"DDC-Care "ระบบติดตามผู้ติดเชื้อโควิด พื้นที่สมุทรสาคร


เพิ่มเพื่อน    

รูปแบบระบบ DDC-Care

 

 26ธ.ค.63- แอพลิเคชั่น ที่นำมาใช้รับมือกับการระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่  นั้นก็คือ "DDC-Care "เป็นระบบที่ใช้ติดตามและประเมินผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  ที่คิดค้นพัฒนาขึ้นด้วยโดย ดร.อนันต์ลดา โชติมงคล นักวิจัย ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) สวทช. ดร.นัยนา สหเวชชภัณฑ์ นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และทีมวิจัย สวทช.  และจะนำไปใฃ้กับ แรงงานต่างด้าวที่ถูกกักตัวจากตลาดกุ้ง สมุทรสาคร

 

ผอ. สวทช. และ ทีมวิจัย DDC-Care

ทั้งนี้ DDC-Care ได้รับรางวัล ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเด่นตอบรับชีวิตวิถีใหม่และการปรับตัวอันเนื่องมาจากภาวะวิกฤติโควิด-19 ภายในงานสรุปผลงานเด่นปี 2563 และแผนยุทธศาสตร์ปี 2564 ที่ผ่านมา 

ด้านนักวิจัย ดร.นัยนา สหเวชชภัณฑ์ ให้ข้อมูลว่า ตั้งแต่เดือนมีนาคมที่การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 รุนแรง ก็ได้เริ่มพัฒนาระบบ DDC-Care ขึ้นมาเพื่อติดตามและประเมินผู้ที่มีความเสี่ยง เพราะในระบบจะมีการจัดเก็บข้อมูลการอยู่อาศัยและการเดินทางโดยจะโฟกัสเฉพาะบุคคลที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและผู้ติดเชื้อแล้ว ที่ต้องได้รับการพิจารณาจากแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขยืนยันเท่านั้น ไม่สามารถดาวน์โหลดได้ทั่วไป  ซึ่งระบบ DDC-Care ได้ถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ 


ก่อนหน้านี้ DDC-Care  ได้นำไใช้ในช่วงการระบาดระลอกใหม่ ในกรณี ท่าขี้เหล็ก มีการใช้งานโดย โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ในการติดตามกลุ่มเสี่ยงกว่า 100 ราย มีการใช้งานโดยโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา ในการติดตามกลุ่มเสี่ยงกว่า 60 ราย และในพื้นที่ใกล้ชายแดนประเทศเมียนมาร์ บริเวณด่านแม่สอด จ.ตาก โดย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่สอด และรพ.แม่สอด และในพื้นที่จ.สมุทรสาคร อยู่ระหว่างการประสานงานกับสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร ในการนำระบบ DDC-Care ไปใช้กับแรงงานต่างด้าวที่ถูกกักตัวจากตลาดกุ้ง 

สำหรับการทำงานของ DDC-Care แบ่งออกเป็น 3 แอปพลิเคชัน ได้แก่ 1. DDC-Care REGISTRY สำหรับลงทะเบียนใช้งานระบบผ่านSMS หรือ QR Code ที่มีการยืนยันตัวตน ให้ลงทะเบียนได้เฉพาะผู้ที่เจ้าหน้าระบุเท่านั้น 2. DDC-Care APP สามารถดึงพิกัดผู้ใช้งานแบบอัตโนมัติผ่านระบบ GPS และแจ้งเตือนให้เจ้าหน้าที่ทราบ เมื่อมีการออกนอกพื้นที่กักตัวที่ปักหมุดไว้เกินกว่าระยะที่กำหนด สามารถใช้งานได้ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และ Android รวมทั้ง สามารถดาวน์โหลดผ่าน Huawei App Gallery รองรับ 4 ภาษา คือ ไทย อังกฤษ จีน และพม่า 

3. DDC-Care DASHBOARD สนับสนุนการติดตามสุขภาพและการกักตัวของกลุ่มเสี่ยงแบบเรียลไทม์ (real-time) ในรูปแผนที่แสดงตำแหน่งที่อยู่ของกลุ่มเสี่ยงในภาพรวม พร้อมสถานะแสดงระดับความเสี่ยง การออกนอกที่พัก และการปิด GPS ตารางแสดงข้อมูลสุขภาพในระยะเวลา 14 วัน ของกลุ่มเสี่ยงแต่ละราย และแผนที่แสดงประวัติการเดินทาง และตำแหน่งที่อยู่ปัจจุบันของกลุ่มเสี่ยงรายคน โดยเจ้าหน้าที่สามารถเรียกดูข้อมูลของกลุ่มเสี่ยงตามสิทธิ์ทีได้รับมอบหมาย 

ดร.นัยนา สหเวชชภัณฑ์

 

นอกจากนี้ระบบ DDC-Care ได้ถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ในการติดตามการกักตัวของผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ที่ต้องกักตัวที่บ้าน (home quarantine) เพื่อควบคุมการระบาดให้อยู่ในวงแคบ และการติดตามและเฝ้าระวัง กลุ่มเสี่ยงที่ไม่ต้องกักตัวที่บ้าน เช่น คนขับรถบรรทุกที่รับส่งของจากชายแดน ช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถทราบการเดินทางและสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงได้ตลอดเวลา 

แบบฟอร์มสำหรับบันทึกข้อมูลติดตาม

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"