SPCG จับมือ กฟภ.ลุยลงทุนโซลาร์ฟาร์มในอีอีซีลงทุน 2.3 หมื่นล้าน


เพิ่มเพื่อน    

 

15 ธ.ค. 2563 นางวันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด(มหาชน) หรือ SPCG เปิดเผยถึงความร่วมมือ บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (PEA ENCOM) บริษัทในเครือของการไฟฟ้าาส่วนภูมิภาค(กฟภ.) ในการลงทุนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์(โซลาร์) ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) โดยมีเป้าหมายระยะแรกไม่น้อยกว่า 500 เมกะวัตต์ ตั้งแต่ปี 2564-2569 มูลค่าการลงทุนกว่า 23,000 ล้านบาท โดย SPCG มีแผนจะขอรับการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เพื่อรับสิทธิยกเว้นและลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล คาดว่าจะพัฒนาแล้วเสร็จรวมอย่างน้อย 300 เมกะวัตต์ ภายในปี 2564 และอีกไม่น้อยกว่า 200 เมกะวัตต์ ภายในปี 2569 โดยจะทยอยรับรู้รายได้ ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 64 เป็นต้นไป

ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจะเป็นการลงทุนผ่านบริษัท เซท เอนเนอยี จำกัด ที่ SPCG ถือหุ้นอยู่ 40% ร่วมกับบริษัท มิตซู เพาเวอร์ กรุ๊ป จำกัด ถือหุ้น 40% และ PEA ENCOM ถือหุ้น 20% ซึ่งการดำเนินการนี้จะทำให้บริษัทมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดเพิ่มขึ้นเป็น 1,000 เมกะวัตต์ จากเดิมที่มีแผนดำเนินการไปแล้ว 500 เมกะวัตต์ ซึ่งปัจจุบันได้มีการจ่ายไฟเชิงพาณิชย์แล้ว 330 เมกะวัตต์ และบริษัทได้ตั้งเป้ารายได้ภายในปี 64-65 ว่าจะสามารถทำรายได้ประมาณ 6,000-7,000 ล้านบาทต่อปี

"เงินลงทุน 23,000 ล้านบาทของโครงการส่วนหนึ่งจะมาจากการระดมทุนประมาณ 5,000 ล้านบาท โดยจะมีการประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 15 ธ.ค. นี้ซึ่งคาดว่าจะทำได้สำเร็จ และในส่วนที่เหลือประมาณ 17,000-18,000 ล้านบาท จะมาจากการกู้เงิน โดยโครงการนี้จะเน้นลงทุนในพื้นที่ที่ใกล้กับสายส่งของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) เพื่อให้ง่ายต่อการจ่ายไฟ โดยส่วนใหญ่จะเป็นโซลาร์ฟาร์ม ที่ใช้พื้นที่แห่งละ 50-100 ไร่ กำลังการผลิตอยู่ที่ 30-50 เมกะวัตต์ต่อจุด เราก็ยอมรับว่าพื้นที่แถวนั้นราคาเพิ่มสูงขึ้น แต่ก็ด้วยสถานการณ์ของโควิดที่ผ่านมาส่งผลให้ราคาที่ดินลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจากการประเมินราคาทั้งโครงการก็ได้รวมกับราคาที่ดินและการจัดการต่าง ๆ ไว้แล้วจึงมั่นใจว่าจะสามารถควบคุมราคาและทำให้เกิดกำไรต่อผู้ถือหุ้นได้"นางวันดี กล่าว

อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวดำเนินงานตามแผนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาพื้นที่อีอีซีที่กำหนดสัดส่วนให้การใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลต่อพลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้าจะอยู่ที่ 70:30% และปัจจุบันจากการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ 3 จังหวัดอีอีซีมีสัดส่วนอยู่ที่ 4,000 ทำให้สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดหรือโซลาร์นั้นอยู่ที่ประมาณ 1,200 เมกะวัตต์ ในขณะที่ปี จะเติบโตไปอยู่ที่ 10,000 เมกะวัตต์ ซึ่งโครงการดังกล่าวจะช่วยให้เกิดการจ้างงานกว่า 50,000 คน รวมถึงยังช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ได้ไม่น้อยกว่า 11 ล้านตันคาร์บอน ภายในระยะเวลา 30 ปี หรือประมาณ  4 แสนตันคาร์บอนต่อปี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"