตื่นรู้มากขึ้น ฉลาดมากขึ้น เกิดการมีส่วนร่วมลดมลพิษทางอากาศ รวมถึงสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอัตลักษณ์และวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธ์บนพื้นที่สูง 13 ชาติพันธุ์ ในการแก้ปัญหาด้วย

ศ.ดร.ศิวัช   พงษ์เพียจันทร์

 

    “  ฝุ่นละอองขนาดเล็กเป็นสาเหตุของโรคทางเดินหายใจ และเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคมะเร็ง หากศึกษาลงลึกขนาดของฝุ่นเล็กถึง 0.1 ไมครอนไปแล้ว ไม่ใช่แค่ 2.5 ไมครอน หรือ 10 ไมครอน  ต้องควบคุมและป้องกันไม่ให้ฝุ่นพิษเหล่านี้เข้าสู่ร่างกาย สำหรับฝุ่น PM2.5 ปัญหามีความซับซ้อนและรุนแรงมากกว่าโควิด19เสียอีก " ศ.ดร.ศิวัชกล่าว


     นักวิชาการรายนี้ ชี้อีกว่า แหล่งกำเนิดมีหลายประเภท ภาคเหนือ อย่าง จ.เชียงใหม่มาจากควันเสียยานพาหนะอันดับ 1 รองลงมาการเผาที่โล่งแจ้ง ส่วนมลพิษฝุ่นจิ๋วในกรุงเทพฯ มาจากการเผาในพื้นที่ปริมณฑล  ถ้าภูเก็ตฝุ่นพิษมาจากควันรถยนต์ และมลพิษข้ามพรมแดน ประเด็นคือ แม้จะควบคุมที่แหล่งกำเนิดแล้ว แต่เพื่อนบ้านปล่อย หมอกควันก็ลอยข้ามมาส่งผลกระทบสุขภาพคนไทย การแก้ปัญหาจึงต้องครอบคลุมทุกมิติ ทั้งสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ และกฎหมายที่จะต้องมีบทบาทจัดการคุณภาพอากาศสำหรับประเทศไทย นับเป็นครั้งแรกของบ้านเราที่ดึงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง แต่ทำงานมีเป้าหมายเดียวกัน เพื่อให้คนไทยมีอากาศสะอาดหายใจ  

 

 ควันไฟจากไฟไหม้หญ้าและป่าข้างทาง  ในกทม  ส่วนหนึงทำให้่เกิดฝุ่นจิ๋ว

 


    นักวิชาการผู้คลุกคลีระบบสุขภาพ  รศ.ดร.ธันวดี สุขสาโรจน์ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลตอกย้ำอีกว่า   ฝุ่น PM 10 มีขนาดเล็กกว่าเส้นผม สามารถเข้าไปถึงคอสู่หลอดลม ส่วน PM 2.5 สามารถเข้าสู่ถุงลมปอด หากขนาดเล็กลงอีกอย่างฝุ่น PM 0.1 จะทะลุลวงเข้าไปในหลอดเลือด จากนั้นเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายจะพาไปตับ ไต หัวใจ และสมอง ในรายงานการศึกษาที่สหรัฐยืนยันแล้ว ผู้ที่สัมผัสพื้นที่รับฝุ่นมาก หรือสูดดมฝุ่นพิษ ป่วยด้วยโรคมะเร็ง 70%     หันหลับมาที่ไทย คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล รายงานคนไทยป่วยด้วยโรคมะเร็งอันดับ 1 ทุกชั่วโมงมีคนตาย 8 คน ทั้งมะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งถุงน้ำดี ฯลฯ แม้จะมีการรณรงค์ให้คนไทยกินหวาน มัน เค็ม น้อยลง ให้เลิกเหล้า บุหรี่ แต่ยังมีคนป่วยด้วยมะเร็งมากมาย   ต้องไม่ลืมว่า มีปัจจัยมลพิษทางอากาศด้วย  ฝุ่นจิ๋วยังทำให้คนเป็นโรคหลงลืมก่อนวัยอันควรด้วย   ยังไม่พูดถึงโรคเบาหวาน โรคไต โรคตับ โรคอัลไซเมอร์ ปัญหาสุขภาวะจากโรคไม่ติดต่อนี้สร้างภาระค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลให้ประเทศ จะรวยหรือจน ถ้าเผชิญมรสุมฝุ่นจิ๋ว ก็เสี่ยงต่อสุขภาพเท่ากัน

 

 

    “ WHO ตั้งค่าความปลอดภัยฝุ่น PM2.5 เฉลี่ย 24 ชม.  ไว้ที่ 25 มคก./ลบ.ม. ไทยตั้งไว้ที่ 50 มคก./ลบ.ม. มีความพยายามขับเคลื่อนเพื่อให้ไทยลดเพดานค่ามาตรฐานมลพิษนี้ แต่ไม่สำเร็จ แสดงว่า คนไทยทนได้กับสภาพอากาศเช่นนี้ เป็นคำถามว่า ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเชื่อมั่นจริงหรือไม่ว่า ฝุ่นขนาดเล็กเป็นอันตรายต่อประชาชน ทางออกของปัญหาจะต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับประชาชน สนับสนุนให้เข้าถึงข้อมูล และไม่ทิ้งภาระการแก้ปัญหาให้ใครคนใดคนหนึ่ง “ รศ.ดร.ธันวดี ย้ำ

 

มุมไกล มองเห็นกทม.เหมือนเมืองในหมอกพิษ


    ด้าน ผศ.ดร.รุจิกาญจน์ นาสนิท คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดประเด็นเชื้อโรคที่มากับฝุ่นจิ๋วว่า คนที่สูดฝุ่นพิษระยะยาวต่อเนื่อง จะส่งผลกระทบต่อระบบร่างกาย เป็นโรคปอดอักเสบ และระบบทางเดินหายใจเสียหาย  เพราะเมื่อเชื้อโรคมา ร่างกายไม่สามารถต้านเชื่อได้ ทำให้อาการแย่ลง  นอกจากนี้ฝุ่นละอองขนาดเล็กส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน และหลอดเลือด ทำให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรงขึ้นหลังจากรับเชื้อไวรัส ที่สำคัญ ฝุ่นจิ๋วยังเป็นตัวกลางให้เชื้อโรคในอากาศด้วย มีรายงานศึกษาพบว่า เชื้อไวรัสโคโรนาเกาะกับมาฝุ่น ซึ่งทางตอนเหนือของอิตาลี พบการเผาไหม้ชีวมวลและสันดาษเครื่องยนต์สูง พบสภาพอากาศมีฝุ่นพิษในค่าที่อันตราย เมื่อเผชิญการแพร่ระบาดโควิด และประชาชนไม่ป้องกันตัวเองในระยะแรก โควิดจึงระบาดหนักมาก

 


    “ ทั้งฝุ่นและเชื้อโรคแม้มองไม่เห็น แต่ไม่ใช่ไม่มี สิ่งสำคัญคือ การป้องกันตนเอง ออกนอกอาคาร ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย คนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตภายในอาคารเฉลี่ยวันละ 90% ไม่ว่าจะบ้าน ที่ทำงาน โรงเรียน โรงพยาบาล โรงงานต้องจัดการระบายอากาศเพื่อหยุดการเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ รวมถึงระบบกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพ แม้ปัจจุบันไทยไม่มีค่ามาตรฐานควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคาร เราสามารถปรับใช้เกณฑ์ต่างประเทศได้ “   นักวิชาการรั้วศิลปากร เผย


    ฝุ่นพิษทุบเศรษฐกิจชาติ  สะท้อนผ่าน ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์ ฝ่ายวิจัยการลงทุน สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด  หนึ่งในนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ผู้ร่วมโครงการฯ ดร.ปิยศักดิ์ ชี้ว่า จากการศึกษาวิจัยถ้าประเทศไทยสามารถทำให้ฝุ่นพิษหายไปได้ จะส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น 3 % และพุ่งขึ้นเป็น 7% ในปี 2564  แต่ในความเป็นจริงการแก้ปัญหามีต้นทุน  ฉะนั้น เสนอให้รัฐมีมาตรการลดแรงจูงใจก่อให้เกิดฝุ่นPM2.5 และเพิ่มแรงจูงใจด้านอื่นๆ ส่งเสริมให้เกิดพลังงานสะอาด  เพื่อลดปริมาณฝุ่น ยุโรป อเมริกา ฝรั่งเศส ลดฝุ่นได้ด้วยกฎหมาย จำกัดรถเข้าเมือง ปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ ห้ามจอดรถในเมือง รวมถึงส่งเสริมการใช้รถพลังงานไฟฟ้า โดยลดภาษีสรรพสามิต ซึ่งถ้าทุกภาคส่วนของไทยร่วมกันไปในทิศทางนี้ จะฝ่าวิกฤตมลพิษอากาศได้ และช่วยให้สุขภาวะของประชาชนดีในระยะยาว

เวทีเสวนาปัญหาฝุ่นพิษ 


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"