มหากาพย์วัคซีน!'สฤณี'ตั้งคำถาม3ข้อหลักการจัดหาวัคซีนไวรัสโควิด


เพิ่มเพื่อน    


22 ม.ค.64 - น.ส.สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์ นักเขียน นักแปลชื่อดัง โพสต์ลงบนเฟซบุ๊ก Sarinee Achavanuntakul - สฤณี อาชวานันทกุล  มีเนื้อหาดังนี้
ประเด็นวัคซีนโควิดดูจะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ และเป็นมหากาพย์อย่างที่คิดไว้จริงๆ ด้วย ดังนั้นในเมื่อเป็นมหากาพย์ ก็จะรอติดตามข้อมูลข่าวสารไปอีกสักระยะก่อนนะคะ ก่อนจะเขียนถึง แต่เขียนถึงแน่ไม่ต้องห่วง ประเด็นน่าสนใจเพียบ
อยากบอกสั้นๆ ก่อนว่า ในฐานะประชาชน เราไม่ควรจำกัดตัดตอนคำถามให้เหลือแค่ "ทำไม AstraZeneca (AZ) ถึงเลือก สยามไบโอไซน์ เป็นผู้ผลิตวัคซีน?"  เพราะเราไม่ใช่เจ้าของหรือนักลงทุนของ AZ ถึงจะต้องสนใจขนาดนั้น 55 คำถามที่เราควรถามมากกว่ามากในฐานะ "คนไทย" คือสามคำถามนี้ค่ะ

1. ในหลักการ รัฐควรจัดหาวัคซีนหลายยี่ห้อเพื่อกระจายความเสี่ยง (และในเมื่อมันไม่ได้ซื้อกันง่ายๆ แต่ทุกประเทศแย่งกันซื้ออยู่) ไม่มีเหตุผลใดๆ ที่รัฐบาลไทยจะไม่จัดหาวัคซีนแบบกระจาย อย่างที่ประเทศอื่นๆ ทุกประเทศกำลังทำ เหตุใดจนถึงปลาย ม.ค. 2564 จึงมีความชัดเจนเพียงสองเจ้าเท่านั้น คือ Sinovac และ AstraZeneca เหตุใดจึงไม่ซื้อจากเจ้าอื่นๆ ที่ผลการทดสอบไปไกลกว่าและหลายประเทศก็ใช้จริงแล้ว อย่าง Pfizer ซึ่งมาเสนอขายรัฐบาลไทยด้วย เหตุผลในการปฏิเสธคืออะไร ในเมื่อประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย อินโดนีเซีย ก็สั่งซื้อแล้ว (ถ้าจะอ้างว่า Pfizer ขนส่งยาก ต้องเก็บในที่เย็นมากๆ แล้วทำไมอินโดนีเซียทำได้ ประเทศเขาเป็นเกาะแก่งมากมายหลายพันเกาะ)

2. ในหลักการอีกเช่นกัน ประเทศไทยใช้ระบบตลาดเสรี วัคซีนโควิดคือของเร่งด่วน ยิ่งเราได้ฉีดเร็ว เรายิ่งเปิดประเทศค้าขายได้เร็ว เศรษฐกิจยิ่งฟื้นตัวเร็ว ดังนั้นไม่มีเหตุผลใดๆ ทั้งสิ้น ที่รัฐบาลจะหน่วงเหนี่ยวถ่วงเวลา กีดกันไม่ให้โรงพยาบาลเอกชนนำเข้าวัคซีนที่ใช้จริงโดยได้ผลค่อนข้างดีแล้วในต่างประเทศ โดยเฉพาะ Moderna, Pfizer เพราะโรงพยาบาลจำนวนมากย่อมอยากนำเข้าเอง เพราะมีลูกค้าฐานะดีจำนวนมากที่พร้อมจ่าย ดังนั้นคำถามคือ ทำไม อย. จึงต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน (ตามข่าวล่าสุด) ในการอนุมัติวัคซีน Moderna และ Pfizer ? ดูไม่มีเหตุมีผลแม้แต่น้อย ยิ่งถ่วงเวลา รัฐบาลจะยิ่งถูกครหาว่า "ล็อกตลาด" ให้ผูกขาดเพียงสองเจ้าเท่านั้นที่รัฐบาลดีลแล้ว คือ AZ และ Sinovac

3. การรับจ้างผลิตวัคซีนอาจเป็นเรื่องปกติ แต่การเอาเงินงบประมาณอย่างน้อย 1,400 ล้านบาท เท่าที่เป็นข่าว (ไม่นับเงินจาก SCG อีก 100 ล้านบาท) ไปให้กับบริษัทเอกชนหนึ่งแห่งเพื่อให้ "พร้อม" ที่จะผลิตวัคซีน แถมเป็นบริษัทที่มีดีลว่าจะรับจ้างผลิตวัคซีนตัวนี้ให้กับ "ทั้งภูมิภาคอาเซียน" (แปลว่ากำไรที่ได้ก็จะไหลเข้ากระเป๋าผู้ถือหุ้นบริษัท ไม่ใช่รัฐบาล) นั้น เป็นเรื่อง "ไม่ปกติ" ยังไม่นับว่าสัญญาที่รัฐบาลอ้างว่าเซ็นกับ AZ มูลค่า 6,047 ล้านบาทเมื่อปีกลาย ก็มีข้อสงสัยมากมาย อาทิ ทำไมต้องมี "ค่าบริหารจัดการ" สองพันกว่าล้านบาท? (ราคา 5 USD ที่รัฐบาลอ้างว่าซื้อ AZ นั้น เทียบกับ 26 ล้านโดสที่ซื้อ จะเท่ากับเงิน 26 ล้าน x (5 x 30) = 3,900 ล้านบาท แปลว่ามี "ค่าบริหารจัดการ" สูงถึง 6,047 - 3,900 = 2,147 ล้านบาทเลยทีเดียว) จึงเกิดเป็นคำถามที่นักข่าวควรใช้ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสาร ขอดูสัญญา และถามต่อไปด้วยว่า ที่รัฐบาลอ้างว่าจะซื้ออีก 35 ล้านโดสนั้น จะใช้งบประมาณเท่าไหร่ มีค่า "บริหารจัดการ" อีกหรือไม่
คร่าวๆ ประมาณนี้ก่อน มาติดตามกันต่อไปนะคะ
#มหากาพย์วัคซีน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"