ติดตั้งโซลาร์เซลล์ ในพื้นที่ขาดแคลน เพื่อโอกาสการใช้พลังงานอย่างทั่วถึง


เพิ่มเพื่อน    

 

กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทยถือได้ว่าเป็นเมืองแห่งแสงสี เป็นเมืองที่มีผู้คน การเดินทาง การใช้ชีวิตถือได้ว่าเป็นเมืองที่ไม่เคยหลับใหล และยังเป็นเมืองในฝันของใครหลายๆ คน ที่อยากจะเข้ามาใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ ไม่เว้นแต่นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ยกให้กรุงเทพเป็นเมืองที่ควรค่าแก่การมาเยี่ยมเยือนเป็นอย่างมาก

ทุกอย่างเริ่มต้นจากการอัธยาศัยของคนไทยที่ไม่ว่าจะไปที่ไหนจะรู้สึกอุ่นใจเสมอ ตลอดจนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ให้รองรับความต้องการของคนในพื้นที่ได้ หนึ่งในนั้นคือ “ไฟฟ้า” ที่ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการเดินหน้าของเมือง จึงพูดได้ว่ากรุงเทพคือแดนศิวิไลซ์ ความเพรียบพร้อมทั้งที่อยู่อาศัย น้ำ ไฟ การเดินทางไปไหนมาไหน มีรถไฟฟ้า รถประจำทาง หรือเรียกใช้บริการแท็กซี่ได้แทบจะทุกจุดของพื้นที่

แต่ใครจะไปคิดว่าในทุกวันที่เมืองหลวงมีไฟฟ้าใช้อย่างไม่ขาดตลอด 24 ชั่วโมง แสงไฟส่องสว่างไปเกือบทุกพื้นที่ตลอดเวลา ทุกคนไม่ต้องเดือนร้อนในเรื่องดังกล่าว แต่ในประเทศเดียวกัน ในพื้นที่ที่ไกลออกไปจากเมืองหลวง ผู้คนในพื้นที่เหล่านั้นอาจจะไม่เคยมีแสงจากหลอดไฟฟ้าส่องสว่างเลยก็ได้

ทุกอย่างอาจจะดำเนินไปด้วยความเรียบง่าย ท่ามกลางความเงียบสงบและมืดมิด หรือมีเพียงแสงไฟจากการผลิตไฟขึ้นมากันเอง ไม่สามารถส่องสว่างได้ทั่วถึงทุกพื้นที่ที่ใช้ชีวิต เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นจริงและยังเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ 100% แต่ก็มีทิศทางดีขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในพื้นที่ชุมชนลึกในเขตอุทยาน อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ที่เรียกตัวเองว่า “ชุมชนบ้านน้อยกาฬสินธุ์” ที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ หุบเขาล้อมรอบ เส้นทางคดเคี้ยวเป็นหลุมบ่อ แต่ไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง

 

 

นายอำพร คาดีวี ผู้นำชุมชนบ้านน้อยกาฬสินธุ์ เล่าว่า ประชาชนในพื้นที่ใช้ชีวิตทำไร่ทำนาหาเลี้ยงครอบครัวกันแบบตามมีตามเกิด แม้จะมีความรู้สึกลึกๆ อยู่ในใจว่าอยากมีไฟฟ้าใช้เหมือนกับที่อื่น แต่ก็เข้าใจว่าการติดตั้งสายส่งต่างๆ ในพื้นที่เขตอุทยานนั้น เป็นเรื่องยากและละเอียดอ่อน เป็นห่วงก็แต่เด็กๆ เวลาจะทำการบ้านช่วงค่ำ หรืออ่านหนังสือก็ต้องใช้แสงไฟจากตะเกียงไปก่อน บางวันฝนตก ลมแรง แสงไฟจากตะเกียงหรือเทียนก็ไม่สามารถพึ่งพาได้

จากเสียงเล็กๆ ที่ดังพอ ผนวกกับปัญหาที่คิดว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาชุมชนแบบนี้จึงทำให้ มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน ก่อตั้งโดย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ได้เกิดโครงการติดตั้งระบบผลิตกระแสไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ในพื้นที่ที่ขาดแคลน รวมถึงโครงการยกระดับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งเป็นการเข้าไปสำรวจความต้องการในพื้นที่ต่างๆ ที่มีความต้องการการใช้ไฟฟ้าอยู่ แต่ไม่สามารถติดตั้งสายส่งไฟฟ้าจากส่วนกลางในพื้นที่นั้น ได้

โดยโครงการดังกล่าวได้ริเริ่มไปในหลายพื้นที่แล้ว ทั้งโครงการยกระดับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ณ ชุมชนบ้านนาปอ ตำบลแสงภา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ได้ร่วมมือกับกลุ่มพันธมิตรร่วมกันลงพื้นที่ติดตั้งระบบสูบน้ำเพื่อการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่ คือ ระบบตะบันน้ำ ระบบสูบน้ำจากเซลล์แสงอาทิตย์ขนาดกำลังผลิต 5.2 กิโลวัตต์ และไฟส่องสว่างจากพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับ วัด อาคารอเนกประสงค์ โรงผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ระบบสเปรย์หมอกพลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงระบบกรองน้ำช่วยยกระดับและพัฒนาชุมชนได้อย่างยั่งยืน

 

 

โครงการติดตั้งระบบผลิตกระแสไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ณ กลุ่มส่งเสริมผลิตภัณฑ์ข้าวชุมชน ตำบลหนองตะพาน อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง ที่ได้ติดตั้งระบบผลิตกระแสไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ จำนวน 16 แผง ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากกว่า 5 กิโลวัตต์ ในรูปแบบ On-Grid Connection สามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายไฟ้ฟ้าได้มากกว่า 90 % รวมทั้งยังเป็นต้นแบบการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับชุมชนอย่างรู้คุณค่าและเกิดความยั่งยืน

และยังมีอีกหลายพื้นที่ที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการดังกล่าวของมูลนิธิพลังที่ยั่งยืน อย่างเช่น ชุมชนบ้านมะค่า ตำบลโคกกระชาย อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา , โรงเรียนบ้านยุบตาเหน่ง ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง เพื่อให้มีพลังงานทดแทน ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน

ขณะที่พื้นที่ชุมชนบ้านน้อยกาฬสินธุ์ มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน ดำเนินการติดตั้งระบบผลิตกระแสไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับสูบน้ำ ขนาด 2.56 กิโลวัตต์ (โซล่าร์เซลล์ 8 แผ่น) และ สำนักสงฆ์ และอาคารอเนกประสงค์ของชุมชน โดยมูลนิธิได้ตั้ง ชุดส่องไฟสว่างเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับครัวเรือน สำหรับบ้านในพื้นที่ จำนวน 30 ชุด นอกจากนี้ยังได้เปลี่ยนแบตเตอรี่ที่ชำรุดให้กับกองร้อยทหารพรานที่ 1405 เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และส่งเสริมให้ชาวบ้านได้นำความรู้และประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

นายอำพร กล่าวว่า ชุมชนมีแสงสว่างใช้ในช่วงเวลากลางคืน มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และยังลดค่าน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องปั่นไฟได้ 114,975 บาท/ปี ซึ่งในวันนี้พวกเรามีไฟฟ้าใช้ มีทีวี มีสิ่งอำนวยความสะดวก มีน้ำเก็บไว้ใช้ในฤดูแล้ง และเด็กนักเรียนสามารถทำการบ้านได้ตอนกลางคืนไม่ต้องเสียตังค่าน้ำมันเครื่องปั่นไฟ คุณภาพชีวิตดีขึ้นมาก


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"