ศาลฯสั่งคุก อดีต ปธ.บอร์ดการบินไทย ทุจริตฯขนสัมภาระเกินสิทธิ์เลี่ยงค่าขนส่ง


เพิ่มเพื่อน    

25 พ.ย. 63 - ที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ถ.นครไชยศรี ศาลอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ อท187/2562 ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายวัลลภ พุกกะณะสุต อดีตกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นจำเลย ในความผิด ตาม พ.ร.บ.ความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 11 กรณีจำเลยเมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง กก.บริษัท การบินไทย จก. (มหาชน) และประธาน กก.บริหารฯ ใช้อำนาจโดยทุจริต สั่งการให้พนักงานบริษัทการบินไทยฯ แก้ไขน้ำหนัก เป็นการปกปิดน้ำหนักสัมภาระที่แท้จริง เพื่อหลีกเลี่ยงค่าระวางขนส่งที่เกินสิทธิ เป็นเหตุให้บริษัทการบินไทยเสียหาย

กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นช่วงปี 2552 อดีตประธานบอร์ดบริหารการบินไทยพร้อมภริยา เดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่น โดยถูกกล่าวหาว่าขนสัมภาระน้ำหนักกว่า 300 กิโลกรัม กลับมายังสนามบินสุวรรณภูมิ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายน้ำหนักที่เกิน ทำให้การบินไทยสูญเสียรายได้จำนวนมาก ต่อมาบอร์ดบริหารการบินไทยได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง โดยต้นปี 2553 มีมติสั่งปรับเงินอดีตผู้บริหารดังกล่าว

วันนี้จำเลยเดินทางมาศาล โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า พยานหลักฐานจากทางไต่สวนซึ่งจำเลยยกขึ้นอ้างว่าไม่เคยทราบจำนวนสัมภาระ ไม่ได้รับการแจ้งน้ำหนักสัมภาระว่าเกินสิทธิต้องเสียค่าระวาง ไม่ได้แจ้งสั่งให้รวมน้ำหนักสัมภาระและแก้ไขน้ำหนักในระบบเพื่อไม่ต้องชำระค่าระวาง โดยปราศจากพยานหลักฐานอื่นสนับสนุน จึงมีน้ำหนักน้อย ไม่อาจฟังหักล้างข้อเท็จจริงที่ได้ความจากผู้จัดการการบริการสนามบินโตเกียวในขณะนั้น ซึ่งถูกกันไว้เป็นพยานได้ ทั้งทำให้ข้อต่อสู้ของจำเลยที่ยกขึ้นอ้างว่าถูกบุคคลสร้างเรื่องใส่ร้าย ไม่มีน้ำหนักให้ฟังข้อเท็จจริงได้เช่นนั้น 

แม้จากทางไต่สวนจะปรากฏข้อพิรุธ ซึ่งพยานให้ถ้อยคำต่อคณะอนุกรรมการไต่สวนตามเอกสารว่าพยานเคยบันทึกภาพเหตุการณ์ที่จำเลยขนสัมภาระโดยไม่ชำระค่าระวางหลายครั้ง แต่กลับไม่ปรากฏพยานหลักฐานอื่นสนับสนุน รวมทั้งข้อพิรุธเกี่ยวกับภาพถ่ายกระเป๋าสัมภาระที่อ้างว่าเป็นของจำเลยตามที่ปรากฏในคำเบิกความของพยานในคดีนี้ แต่ข้อพิรุธดังกล่าวก็ไม่ใช่ประเด็นโดยตรงเกี่ยวกับเหตุการณ์ระหว่างจำเลยกับพยานที่สนามบินอันเป็นมูลเหตุคดีนี้ไม่มีผล ทำให้ข้อหักล้างของจำเลยกลับมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ประกอบกับข้อเท็จจริงในเหตุการณ์เป็นการสนทนากันระหว่างพยานกับจำเลยเพียงชั่วขณะ และโอกาสที่จะมีผู้รู้เห็นเหตุการณ์นอกจากบุคคลดังกล่าวเป็นไปได้ไม่มาก จึงเป็นพฤติการณ์พิเศษแห่งคดีให้รับฟังถ้อยคำของพยานได้

พยานหลักฐานจากการไต่สวนจึงฟังได้ว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุคดีนี้ จำเลยสั่งการให้พยานซึ่งมีหน้าที่เรียกเก็บค่าระวางสัมภาระส่วนที่เกินสิทธิละเว้นไม่บังคับเรียกเก็บค่าระวางดังกล่าวจากจำเลย ซึ่งมี 1 สัมภาระขนส่งเกินสิทธิที่ไม่ต้องชำระค่าระวาง และให้พยานแก้ไขน้ำหนักสัมภาระดังกล่าว เพื่อปกปิดน้ำหนักที่แท้จริง หลีกเลี่ยงการชำระค่าระวางดังกล่าว อันเป็นการก่อให้พยานซึ่งเป็นพนักงานในองค์การของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต แม้จำเลยไม่มีหน้าที่ในการเรียกเก็บค่าระวางสัมภาระส่วนที่เกินสิทธิและแก้ไขบันทึกข้อมูลน้ำหนักสัมภาระไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของจำเลยโดยตรง จึงขาดคุณสมบัติเฉพาะตัวตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยเฉพาะอันทำให้จำเลยไม่อาจรับโทษเสมือนเป็นตัวการ ไม่อาจลงโทษจำเลยในฐานะเป็นตัวการ เพราะใช้ให้กระทำความผิดได้ 

แต่การที่จำเลยก่อให้พยานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตดังกล่าว แม้จำเลยมีฐานะเป็นกรรมการในคณะกรรมการซึ่งต้องดำเนินการตามกิจการในรูปแบบคณะกรรมการ แต่เมื่อจำเลยต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมายวัตถุประสงค์และข้อบังคับ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารให้เป็นไปตามกลยุทธ์นโยบายแผนวิสาหกิจแผนปฏิบัติการของ บริษัท และของคณะกรรมการ บริษัท ตามคำสั่ง บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่ 249/2552 ตราบใดที่จำเลยยังคงดำรงตำแหน่งไม่พ้นจากตำแหน่งตามวาระหรือด้วยเหตุอื่นที่กำหนดไว้ การที่จำเลยเป็นผู้ก่อให้พยานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ย่อมถือได้ว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น

ทั้งไม่จำต้องพิจารณาว่าการเดินทางในเที่ยวบินดังกล่าวเป็นการเดินทางอันเนื่องจากการไปปฏิบัติหน้าที่ให้แก่บริษัทหรือในฐานะส่วนตัว ทั้งเมื่อการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของจำเลยเช่นว่านี้ มุ่งหมายเพื่อให้มีผลเกี่ยวเนื่องกับการขนส่งสัมภาระมาในอากาศยาน โดยไม่ต้องเสียค่าระวางสัมภาระที่เกินสิทธิจนถึงปลายทางที่สนามบินสุวรรณภูมิ การละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบจึงยังคงมีอยู่ตลอดการขนส่งสัมภาระ จนกระทั่งเครื่องบินถึงจุดหมายที่ประเทศไทย โดยมิพักต้องคำนึงว่าการเรียกเก็บค่าขนส่งสัมภาระดังกล่าวมีทางปฏิบัติว่าต้องเรียกเก็บตั้งแต่สถานีต้นทางหรือไม่ ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำความผิดในราชอาณาจักร โจทก์จึงย่อมมีอำนาจไต่สวนดำเนินคดีฟ้องร้องให้จำเลยรับโทษตามกฎหมาย พยานหลักฐานที่ได้จาก ทางไต่สวน จึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้มั่นคงว่า จำเลยเป็นพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามฟ้อง 

พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 11 ลงโทษจำคุก 2 ปี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"