ผู้หญิงเคยป่วยหัวใจวาย โอกาสตายง่ายกว่าผู้ชาย 


เพิ่มเพื่อน    

    ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตภายใน 5 ปี หลังจากหัวใจวายครั้งแรก ซึ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นต์การเสียชีวิตสูงมากกว่าผู้ชายถึง 20 เปอร์เซ็นต์ จากผลการวิจัยพบว่าผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเสียชีวิต หลังจากการหัวใจวายครั้งแรก สูงกว่าผู้ชายถึง 20 เปอร์เซ็นต์ 
    นักวิจัยจากแคนาดา ได้ทำการศึกษาผู้ป่วยจำนวน 45,064 คน ที่อาศัยอยู่ในประเทศแคนาดา ซึ่งได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หลังจากหัวใจวายครั้งแรก โดยทีมนักวิจัยได้เฝ้าติดตามพวกเขาเป็นเวลาประมาณ 6 ปี ซึ่งข้อมูลที่น่าสนใจนั้นพบว่า ผู้หญิงหลังจากเข้ารักษาตัวด้วยโรคหัวใจวายนั้น โดยเฉลี่ยแล้วมีอาการค่อนข้างแย่ หรือน่าเป็นห่วงกว่าเพศชาย เพราะไม่ได้มีการผ่าตัด อีกทั้งไม่ได้รับการปรึกษาแพทย์ ในการออกใบสั่งให้กินยาตามที่ควรจะเป็น 
    สำหรับอาการหัวใจวายมี 2 รูปแบบที่คุกคามชีวิตผู้ป่วยหญิง คือ ภาวะหัวใจวาย อันเนื่องจากอาการกล้ามเนื้อหัวใจตาย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ชนิดหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน 
    จากการศึกษาของนักวิจัยยังพบอีกว่า พัฒนาการของภาวะหัวใจล้มเหลว ชนิดหลอดเลือดอุดตัน หรือกระทั่งการเสียชีวิตเพราะหลอดเลือดไม่ได้อุดตันก็ตามนั้น จากการรักษาตัวในโรงพยาบาลก็พบว่าผู้หญิงจะมีอันตรายมากกว่าผู้ชาย ซึ่งข้อมูลที่น่าสนใจพบว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตในโรงพยาบาลหลังจากเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน ก่อนหัวใจวาย สูงถึงร้อยละ 9.4 และผู้ป่วยหญิงเสียชีวิตจากภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน หลังจากเคยหัวใจวาย คิดเป็นร้อยละ 4.5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผู้ชายมักจะเสียชีวิตด้วยภาวะแทรกซ้อน ทั้งก่อนและหลังอาการหัวใจวาย คิดเป็นร้อยละ 4.7 และ 2.9 ตามลำดับ    ข้อมูลที่คล้ายคลึงกันของทีมนักวิจัยที่ได้ทำการศึกษานั้น คือพัฒนาการหรือผลเสีย จากภาวะหัวใจล้มเหลว ที่เกิดขึ้นทั้งก่อนและหลังในผู้ป่วยนั้น ไม่ว่าคนไข้จะยังคงรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลหรือกลับไปพักฟื้นอยู่ที่บ้าน อัตราการเสียชีวิตของเพศหญิง ก็ยังคงอยู่ในระดับสูงมากกว่าผู้ชาย ทว่าผู้หญิงที่เสียชีวิตมากกว่าผู้ชายนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้หญิงที่ป่วยนั้นมีอายุมากกว่าผู้ชายถึง 10 ปี โดยเฉลี่ยแล้วผู้หญิงจะมีอายุมากกว่าผู้ชายอยู่ที่ 72 ปี ส่วนผู้ชายนั้นจะมีอายุอยู่ที่ 61 ปี และมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆ  อีกเช่นกัน อีกทั้งปัจจัยหนึ่งทำให้เพศหญิงเสียชีวิตมากกว่าผู้ชายนั้น เนื่องจากภาวะหัวใจห้องบนทำงานผิดปกติ กระทั่งมีโรคปอดอุดกลั้นเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง 
    ข้อมูลข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า ผู้หญิงที่ป่วยโรคหัวใจนั้น มีเพียงร้อยละ 72.8 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด เมื่อเทียบกับผู้ชายร้อยละ 84 ที่ไปพบแพทย์
    ด้าน ดร.จัสติน เอเซโควิทซ์ ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจจากมหาวิทยาลัยอัลเบอร์ตา กล่าวว่า “จากข้อมูลข้างต้น เป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่า ผู้หญิงอาจมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หลังจากหัวใจวาย ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องพัฒนาแนวทางป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสิ่งที่ลืมไม่ได้นั้นคือการลดคอเลสเตอรอล หรือลดไขมันในเลือดลง ซึ่งจะช่วยเรื่องการควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีขึ้น นอกจากนี้ควรหมั่นออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ งดสูบบุหรี่ ทั้งนี้หากทุกคนไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย ปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าว ถือเป็นการดูแลสุขภาพแต่เนิ่นๆ ที่ช่วยเซฟชีวิตคนได้ดีที่สุด”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"