การแพร่ระบาดของโควิด-19 และการปรับตัวของอุดมศึกษาในภูมิภาค


เพิ่มเพื่อน    

 

นับตั้งแต่ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องเผชิญกับข้อท้าทายหลายแบบพลิกผันหลายประการ ทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจ การตั้งคำถามกับพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ งานในอนาคตภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิตอลที่เร่งวิถีการผลิตและการบริโภคที่ต้องปรับเปลี่ยน ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อภูมิภาคอย่างเชื่อมโยงกัน และส่งสัญญานเตือนให้ต้องเตรียมรับมือและปรับตัว 

ภาคอุดมศึกษายิ่งถูกคาดหวังให้ผู้ชี้นำการเปลี่ยนแปลงสังคม สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์และแก้ปัญหาสังคม หล่อหลอมทั้งความรู้และทักษะให้กับผู้เรียนที่พร้อมออกไปใช้ชีวิตในอนาคต 

ในขณะที่สถาบันอุดมศึกษาพร่ำสอนให้ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นและมีความสามารถในการปรับตัว แต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 กลายเป็นบททดสอนชั้นดีว่ามหาวิทยาลัยมีความพร้อมและสามารถในการปรับตัวได้ดีและรวดเร็วเพียงใด 

อนันต์ อากาวัล (Anant Agarwal) CEO ของ edX แพลตฟอร์มการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิด ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้มหาวิทยาลัยทั่วโลกต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอนแบบเดิมเป็นออนไลน์ บางแห่งจาก 1-2 เปอร์เซ็นต์ แต่บางแห่งก็เปลี่ยนเป็นการสอนออนไลน์ 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเขาพบด้วยว่ามหาวิทยาลัยมีความพร้อมในการสอนออนไลน์ในระดับที่แตกต่างกัน สำหรับมหาวิทยาลัยที่มีการวางแผนระยะยาวและเตรียมความพร้อมไว้ก่อนหน้าแล้ว การเกิดขึ้นของโรคระบาดโควิด-19 กลายเป็นแค่ตัวเร่งให้เปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น แต่สำหรับมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้เตรียมความพร้อมไว้ ต้องมีการวางแผนให้การเปลี่ยนแปลงสู่การเรียนการสอนแบบออนไลน์เป็นไปได้อย่างมีคุณภาพ ไม่นับรวมความพร้อมในแง่สาธารณูปโภคทางด้านดิจิตอล และการเข้าถึงเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นของผู้เรียน 

1.    ศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยการอุดมศึกษาและการพัฒนา หรือ Southeast Asian Ministers of Education Organization: Regional Institute for Higher Education and Development (SEAMEO RIHED) องค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นโดยมติของการประชุมสภารัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้หารือเชิงนโยบายกับประเทศสมาชิก ซึ่งพบว่ารัฐบาลแต่ละประเทศในภูมิภาครับมือกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ในหลายลักษณะเพราะเงื่อนไขอันเฉพาะของตนเอง แต่ทุกประเทศให้ความสำคัญกับความปลอดภัยโดยยังคงไว้ซึ่งการเรียนรู้แบบต่อเนื่องไม่มีการสะดุด ขอยกตัวอย่างแนวปฏิบัติที่น่าสนใจของบางประเทศดังนี้ประเทศสิงคโปร์ เป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าในด้านอุดมศึกษาในภูมิภาค แต่กลับเป็นประเทศเดียวที่รัฐบาลประกาศนโยบาย Home-based Education คือเน้นให้จัดการเรียนการสอนภายในประเทศ เรียกนักศึกษาที่ศึกษาในโครงการแลกเปลี่ยนทั้งหมดกลับเข้าประเทศ และให้ปฏิบัติตามข้อแนะนำของหน่วยงานที่ตั้งขึ้นเพื่อจัดการกับการแพร่ระบาดของโควิด19 ในขณะเดียวกัน Nanyang Technology University ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของสิงคโปร์มีนโยบายให้ชะลอการเรียนการสอน 1 ภาคการศึกษา และใช้เวลาดังกล่าวเพื่อจัดเตรียมระบบที่รองรับสนับสนุนการเรียนรู้ในยุคโควิด-19 ให้อาจารย์เตรียมความพร้อมในการผลิตสื่อการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะของอาจารย์ผู้สอน การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับการเรียนการสอนแบบออนไลน์ อีกทั้งยังมีการเตรียมระบบสนับสนุนให้กับนักศึกษา ทั้งการปรับเปลี่ยนหอพัก ห้องเรียนเพื่อความพร้อมในการเรียนแบบ Hybrid และ ออนไลน์ การสนับสนุนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าเรียนโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ณ ปัจจุบัน 

กระทรวงศึกษาธิการสิงคโปร์ยังดำเนินนโยบายการสร้างความเป็นสากลให้กับนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยหันกลับมามุ่งส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักศึกษาภายในภูมิภาค เพื่อให้นักศึกษาของสิงคโปร์เข้าใจถึงอัตลักษณ์ความเป็นภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยตระหนักถึงแง่มุมและความสำคัญของความเป็นสากลของอุดมศึกษา จึงอนุญาตให้นักศึกษาที่จะต้องเดินทางไปต่างประเทศทั้งการแลกเปลี่ยนและการเรียนทั้งหลักสูตรเกินกว่า 1 ปี สามารถขออนุญาตออกนอกประเทศได้

2. ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นประเทศที่มีภูมิประเทศเป็นหมู่เกาะและหากเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค มีประวัติศาสตร์ของการศึกษาแบบทางไกลมายาวนาน โควิด-19 ทำให้ฟิลิปปินส์ต่อยอดพัฒนาการเรียนการสอนแบบทางไกลผ่านทางออนไลน์โดยมหาวิทยาลัยแห่งชาติฟิลิปปินส์ (University of Philippines) ได้เป็นหัวหอกในการจัดทำแพลตฟอร์มการเรียนรู้ และออกแบบวิธีการประเมินคุณภาพการเรียนรู้ผ่านทางออนไลน์ด้วย

3. ประเทศมาเลเซีย เป็นประเทศที่ต้องเผชิญกับการระบาดโควิด-19 รุนแรงและมีการประกาศล็อกดาวน์ยาวนาน แต่มาเลเซียให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของนักศึกษาในต่างประเทศและการสร้างทักษะข้ามวัฒนธรรม (Intercultural competencies) ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในการเป็นพลเมืองแห่งภูมิภาคและโลกอย่างแท้จริง รัฐบาลมาเลเซียได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อออกแบบและวางแผนการดำเนินงานโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา มีการกำหนดนิยาม “การแลกเปลี่ยนออนไลน์” (Virtual Mobility) เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันภายในประเทศ การสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างประเทศแบบออนไลน์ในหลายลักษณะ เช่น University Malaysia Sabah ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในมาเลเซียและภูมิภาค จัดมหกรรมกีฬาออนไลน์โดยมีนักศึกษาภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าร่วมกิจกรรม การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวออนไลน์ร่วมกับหน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวในเกาะบอร์เนียว เป็นต้น

ตัวอย่างการปรับตัวของทั้ง 3 ประเทศ ทำให้เห็นว่าการออกแบบนโยบายเพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเรียนการสอนในโหมดปกติถัดไป (Next New Normal) ต้องอาศัยการคิดในเชิงยุทธศาสตร์ที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัย ประกันการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง และใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มีเพื่อไม่ให้ผู้เรียนต้องสูญเสียโอกาสการเรียนรู้ ในขณะที่มุ่งเสริมสร้างทักษะใหม่ ทั้งนี้ รัฐต้องพิจารณาเงื่อนไขเพื่อกำหนดแนวทางที่เหมาะสมกับบริบทของตนเอง

ในระดับภูมิภาค SEAMEO RIHED เห็นถึงความสำคัญของการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนและความพร้อมในการดำรงชีวิตในโลกอนาคต จึงได้จัดทำโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยุโรป “SEA-EU Mobility Programme for Sustainable Development” ซึ่งการแลกเปลี่ยนนักศึกษาภายใต้โครงการนี้ จะมุ่งเป้าไปที่การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของผู้เรียน ผู้จัดการเรียนรู้ และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” โดยไม่จำกัดสาขาวิชาของผู้เรียนผ่านทางระบบออนไลน์ ทั้งนี้ เพื่อเชื่อมโยงการเรียนรู้กับการแก้ปัญหาข้อท้าทายของโลกอย่างแท้จริง

SEAMEO RIHED ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ การแลกเปลี่ยนของเยาวชนในยุคโลกปรับเปลี่ยน “Youth Learners’ Mobility in an Agile World” an SDG 14 “Life Below Water” Learning Programme as Case Study ระหว่างวันที่ 23-24 กันยายน 2564 สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่  https://europetouch.mfa.go.th/th/content/asem-workshop-on-youth-learners-mobility 

ร่มเย็น โกไศยกานนท์
ผู้อำนวยกาSEAMEO RIHED
กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"