ภาคอีสานกับผลิตภัณฑ์มวลรวมรายจังหวัดท้ายตาราง


เพิ่มเพื่อน    

 

ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product : GPP) คือข้อมูลรายได้ประชาชาติระดับจังหวัด ที่สามารถอธิบายภาพรวมด้านเศรษฐกิจของจังหวัดได้ เพราะเป็นการประมวลผลรวมรายได้ที่มาจากกิจกรรมการผลิตทั้งหมด ที่ดำเนินการอยู่ในพื้นที่ของจังหวัด ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จัดเก็บเองในช่วงแรก และเริ่มให้จังหวัดจัดทำด้วยตนเองมาตั้งแต่ปี 2546 ผู้เขียนลองเอาข้อมูล 10 จังหวัดที่อยู่ท้ายตาราง หรืออีกนัยหนึ่งคือ 10 จังหวัดที่รายได้มีรายได้ต่อหัวประชากรต่ำสุดของประเทศ มาเปรียบเทียบกันสามช่วงในปี 2550 2555 และ 2560 และลองวิเคราะห์แบบไม่ใช่ทางเศรษฐศาสตร์ แต่เป็นมุมมองของลูกอีสาน เรียนและทำงานในอีสานจนเกษียณอายุราชการ เชิญชวนผู้อ่านดูตารางข้างล่างนี้ว่าบอกอะไรเราบ้าง เห็นด้วยหรือมองต่าง ไม่ว่ากันครับ
         

สำหรับผมมองว่า ภาคอีสานดินแดนที่ราบสูง ที่มีข้อจำกัดหลายด้านทางธรรมชาติ ในการทำการเกษตร เช่น พื้นที่ชลประทานมีน้อย ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ อาชีพเกษตร เป็นอาชีพหลักของคนอีสาน จังหวัดที่มีรายได้ประชาชาติระดับจังหวัด 10 อันดับสุดท้าย ก็คงจะเป็นจังหวัดในภาคอีสานเป็นส่วนใหญ่ต่อไป
         

ที่อยากชวนดูต่อไปคือ จากปี 2550-2560 10 ปีผ่านไป สามจังหวัดท้ายตารางทั้งหมดอยู่ในภาคอีสาน และลำดับยังเหมือนเดิม สองในสามจังหวัด คือยโสธรและหนองบัวลำภู เป็นจังหวัดที่แยกตัวออกมาใหม่ จึงยังมีเงาจังหวัดเดิมคืออุบลราชธานี และอุดรธานี บดบังอยู่ ส่วนกาฬสินธุ์ก็มีขอนแก่นที่หลายฝ่ายมองเป็นเมืองหลวงของอีสานเป็นเพื่อนบ้าน
         

ผลกระทบของการเป็นจังหวัดขนาดเล็กของสามจังหวัดดังกล่าวที่หลายท่านอาจมองข้าม คือ จังหวัดเหล่านี้จะมีการเปลี่ยนผู้นำ (ผู้ว่าราชการจังหวัด) บ่อยกว่าจังหวัดใหญ่ๆ บางจังหวัดเปลี่ยนเกือบทุกปี เพราะผู้ว่าฯ หลายท่านใช้เป็นทางผ่านไปอยู่เมืองใหญ่ แนวทางการพัฒนา บางครั้งจึงเปลี่ยนไปมา
         

อีกปัจจัยที่ผมมองว่าสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน คือความเข้มแข็งของภาคเอกชน เช่น หอการค้า สภาอุตสาหกรรม ศักยภาพของภาคเอกชนโดยรวม และการขับเคลื่อนงานร่วมกันของภาคราชการและภาคเอกชน
         

นอกจากนั้น แนวทางการจัดสรรงบประมาณภาครัฐควรผกผันกับระดับการพัฒนาของจังหวัดและผลิตภัณฑ์มวลรวมของแต่ละจังหวัดมาประกอบการจัดสรรงบประมาณด้วย เพราะจากรายงานการวิเคราะห์การจัดสรรงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2560 ของสภาผู้แทนราษฎร พบว่ามีจังหวัดที่ประชากรรายได้สูงอยู่แล้วยังคงได้รับการจัดสรรงบประมาณมากกว่าจังหวัดที่ประชากรมีรายได้ต่ำ และประมาณร้อยละ 20 ของงบประมาณทั้งหมดถูกนำไปใช้เป็น "งบดำเนินงาน" และงบประมาณส่วนนี้กว่าร้อยละ 60 ถูกนำไปใช้เป็น "ค่าจ้างเหมาบริการ" และ "ค่าใช้จ่ายในการสัมมนาและฝึกอบรม" แทนที่จะได้นำไปใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่
         

ผู้เขียนหวังว่าเสียงสะท้อนเล็กๆ นี้ จะมีผู้สนใจนำไปปรับเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาจังหวัด และภาคอีสานโดยรวมในอนาคต จะก้าวผ่านกับดักความยากจน ความเหลื่อมล้ำในการพัฒนา ที่อยู่คู่อีสานมานานไปได้ในที่สุดครับ

 

 

คอลัมน์ เวทีพิจารณ์นโยบายสาธารณะ
ดร.สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์
กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"