'อาจารย์นิด้า'เผยเหตุใดเราทุกคนจึงต้องช่วยกันรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์


เพิ่มเพื่อน    

https://storage.thaipost.net/main/uploads/photos/big/20190315/image_big_5c8afc51485ac.jpg

24 พ.ย.63- ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) NIDA โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Warat Karuchit  ว่า เหตุใดเราทุกคนจึงต้องช่วยกันรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์?

"การรักษาวัฒนธรรม คือการรักษาชาติ"
พระราชดำรัส ในหลวงรัชกาลที่ 9

คำกล่าวนี้ เรียบง่าย แต่เป็นสัจธรรมที่จริงแท้อย่างยิ่ง เนื่องจากองค์ประกอบสำคัญที่สุดของการดำรงอยู่ของ "ชาติ" ไม่ใช่คน หรือไม่ใช่ดินแดน แต่เป็น "วัฒนธรรม" เพราะ คนในชาติ หากไร้วัฒนธรรมที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของชาติแล้ว ก็ไม่อาจนับว่าเป็น "ชาติ" ได้ แต่ "คน" เปรียบเสมือนกับพาหนะ ที่นำพา "วัฒนธรรม" นั้นถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น และไม่ใช่ดินแดน เพราะหาก "วัฒนธรรม" ของชาติใดยังคงอยู่ แม้ไม่มีดินแดนของตนเอง (เช่นมอญ) แต่ "ความเป็นชาติ" นั้นก็ยังได้รับการจดจำอยู่ ต่างจากชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่มที่ถูกกระบวนการกลืนกินทางวัฒนธรรม (acculturation) จนวัฒนธรรมตนเองค่อยๆสูญสลายหายไปพร้อมกับความเป็นชาติ เหลือให้เห็นแต่ในหนังสือหรือพิพิธภัณฑ์

ด้วยเหตุนี้ การทำลายชาติที่ได้ผลที่สุด ก็คือการ "ทำลายวัฒนธรรม" ของชาติ ซึ่งเราปฏิเสธไม่ได้ว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นส่วนสำคัญ อาจจะเรียกได้ว่าสำคัญที่สุด ของ "วัฒนธรรมไทย" ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ประวัติศาสตร์ของชาติไทยนั้นก็คือประวัติศาสตร์ของพระมหากษัตริย์ในแต่ละยุคสมัย ก่อให้เกิดศิลปะ จารีต ค่านิยมต่างๆ รวมไปถึงโครงสร้างของสังคมไทย ซึ่งเป็นโครงสร้างสังคมที่มีระดับชั้นต่างๆ (Hierarchical Structure) ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดในสังคม หรือแม้กระทั่งในศาสนา ไม่ใช่แค่สูง-ต่ำ แต่ถือลำดับ ก่อน-หลัง ซึ่งทั้งหมดนี้ แปลงออกมากลายเป็นคำว่า "กาลเทศะ" "มารยาท" "ความเหมาะสม" "ความเกรงใจ" "ของสูง-ของต่ำ" และคนไทยต่างเรียนรู้ที่จะ "มีความรับผิดชอบ" ในการรักษาวัฒนธรรมและโครงสร้างของสังคมนี้ไว้ ซึ่งเราเรียกว่า "หน้าที่พลเมือง" ซึ่งกาลเทศะ และโครงสร้างสังคมแบบมีระดับชั้นนี้ เป็นคนละเรื่องกับความเท่าเทียมของสังคม (ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน แต่ต่างกันไปตามบริบทและปัจจัยทางสังคม โดยไม่ถูกละเมิดสิทธิ)

แต่แน่นอนว่า วัฒนธรรมมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามกระแสปัจจัยต่างๆ แต่การปรับตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป จะทำให้เป็นไปอย่างราบรื่น ไม่เกิดความขัดแย้งขึ้นในสังคม แต่หากเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทันที จะก่อให้เกิดการขาดสะบั้นของวัฒนธรรม และส่งผลเสียหายอย่างรุนแรงต่อความเป็นชาติ

หรืออาจกล่าวได้ว่า "การทำลายชาติที่ก่อให้เกิดผลรุนแรงที่สุดต่อชาติไทย" ก็คือ "การทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์" นั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ คนไทยทุกคน ไม่ว่าจะคิดเห็นอย่างไรต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ตาม มีหน้าที่เหมือนกันทุกคน คือต้องช่วยกันประคับประคอง ธำรงรักษาเสาหลักของวัฒนธรรมไทย คือสถาบันพระมหากษัตริย์ (ที่หมายความถึงทั้งระบบ ไม่ใช่แค่เพียงพระมหากษัตริย์พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง) ให้คงอยู่ต่อไปได้อย่างเข้มแข็งในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ ท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย เพื่อรักษา “ความเป็นชาติไทย” ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์มาหลายร้อยปี และให้เราคนไทยทุกคนได้เกิดความภูมิใจในทุกวันนี้ไว้อีกตราบนานเท่านาน

เพราะ "ความเข้มแข็งของสถาบันพระมหากษัตริย์ คือความเข้มแข็งของวัฒนธรรม และชาติไทย".
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"