ดูแลรักษ์เท้าเพื่อก้าวที่มั่นคง


เพิ่มเพื่อน    

    ข้อเท้าและเท้านับเป็นอีกหนึ่งอวัยวะสำคัญให้มนุษย์เราสามารถก้าวเดิน ยืน วิ่งอย่างมั่นคงได้ เท้าของแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันและมีลักษณะเฉพาะตัว มีการปรับตัวของโครงสร้างเท้าผ่านการใช้งานและกิจกรรมที่ทำ การบาดเจ็บของเท้าที่แต่ละคนพบเจอ รวมถึงการใส่รองเท้าก็ส่งผลต่อเท้าและข้อเท้าได้เช่นกัน การรักษากระดูกข้อเท้าและเท้าต้องอาศัยความเข้าใจและความชำนาญของแพทย์ในความซับซ้อนทางกายวิภาค ร่วมกับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาประมวลผลและวินิจฉัยภาวะความผิดปกติของผู้ป่วยแต่ละคนได้อย่างถูกต้อง  
    นพ.สุทร บวรรัตนเวช ผู้อำนวยการใหญ่ ศูนย์อุบัติเหตุและออโธปิดิกส์ ในเครือ บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ และผู้อำนวยการอาวุโส ศูนย์กระดูกและข้อ รพ.กรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า เท้าเป็นอวัยวะที่อยู่ล่างสุด แต่มีความสำคัญกับร่างกายอย่างมาก ทั้งรับน้ำหนักของร่างกาย รองรับการเคลื่อนไหว และสะท้อนการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย กระดูกบริเวณเท้าประกอบไปด้วยกระดูกชิ้นเล็กๆ 26 ชิ้น กระดูกรอบข้อเท้าประกอบด้วยส่วนปลายของของกระดูกหน้าแข้ง มีส่วนนูนของกระดูกเรียกว่า กระดูกตาตุ่มด้านใน (medial malleolus) และกระดูกส่วนปลายของกระดูกน่อง มีส่วนนูนของกระดูกเรียกว่า กระดูกตาตุ่มด้านนอก (lateral malleolus) และกระดูกเท้า (tarsal bone) ซึ่งกระดูกส่วนต่างๆ และเส้นเอ็นรอบๆ ข้อเท้าร่วมกันทําหน้าที่ของข้อเท้าในการขยับ เหยียด กระดก และหมุนข้อเท้า ช่วยในการทรงตัวยืน-เดิน และถ่ายรับน้ำหนักตัว
    นพ.อภิสรรค์ จินานุวัฒนา ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ เฉพาะทางด้านเท้าและข้อเท้า รพ.กรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า ภาวะที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยปัญหาเท้าและข้อเท้าที่พบบ่อย ได้แก่ 1.อุบัติเหตุข้อเท้าและเท้าพลิก 2.ความผิดปกติทางโครงสร้างของกระดูก เส้นเอ็น หรือข้อของเท้าและข้อเท้า โดยการผิดปกติของโครงสร้างเพียงโครงสร้างเดียว สามารถส่งผลต่อโครงสร้างข้างเคียง อันนำไปสู่ความภาวะผิดปกติทางโครงสร้างอื่นๆ ตามมา นอกจากนี้ยังส่งผลให้ท่าเดิน การลงน้ำหนักเท้าขณะย่างก้าวเปลี่ยนไป ซึ่งในระยะยาวจะส่งผลต่อข้อที่อยู่สูงขึ้นไป เช่น ข้อเข่าและข้อสะโพก รวมถึงข้อบริเวณหลังด้วย 
    ความผิดปกติของเท้าและข้อเท้าพบได้ทุกส่วนของเท้า โดยจะแบ่งส่วนของเท้าเป็น 3 ส่วนคือ 1.Forefoot บริเวณปลายนิ้ว 2.Midfoot บริเวณอุ้งเท้า และ 3.Hindfoot บริเวณข้อเท้า โดยภาวะที่พบได้บ่อย ได้แก่ ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเก ภาวะปลายนิ้วเท้าผิดรูปหรือขี่กัน เท้าแบน อุ้งเท้าสูง ข้อเท้าเอียงผิดรูป ซึ่งอาจต่อเนื่องมาจากส่วนอุ้งเท้าหรือเป็นส่วนของข้อเท้าเอง 
    สาเหตุของภาวะเท้าและข้อเท้าผิดรูปอาจเกิดจาก 1.กรรมพันธุ์ โครงสร้างทางกายวิภาคของผู้ป่วยที่ได้รับถ่ายทอดมาทางพันธุกรรม 2.ภาวะเอ็นข้อหลวมหรือข้อหย่อน 3.การใส่รองเท้าที่ผิดสุขลักษณะหรือไม่เหมาะกับเท้าของบุคคลนั้นๆ เช่น ส้นสูง รองเท้าที่มีการรับบริเวณอุ้งเท้าไม่เหมาะสม รองเท้าที่มีหน้าเท้าแคบหรือกว้างเกินไป 4.ภาวะผิดรูปหลังจากการบาดเจ็บของกระดูกและเส้นเอ็นข้อเท้า และเท้าที่ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่ต้น จนอาจเกิดปัญหากระดูกไม่ติด กระดูกติดผิดรูป ข้อเอียง ผิวกระดูกข้อสึกหรือมีการกระเทาะบางส่วน เส้นเอ็นเคลื่อนหลุดออกจากร่องเส้นเอ็น เส้นเอ็นข้อเท้าหย่อนเป็นเหตุให้ข้อไม่มั่นคงและส่งผลให้เกิดข้อเสื่อมในที่สุด 5.ภาวะข้อผิดรูปจากการทำลายข้อที่มาจากภาวะแทรกซ้อนของระบบปลายประสาท (Charcot arthropathy) ซึ่งพบบ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นต้น 
    นพ.เอกจิต ศิขรินกุล ศัลยแพทย์กระดูกและข้อเฉพาะทางด้านการบาดเจ็บกระดูกและข้อ รพ.กรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า ด้านของการบาดเจ็บของบริเวณรอบข้อเท้านั้นเกิดได้จากการบาดเจ็บโดยตรง หรือการบาดเจ็บโดยอ้อม กล่าวคือ การถูกกระทบกระแทกของข้อเท้าต่อพื้นผิว หรือวัตถุแข็ง การกระแทกตามแนวดิ่ง หรือการบิดงอของข้ออย่างรุนแรง ทําให้เกิดการหักของกระดูกในบริเวณข้อเท้า โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกเปราะบาง กระดูกพรุน หรือผู้สูงอายุ โดยลักษณะและความรุนแรงของการแตกหักกระดูกนั้นขึ้นอยู่กับกลไกของการบาดเจ็บ และความแข็งแรงของกระดูก นอกจากข้อมูลต่างๆ และอาการแสดงแล้ว แพทย์ต้องอาศัยภาพรังสีในการช่วยวินิจฉัยและวางแผนการผ่าตัด ได้แก่ ภาพถ่ายรังสี (plain X-ray) และ Computer Tomography Scan (CT Scan) ในการแตกหักของกระดูกที่ซับซ้อนหรือการแตกร้าวที่สังเกตได้ยาก
    การให้การรักษามีทั้งแบบไม่ผ่าตัด (conservative treatment) สามารถทําได้ในกรณีที่มีการแตกหักของกระดูกนั้นๆ เมื่อติดแล้วไม่ส่งผลต่อการเคลื่อนขยับ รับน้ำหนักตัว และการใช้งานเดิมของผู้ป่วยและการให้การรักษาโดยการผ่าตัด (operative treatment) เป็นการให้รักษาในกรณีที่มีการแตกหักและเคลื่อนของผิวข้อ หรือผู้ป่วยไม่สามารถรักษาโดยการใส่เฝือกได้ 
    ทั้งนี้ การให้การรักษากระดูกบริเวณข้อเท้าหักนั้นมีการรักษาที่แตกต่างกันตามตําแหน่งของชิ้นกระดูก การเคลื่อนที่ของชิ้นกระดูกที่แตกหัก ความรุนแรงของการบาดเจ็บ ความแข็งแรงของกระดูก และการบาดเจ็บร่วม (associated injury) โดยปัจจัยต่างๆ แพทย์ด้านการบาดเจ็บของกระดูกและข้อจะนํามาเป็นข้อพิจารณาในการรักษาผู้ป่วยแต่ละราย โดยคํานึงถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น โรคประจําตัว การใช้งานเดิมของผู้ป่วยก่อนการบาดเจ็บ และความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นต่อผู้ป่วยเป็นสำคัญ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"