คมนาคมลุยประมูลแหลมฉบังเฟส3 มูลค่า 1.2 แสนล้าน ชูเป้าติดอันดับท็อป20ของโลก


เพิ่มเพื่อน    

คมนาคม ลุยประมูลแหลมฉลังเฟส 3 วงเงิน 1.2 แสนล้าน ภายในปีนี้ หนุนการลงทุนอีอีซี ตั้งเป้าเป็นฮับการขนส่งติด1ใน20ท่าเรือที่ดีที่สุดในโลก

3 พ.ค. 2561 นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนารับฟังความเห็นจากภาคเอกชนในโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ซึ่งอยู่ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษตะวันออก (อีอีซี) ว่า โครงการนี้เป็น 1 ใน 5 โครงการสำคัญในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ภายใต้วิสัยทัศน์ไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล

อย่างไรก็ตามกระทรวงคมนาคมกำลังเร่งพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังให้สามารถรองรับการขนส่งตู้สินค้าผ่านทางรถไฟและเพิ่มระบบจัดการขนตู้สินค้าแบบอัตโนมัติ (Automation) เพื่อให้มีการเชื่อมต่อขนส่งสินค้าไปยังภูมิภาค ประเทศลาว เวียดนาม กัมพูชา เมียนมา และประเทศจีนตอนใต้ ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการขนส่งและกระจายสินค้าที่สำคัญของภูมิภาค โดยตั้งเป้าให้ไทยเป็นศูนย์กลาง (ฮับ) การขนส่งทางน้ำของภูมิภาค และยังเตรียมผลักดันให้ท่าเรือของไทยติดอันดับ 1 ใน 20 ท่าเรือ ที่ดีที่สุดในโลกอีกด้วย

สำหรับโครงการนี้จะใช้เงินลงทุนราว 1.2 แสนล้านบาท แบ่งการลงทุนออกเป็น 2 โครงการคือ 1. โครงการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานภายในท่าเรือ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท ภาครัฐโดยการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) จะเป็นผู้ลงทุนขุดลอกร่องน้ำเดินเรือ และนำดินมาถมทำท่าเรือเบื้องต้น, ติดตั้งระบบไฟฟ้า, ประปา และก่อสร้างถนนและ 2. โครงการพัฒนาท่าเรือและระบบการบริหารจัดการท่าเรือ วงเงิน 8 หมื่นล้านบาท จะเปิดให้นักลงทุนและผู้สนใจจากภาคเอกชน ทั้งจากภายในและต่างประเทศเข้าร่วมลงทุนในโครงการตามรูปแบบพีพีพี ซึ่งขณะนี้มีนักลงทุน สิงคโปร์ ญี่ปุ่นและจีนได้แสดงความสนใจ

“การพัฒนาแหลมฉบับเฟส 3 วงเงิน 1.2 แสนล้านบาทนั้น เป็นการเตรียมความพร้อมระบบสาธารณูปโภคและขนส่งเพื่อรองรับการลงทุนในอีอีซี ซึ่งในอนาคตจะมีการขยายตัวสูง ตั้งเป้าจะเปิดประมูลทั้ง 2 โครงการให้ได้ภายในปีนี้ เพื่อให้สามารถก่อสร้างได้ในปี 2562 ทันกับแผนพัฒนาพื้นที่อีอีซีของรัฐบาล”นายไพรินทร์ กล่าว

ร.ต.ต.มนตรี ฤกษ์จำเนียร ผอ.กทท. เปิดเผยว่า กทท. จะลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานบริเวณท่าเรือ วงเงินลงทุน 4 หมื่นล้านบาท ภายในในเวลา 5 ปี เบื้องต้นมีเงินสดในมือ 1 หมื่นล้านบาท พร้อมที่จะลงทุนแต่เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาสภาพคล่องในช่วง 1-2 ปีแรก กทท. อาจจะมีระดมเงินทุนเพิ่มปีละ 1 หมื่นล้านบาท ด้วยการกู้เงินจากภายในประเทศ หรือออกพันธบัตรซึ่งต้องพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมต่อไป สำหรับงานก่อสร้างส่วนนี้ กทท. จะใช้วิธีการเปิดประมูลหาผู้รับเหมาตามกฎหมายจัดซื้อจัดจ้าง คาดว่าจะได้ตัวผู้ชนะการประมูลและลงนามสัญญาในเดือนก.พ. 62
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"