จากเหนือ ถึง อีสาน เลือกตั้ง อบจ. ศึกใน "เพื่อไทย"


เพิ่มเพื่อน    

    การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ในรอบนี้ สำหรับพรรคเพื่อไทยที่ประกาศส่งผู้สมัคร 25 คน ได้เห็นปรากฏการณ์หลายอย่างภายในพรรค การระดมขุนพลของพรรค ปักหลัก ขีดเส้นใต้ ‘เชียงใหม่ แพ้ไม่ได้’ ระดมทุกสรรพกำลัง ทยอยลงไป ‘เฉลิม อยู่บำรุง’ ‘อดิศร เพียงเกษ’ ‘อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด’ ‘วรชัย เหมะ’ ‘พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์’ ‘พิพัฒนชัย ไพบูลย์’

            ยังไม่นับรวมทักษิณ ชินวัตร ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สมชาย วงศ์สวัสดิ์ เยาวเรศ ชินวัตร ชยิกา วงศ์นภาจันทร์ ‘ชินวัตรแฟมมิลี่’ โดดออกมาเปิดหน้าเล่นเอง การออกแรงขอให้ชาวเชียงใหม่สนับสนุนผู้สมัครในนามพรรค อาจสุ่มเสี่ยงทางข้อกฎหมาย อันส่งผลกระทบไปถึงทั้งผู้สมัครและพรรคการเมืองก็ตาม แต่ทักษิณก็ยังเดินหน้าเล่นเอง คงไม่ต้องบอกว่า ทักษิณ-เพื่อไทย ให้ความสำคัญเชียงใหม่มากขนาดไหน

            หน้าฉาก พิชัย เลิศพงศ์อดิศร หรือ ส.ว.ก๊อง ผู้สมัครในนามพรรคเพื่อไทย ห้ำหั่นกับ บุญเลิศ บูรณุปกรณ์ จากกลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม หลังฉาก ฝั่งเพื่อไทย ทักษิณและเครือญาติ จัดหนักจัดเต็ม ขณะที่ฝั่งบุญเลิศก็ได้กองหนุน จตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. โดดออกมาสนับสนุนอย่างเต็มกำลัง

            เป็นปรากฏการณ์ไม่ธรรมดา สนามเชียงใหม่ และ 18 ธ.ค.นี้ เพื่อไทยเตรียมขนขุนพลชุดใหญ่ไปปราศรัย อ้อนขอคะแนนเสียงชาวเชียงใหม่กันอีกรอบ เชียงใหม่ที่ว่าดุเดือดแล้ว หันไปมองอีกด้านก็ดุเดือดไม่น้อยกว่ากัน

นับแต่กระเด็นกระดอนออกไปจากพรรคเพื่อไทย หญิงหน่อย-คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ปิดปากเงียบ ยังไม่ชี้แจงถึงต้นสายปลายเหตุ ‘อะไร-ทำไม-เพราะอะไร’ มีเพียงแต่ คณะคนใกล้ชิด โภคิน พลกุล กับเสี่ยไก่-วัฒนา เมืองสุข ออกมาชี้แจง ให้สัมภาษณ์

- จุดยืนยังยืนฝั่งประชาธิปไตย

- ไม่ได้มีปัญหากับคนทางไกล เพียงแต่มีความคิดเห็นไม่ตรงกับคณะผู้บริหารพรรคในปัจจุบัน

- หลังจากนี้จะทำ ’พรรคการเมือง’

แต่ในเมื่อกฎกติกา รัฐธรรมนูญที่จะมีการร่างกันขึ้นมาใหม่ยังไม่มีใครรู้ว่าการเลือกตั้งจะเป็นแบบใด บัตรใบเดียวหรือบัตรสองใบ การคิดคำนวณคะแนนนำมาซึ่ง ส.ส. จะใช้วิธีใด เป็นพรรคเน้น ส.ส.ระบบเขต หรือเน้นปาร์ตี้ลิสต์ ยังไม่อาจคาดการณ์ได้ ต้องรอความชัดเจนทางเนื้อหา ก่อนกำหนดจังหวะก้าวย่าง ก้าวเดิน ดังนั้นการเปิดตัวพรรค เปิดนโยบาย เปิดตัวขุนพลคณะทำงาน ‘ยังพอมีเวลา’

หญิงหน่อยยังปิดปากเงียบ ทั้งเหตุที่ออกจากบ้านเก่าที่อยู่มานานหลายสิบปี และเส้นทางการเมืองในอนาคต อาจจะเงียบหายทางหน้าสื่อ แต่ในทางการเมืองมีการเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เดินทางเข้ามาสู่โค้งสุดท้าย

สถานะการเมือง สุดารัตน์เป็นเพียง ‘อดีตประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย’ ‘อดีตสมาชิกพรรคเพื่อไทย’ แต่ทนเสียงร้องขอจากสมาชิกพรรค อดีต ส.ส. ขอให้ไปลงพื้นที่ ช่วยปราศรัยพบปะชาวบ้าน ขอคะแนน ด้วยความสัมพันธ์ส่วนตัว ผู้สมัครนายก อบจ.หลายจังหวัด โดยเฉพาะพื้นที่ภาคอีสานที่ผู้ที่ลงสมัครบางคนเป็นอดีต ส.ส. บางคนก็รู้จักกันมานาน สนิทสนมกับครอบครัวผู้สมัครหลายปี เมื่อได้รับการร้องขอ จึงผูกเป็นสัญญาใจ ไม่ช่วยก็ไม่ได้

ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา สุดารัตน์บุกตะลุยสนาม อบจ. ทั้งในจังหวัดร้อยเอ็ด หนองบัวลำภู นครพนม น่าน เป็นต้น เดินตลาด ปราศรัยบนเวที ออดอ้อนขอคะแนนเสียงให้ช่วยผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย

แม้มีกระแสข่าวหลุดลอดออกมา บิ๊กเนมในพรรคเพื่อไทยเน้นย้ำไปถึงผู้สมัครนายก อบจ. ห้ามเชิญสุดารัตน์ไปช่วยหาเสียงอย่างเด็ดขาด หากใครฝ่าฝืนเจอคาดโทษ จะไม่ให้การสนับสนุน ที่อาจส่งผลถึงการเลือกตั้งรอบหน้า แต่กลับกลายเป็นว่า ผู้สมัครบางคนที่เคยเชิญไปแล้ว กระแสความนิยมผู้สมัครรายนั้นดีขึ้น ต้องร้องขอให้ไปช่วยหาเสียงกันอีกรอบ ไม่เท่านั้น ผู้สมัครหลายคนยังขึ้นรูปคู่กับสุดารัตน์ สร้างความขุ่นข้องหมองใจกับบิ๊กๆ เพื่อไทยบางคนไม่น้อย

ถึงจะเจอคาดโทษ แต่ผู้สมัครไม่สน เมื่อมาแล้วคะแนนเสียงดีขึ้น ในเมื่อทุกองคาพยพมุ่งไปเชียงใหม่เต็มพิกัด นาทีนี้ใครไปใครมา ชาวบ้านชอบเป็นพอ ขอเอาความอยู่รอดทางการเมืองตัวเองไว้ก่อน.

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"