“แม่มอกหลั่นล้าอีโคโนมี”สร้างรายได้ ดูแลผู้สูงอายุ มากกว่า 15,000 บาท/เดือน


เพิ่มเพื่อน    

ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมจังหวัดลำปาง โครงการเพื่อขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน โดยตรวจเยี่ยมการทำงานของภาคประชาสังคมในการพัฒนาชุมชนในรูปแบบธุรกิจเพื่อสังคม โดยการพัฒนาวิชาชีพนักบริบาลผู้สูงอายุโดยชมรมแม่มอกหลั่นล้าอีโคโนมี : ภาคประชาสังคมแบบไทยๆ ของกลุ่มคนรักษ์แผ่นดินเกิด แบบอย่างการพัฒนาชุมชน ที่เริ่มต้นจากคนในชุมชนด้วยเครื่องมือการพัฒนา ต.แม่มอก อ.เถิน จ.ลำปาง

 

โดย ศ.ดร.เอนก กล่าวว่า ชมรมแม่มอกหลั่นล้าอีโคโนมี เกิดขึ้นในปี 2560 เป็นการรวมตัวกัน ของกลุ่มลูกหลานแม่มอกจิตอาสารักบ้านเกิด ทั้งอยู่ในและนอกชุมชนอย่างไม่เป็นทางการที่มีความมุ่งมั่นใน การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมของบ้านเมืองแม่มอกให้สามารถพึ่งพาตนเอง พึ่งพากันเองและพึ่งพาซึ่งกันและกัน ในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนร่วมกับรัฐ พัฒนาผู้หญิงเฝ้าบ้าน ลูกหลานเฝ้ายายให้มีโอกาสสร้างอาชีพเสริม เพิ่มทางเลือกงานบริการในอนาคต ที่ไม่ต้องรอพึ่งพาอาศัยการดูแลจากราชการแต่เพียงอย่างเดียว  “ชมรมแม่มอกหลั่นล้าอีโคโนมี” ใช้แนวคิดทฤษฎี “หลั่นล้าอีโคโนมี” การสร้างเศรษฐกิจชาติด้วยเศรษฐกิจฐานรากวัฒนธรรม พร้อมกับการสร้างวิชาชีพ “นักบริบาลผู้สูงอายุแม่ มอกหลั่นล้าอีโคโนมี” จำนวน 90 ชีวิตใน 1 ตำบล ให้กับหญิงชาวนาที่ไม่ใช่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ให้บริการดูแลผู้สูงอายุรายชั่วโมงในโรงพยาบาลของรัฐ ให้บริการดูแล ผู้สูงอายุที่บ้านแบบรายวัน รายเดือน ผ่านการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบของ “ชมรมแม่มอกหลั่นล้าอีโคโนมี” ที่ มีกลไกการทำงานแบ่งเป็นทีม 4 ทีม คือ ทีมปฏิบัติการ ได้แก่ เครือข่ายนักบริบาลผู้สูงอายุที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุระดับพื้นฐาน 80 ชั่วโมง จำนวน 30 คน และหลักสูตรผู้ดูแล ผู้สูงอายุขั้นสูง 420 ชั่วโมง จำนวน 60 ค น จากหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ผศ.พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน ที่มี อาจารย์พินทิพย์ กาญจนภูมินทร์ เป็นหัวหน้าทีมในการจัดการฝึกอบรม ในพื้นที่ตำบลแม่มอก โดยอาศัยศาลาการเปรียญในวัดเป็นห้องเรียนภาคทฤษฎี ผ่านกองทุนสนับสนุนที่ก่อตั้งโดย ศ.พญ.จิรพร เหล่าธรรมทัศน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีวิทยาศา สตร์สุขภาพ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์  โดยทุกครั้งที่มีรายได้จากการออกให้บริการจะพร้อมใจกันบริจาคคืนให้ชมรมฯผ่าน “กองทุนพัฒนานักบริบาลผู้สูงอายุแม่มอกหลั่นล้าอีโคโนมี” ร้อยละ 5 ของรายได้ เพื่อรวบรวมจัดสวัสดิการให้กับนักบริบาลทั้งเครือข่ายนั่นเอง

 

กลไกการทำงาน ทีมที่สอง คือ ทีมประสานงาน ประกอบด้วยตัวแทนนักบริบาลผู้สูงอายุแม่มอก หลั่นล้าอีโคโนมีที่มีจิตอาสาช่วยประสานงานระหว่างเครือข่ายนักบริบาลกับผู้รับบริการในการจัดลำดับการให้บริการ การเบิกจ่ายค่าตอบแทนนักบริบาล การแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการให้บริการ ทีมที่สาม คือ ทีมอำนวยการหรือทีมปรับปรุงงาน ประกอบไปด้วยตัวแทนของทีมปฏิบัติงานและทีมประสานงาน สมาชิกชมรมแม่มอกหลั่นล้าอีโคโนมีหลากหลายวิชาชีพ และทีมที่สี่ คือ ทีมที่ปรึกษา ประกอบด้วยคณะผู้บริหารหน่วยงานราชการ ท้องที่ ท้องถิ่น ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือในชุมชน ผู้บริหารและคณะอาจารย์ที่ทำการสอน

  

 “รูปแบบของการหารายได้เสริมจากการทำเกษตรกรรมของหญิงชาวนา จนสามารถสร้างรายได้เพิ่ม ได้จริงด้วยวิชาชีพ “นักบริบาลผู้สูงอายุแม่มอกหลั่นล้าอีโคโนมี” มาจากเงินบริจาคทั้งหมด สู่การสร้างรายได้ หลังการฝึกอบรมมากกว่า 15,000 บาทต่อคนต่อเดือน ร่วมกับการออกให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ ในรูปแบบจิตอาสาร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ใน ต.แม่มอก อ.เถิน จ.ลำปาง ถือเป็นแบบอย่างที่ดีของการดำเนินกิจการ “ธุรกิจเพื่อสังคม”(Social Enterprise) ที่สามารถสร้างรายได้ ควบคู่กับการสร้างคุณค่าในตัวเองด้วย” ศ.ดร.เอนก กล่าว

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"