'จุรินทร์'ประกาศเดินหน้า14ภารกิจช่วยเหลือเกษตรกร ประชาชน และผู้ประกอบการ


เพิ่มเพื่อน    


8 ม.ค.2564 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงทิศทางการทำงานของกระทรวงพาณิชย์ในปี 2564 ว่า ได้หารือร่วมกับผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ เพื่อร่วมกันวางแผนการทำงานในปี 2564 แล้ว โดยเห็นร่วมกันที่จะดำเนินการตามแผนงานเดิมที่ได้ทำมาแล้วในปี 2563 และเพิ่มเติมงานใหม่ๆ ที่จะดำเนินการในปี 2564 รวมแล้วมีถึง 14 แผนงาน ครอบคลุมการทำงานทุกด้านที่จะช่วยดูแลเกษตรกร ประชาชน และผู้ประกอบการ  

          โดยงานแรกที่จะดำเนินการต่อ คือ โครงการประกันรายได้สินค้าเกษตรปีที่ 2 ที่จะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้คุ้มต้นทุน และมีเงินไปจับจ่ายใช้สอย เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ 2.การลดราคาในโครงการพาณิชย์ลดราคา! ช่วยประชาชน ที่จะมีล็อตต่อไป และจะลงลึกถึงระดับตำบล เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน 3.เดินหน้านโยบายเกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด โดยใช้ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต 4.โครงการอาหารไทย อาหารโลก ที่จะมุ่งเน้นขยายตลาดอาหารไทยไปตลาดโลก และจะเน้นเพิ่มการส่งออกอาหารฮาลาล มังสวิรัติ และอาหารแนวใหม่ที่เป็นเทรนด์สำคัญของโลก

          5.ผลักดันการค้าออนไลน์ มีแผนงานสำคัญ เช่น ปั้นเจนซีให้เป็นซีอีโอ 12,000 ราย , ผลักดันผู้ผลิต ผู้ส่งออกให้เป็นผู้ค้าออนไลน์ , พัฒนาตลาดสด ร้านธงฟ้า ให้สามารถขายสินค้าผ่านทางออนไลน์ , สร้างยี่ปั้วออนไลน์ เพื่อให้ร้านธงฟ้า โชวห่วย ตลาดสด สามารถเข้ามาซื้อสินค้า และผลักดันสร้างทีมเซลส์แมนจังหวัดให้เป็นเซลส์แมนแม่ไก่ในการเผยแพร่ความรู้เรื่องการค้าออนไลน์ให้กับผู้ผลิตในระดับฐานราก

          6.พัฒนาศักยภาพทางการตลาดให้กับภาคบริการ ทั้งผู้ค้าปลีก ค้าส่ง สมาร์ทโชห่วย โลจิสติกส์ บริการเพื่อสุขภาพ ดิจิทัลคอนเทนท์ ร้านอาหาร บริการการพิมพ์ 7.พัฒนาศักยภาพทางการตลาดให้กับภาคการผลิตฐานราก ทั้ง SMEs และ Micro SMEs โดยจะช่วยอบรมให้ความรู้ ช่วยหาตลาดทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งนำระบบบล็อกเชนมาใช้ในการตรวจสอบย้อนกลับ เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายในตลาดที่กว้างขึ้นในอนาคต

          8.เร่งรัดการส่งออกในยุค New Normal โดยใช้นวัตกรรมใหม่ทางการตลาดผ่านแพลตฟอร์มที่มีศักยภาพทั้งของไทยและระดับโลก การจัดงานแสดงสินค้าในรูปแบบไฮบริดและ Mirror Mirror และอื่นๆ รวมทั้งเข้าไปช่วยแก้ปัญหาเรื่องการส่งออก เช่น เรื่องการต่ออายุใบอนุญาต หรือการตรวจสอบโรงงาน ที่จะขอให้ยืดเวลาออกไป หรือให้หน่วยงานไทยรับรองแทน 9.เดินหน้าการค้าชายแดนและการค้าข้ามแดนเชิงรุก โดยด่านที่เปิดอยู่แล้ว 35 แห่งจาก 97 แห่ง ถ้าไม่จำเป็นจะไม่ปิด และจะเร่งเปิดด่านที่เหลือทันที หากสถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้น

          10.เร่งรัดการเจรจาการค้าเพื่อขยายการค้าของไทยไปยังตลาดโลกในทุกรูปแบบ โดยจะเร่งรัดการให้สัตยาบันความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซ็ป) เปิดเจรจาความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับสหภาพยุโรป (อียู) สหราชอาณาจักร (ยูเค) EFTA สหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย และอาเซียน-แคนนาดา และเร่งรัดนโยบายทำมินิเอฟทีเอกับรัฐและมณฑล เช่น เตลังกานา และไห่หนาน การจัดตั้งกองทุนเอฟทีเอเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรม และสร้างระบบจับตามองสินค้านำเข้า เพื่อเตรียมการใช้มาตรการป้องกันการทุ่มตลาดและการใช้มาตรการปกป้อง

          11.ด้านทรัพย์สินทางปัญญา จะผลักดันให้มีการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เพิ่มขึ้น จากปัจจุบันที่จดแล้ว 134 รายการ ขาดอ่างทองจังหวัดเดียวก็จะมีครบทุกจังหวัดทั่วประเทศ ผลักดันให้มีระบบแจ้งเตือนกรณีสิทธิบัตรที่จะหมดอายุ ในกลุ่มอาหาร เกษตร และยา เพื่อให้ผู้ประกอบการเตรียมตัวใช้ประโยชน์ ลดระยะเวลาการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้สั้นลง ช่วยคุ้มครองกรณีสินค้าไทยถูกละเมิด เริ่มต้นการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทออนไลน์ และคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ขายบนแพลตฟอร์มต่างๆ

          12.การให้บริการภาคธุรกิจและประชาชนเชิงรุก ด้วยการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ เช่น การจองชื่อนิติบุคคล การขอหนังสือรับรองธุรกิจต่างด้าว การขอใบอนุญาตส่งออกนำเข้า ขอใบอนุญาตขนย้ายสินค้าเกษตร การร้องเรียนผ่านสายด่วน 1569 เพิ่มเป็นให้ร้องเรียนได้ทางไลน์ เป็นต้น 13.ทำงานร่วมกับราชการและเอกชน ในรูปแบบ กรอ.พาณิชย์ เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การค้าไทย 5 ปี (2564-68) เป็นครั้งแรกของประเทศ และ 14.เดินหน้าให้บริการประชาชนแบบบริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว มีทั้งสิ้น 85 บริการ
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"