เปิดกลยุทธ์'ธุรกิจ'ปรับตัวตอบโจทย์สถานการณ์โลกยุคใหม่


เพิ่มเพื่อน    

 

ในยุคที่ทุกอย่างได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ซึ่งส่งผลให้ทุกประเทศทั่วโลกต้องเร่งปรับตัวให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้ ในประเทศไทยเองก็มีหลายธุรกิจที่ต้องล้มหายไป รวมทั้งธุรกิจที่ต้องชะลอการเดินหน้าและรักษาการเป็นอยู่ไม่ให้ต้องปิดกิจการ ขณะที่บางธุรกิจกลับไปรับอานิสงส์บวกจากสถานการณ์นี้ แต่เชื่อว่าเกือบทุกกลุ่มธุรกิจต้องมีการปรับตัวให้เท่าทันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะได้รับผลบวกหรือลบ เนื่องจากโควิดเป็นสิ่งที่กระตุ้นหลายกิจกรรมให้เกิดขึ้นเร็วกว่าที่กำหนด ขณะเดียวกันก็กำลังกลืนกินบางกิจกรรมให้ลบเลือนหายไป 

เห็นได้จากการใช้งานของเทคโนโลยี ดิจิทัล และระบบออนไลน์ ที่ปัจจุบันได้รับความนิยมกึ่งบังคับอย่างมากขึ้นเรื่อง ๆ ซึ่งข้อจำกัดของการติดเชื้อโควิดอันดับต้น ๆ คือห้ามสัมผัสกัน จึงส่งผลเอื้อให้การใช้เทคโนโลยี หรือระบบออนไลน์นั้นมีคุณสมบัติที่ตรงตามความต้องการ และพูดได้ว่าโควิดเป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้กิจกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าที่ใครหลาย ๆ คนคาดคิด ปัจจุบันการปรับตัวของมนุษย์และหันมาใช้เทคโนโลยีมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทุกคนเริ่มปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตผ่านรูปแบบใหม่มากขึ้น

จนมีคำ ๆ หนึ่งเกิดขึ้นในสังคมคือ “วิถีชีวิตปกติแบบใหม่” หรือ นิว นอร์มอล(New Normal) มนุษย์มีการปรับตัวเองให้มีวิธีการใช้ชีวิตแบบใหม่ โดยใช้ช่องทางที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อไม่ให้การแพร่ระบาดของไวรัสนั้นเกิดขึ้น นั่งก็คือผ่านเครื่องมือโดยเฉพาะดิจิทัล และระบบออนไลน์ ในขณะที่กลุ่มธุรกิจ ทั้งภาคบริการและอุตสาหกรรม ก็ต้องปรับตัวให้ตอบโจทย์มากขึ้น ทั้งเรื่องของการทำงานของพนักงาน การเปลี่ยนรูปแบบการผลิตหรือรูปแบบผลิตภัณฑ์ ขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงการกระจายสินค้า การขนส่ง หรือการให้บริการลูกค้า 

แม้ใครหลายคนอาจจะไม่สามารถตอบได้ว่าวิถีชีวิตแบบใหม่นี้จะถูกใช้ไปได้นานขนาดไหน ในอนาคตการใช้ชีวิตรูปแบบเดิม ๆ อาจจะกลับมาเมื่อสถานการณ์โควิดคลี่คลายลงจนเกือบ 100% แล้ว กลุ่มคนอาจจะปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตได้อย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันกลุ่มธุรกิจเองก็ต้องปรับตัวได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน แต่นั่นคือเรื่องของอนาคตที่ไม่ว่าวิถีชีวิตจะเปลี่ยนไปในรูปแบบไหน เชื่อว่าหลายคนก็ยอมเพื่อแลกกับการที่สถานการณ์โควิดนั้นจบลง 

ทั้งนี้ในเมื่อปัจจุบันทุกอย่างยังคงได้รับผลกระทบอยู่ คนก็ต้องปรับตัว ธุรกิจก็ต้องปรับตัว จึงอยากให้มองถึงแนวทางการเดินหน้าต่อไปท่ามกลางสถานการณ์ดังกล่าวอย่างเข้มแข็ง และจากโจทย์ดังกล่าว มีหลายหน่วยงานของประเทศไทยได้วางแผนที่จะตอบรับปัญหารวมถึงแสดงแนวคิดออกมาเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ หรือต้นแบบให้กับประเทศ กลุ่มคน หรือกลุ่มธุรกิจดำเนินตาม หนึ่งในนั้นคือบริษัท ปตท. จำกัด(มหาขน)  

โดยนายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) เปิดเผยในงาน งานสัมมนาส่งท้ายปี "Thailand 2021: New Game New Normal"  ว่า การออกแบบธุรกิจในยุคอนาคต หรือ นิว อีโคซิสเต็ม(new ecosystem) จะเป็นตัวขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจ ซึ่งอนาคตโลกจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี โดยจะเห็นว่าในปีนี้สถานการณ์การระบาดโควิด-19 ยิ่งเป็นตัวเร่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี หรือ เทคโนโลยี ดิสรัปชั่น ทำให้ทุกธุรกิจต้องปรับตัวอย่างมากในทุกมิติ  

ทั้งนี้การดิสรัปชั่นแม้จะถือว่าเป็นวิกฤตและความท้าทายของภาคธุรกิจ แต่ในทางตรงกันข้ามจะส่งผลดีต่อการปรับตัวของคนในสังคม ซึ่งคนไทยเป็นคนมีความสามารถในการปรับตัวค่อนข้างสูง ภาพรวมด้านสังคมมีการขับเคลื่อนควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจและแต่ละบริษัทก็ต้องมีความพร้อมรับมือต่อสถานการณ์เฉพาะหน้าที่จะเกิดขึ้นอีกด้วย 

หากฉายภาพให้เห็นถึงการดิสรัปชั่นของเทคโนโลยีด้านพลังงาน ยกตัวอย่าง บริษัท ซาอุดี อารัมโก ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ เริ่มถูกลดบทบาทลง เพราะเทรนด์การใช้พลังงานเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว น้ำมันอาจไม่ใช่เบอร์ 1 อีกต่อไป และจากคนที่ถือทรัพยากร แต่ในอนาคตเมื่อเทียบกับอีกคนที่ถือเพียงเทคโนโลยี คนที่ถือเทคโนโลยีอาจจะได้เปรียบไปโดยปริยาย เพราะในอนาคตเทคโนโลยีจะเป็นตัวนำ นอกจากนี้การทำธุรกิจในอนาคต จะเริ่มเป็นโมเดลธุรกิจที่สร้างมูลค่าจากเครือข่ายพันธมิตร เเข่งขันการเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมเทคโนโลยึ เกิดอุตสาหกรรมข้ามอุตสาหกรรมกันได้ เน้นทรัพย์สินทางปัญญา 

"อุตสาหกรรมพลังงานกำลังถูกท้าทายด้วยอัตราเร่งของการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน โลกมุ่งพลังงานสะอาด อดีตเน้นสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ แต่ปัจจุบันมุ่งเน้นกระจายการผลิต ลงทุนด้านไอที และหลายประเทศจะเปิดเสรีมากขึ้น และทิศทางอุตสาหกรรมพลังงานมุ่งสู่พลังงานสะอาด ตั้งเป้าภายในปี 2040 จะต้องเพิ่มพลังงานสะอาด  ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และแน่นอนว่าพลังงานไฟฟ้ามาแน่" นายอรรถพล กล่าว 

อย่างไรก็ตาม ปตท. ได้เน้นปรับการดำเนินงานเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ด้วยการบริหารองค์กร และเน้นทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ พันธมิตรเพื่อความยั่งยืน โดยปรับทิศทางกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์พลังงาน มองหาสิ่งใหม่ ๆ โอกาสใหม่ ๆ เน้นการสร้างอุตสาหกรรมเป้าหมายโดยปตท.ต่อยอด เร่งพัฒนา และขยายเข้าสู่ธุรกิจที่มีศักยภาพเติบโตสูงตามทิศทางโลก 6 ข้อ ได้แก่พลังงานใหม่ , วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับมนุษย์ , ความคล่องตัวและไลฟ์สไตล์  , ธุรกิจที่มีมูลค่าสูง , โลจิสติกส์  และ เอไอรวมถึงระบบอัตโนมัติ 

ขณะที่ประเทศไทยเองที่จะดำเนินการด้านพลังงานไฟฟ้าในอนาคต อย่างเช่นการสนุบสนุนรถยนต์ไฟฟ้า(อีวี)รัฐบาลต้องประเมินความพร้อมทุกด้านให้พร้อมก่อน เนื่องจากบริบทโครงสร้างภาษีของไทยยังไม่ครอบคลุม และมีมูลค่าสูงถึง 2 แสนล้านบาทที่ต้องเก็บภาษีจากรถยนต์อีวี ดังนั้นในฐานะที่ ปตท.ทำธุรกิจพลังงาน มองว่า โครงสร้างการจัดเก็บภาษีจะเป็นโจทย์ที่รัฐบาลต้องศึกษาอย่างรอบคอบ ซึ่งควรมองการตั้งโรงงานในประเทศมากกว่าการลดภาษีนำเข้า และโอนย้ายการลงทุนอุตสาหกรรมเดิมมาลงทุนเพิ่มในอุตสาหกรรมรถอีวี ซึ่งในช่วงเปลี่ยนถ่ายยังมีหลายคำตอบให้เลือก  

ด้าน นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK กล่าวว่าสิ่งที่ธนาคารเห็นในภาวะวิกฤต คือพอมันมาแล้วเดี่ยวมันก็จะผ่านไป และเมื่อเราผ่านมันไปได้เราก็จะเก่งขึ้นและแกร่งขึ้น โดยโจทย์สำคัญ คือ เราเรียนรู้จากวิกฤตนี้อย่างไรบ้าง ซึ่งเชื่อว่าเศรษฐกิจรูปแบบใหม่จะเกิดขึ้น และมาแน่นอนโดยมีโควิด-19 เป็นตัวเร่ง ซึ่งโจทย์แรก คือจะต้องอยู่รอดให้ได้ ภายใต้การเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรของ 4 เทรนด์ ได้แก่ 

1.โครงสร้างประชากรผู้สูงวัย และ GEN ME ซึ่งเป็นยุคของคนสายพันธุ์ใหม่ มีความคิดและการตัดสินใจเป็นของตัวเอง รักอิสระ และมีความเป็นตัวของตัวเองสูง ซึ่งกลุ่มคนกลุ่มนี้อาจจะไม่มีความเชื่อมั่นหรือศรัทธากับเรื่องเดิม ๆ และอาจจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่างที่เกิดขึ้นในโลก 2.การเปลี่ยนแปลงของ Landscape ของสงครามการค้าโลกและสงครามเทคโนโลยี แม้ว่าโจ ไบเดนจะมาแต่จะเห็นการเคลื่อนย้ายเงินลงทุน-การย้ายฐานการผลิตไปสู่ที่ใหม่ๆ ดังนั้น ไทยจะต้องเกาะซัพพลายให้ได้ 

3.การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี จะเห็นพฤติกรรมผู้บริโภคและคู่ค้าที่เปลี่ยนไป จึงจะต้องตามเทรนด์ให้ทัน และ4.การเติบโตอย่างยั่งยืน หากเป็นธุรกิจธนาคารจำเป็นต้องมี Banking License เพื่อไว้ทำธุรกิจฝากเงินและปล่อยสินเชื่อ แต่ธนาคารจะต้องมี Social License ด้วย เนื่องจากปัจจุบันนักลงทุน-ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อม ธนาคารจึงต้องได้รับความไว้วางใจจากสังคมด้วย เนื่องจากผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า คนสนใจเรื่องกรีนมีประมาณ 74% ที่พร้อมจะจ่ายในราคาที่แพงกว่าหากสินค้านั้นรักษาสิ่งแวดล้อม 

ขณะที่ นางวาสนา ลาทูรัส ประธานกรรมการบริหาร บริษัท นารายณ์ อินเตอร์เทรด จำกัด กล่าวว่าการปรับตัวท่ามกลางวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เคยส่งผลกระทบต่อภาพรวมธุรกิจ นารายา ทำให้รายได้หายไปกว่า 80% เนื่องจากลูกค้าหลักเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน นั้น คือต้องมีสติเสมอเมื่อวิกฤตเข้ามาต้องกลับมาวางแผนการดำเนินงานใหม่ เริ่มจากการลดคอร์ส และค่าใช้จ่ายต่างๆ และตัดสินใจปิดโรงงาน 2 แห่งในจ.นครราชสีมา และบุรีรัมย์ รวมถึงการปิดสาขาที่หมดสัญญา จึงทำให้รายจ่ายลดลง 

ตอนนี้สถานการณ์เริ่มดีขึ้น หลังจากที่คุมคอร์สและค่าใช้จ่าย ในเดือนนี้สำนักงานใหญ่ เริ่มกลับมาทำงานเต็มเดือน และเริ่มทะยอยเปิดให้บริการหน้าร้านแล้ว ต้องยอมรับว่าวิกฤตครั้งนี้หนักสุดที่เคยเจอมา และทุกครั้งที่เกิดวิกฤตจะมีโอกาสเสมอ เมื่อล้มจะต้องลุกให้เร็ว ต้องวัดใจ อะไรทิ้งได้ทิ้ง อย่าไปเสียดาย เพราะทุกอย่างที่ทำจะช่วยต่อลมหายใจให้ไปต่อได้ในวันพรุ่งนี้ 
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"