'ปิยบุตร' ปฏิเสธเครื่องราชฯ


เพิ่มเพื่อน    

    วิจารณ์กันฝุ่นตลบ..... 
    เรื่องที่ ส.ส.พรรคก้าวไกล และอดีต ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ รวม ๓๒ คน ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๓
    ประเด็นอยู่ที่ หัวหน้าก๊วน ที่อยู่ในคณะก้าวหน้า อย่าง ธนาธร ปิยบุตร ช่อ ก้าวล่วง จาบจ้วง สถาบันพระมหากษัตริย์มาต่อเนื่อง
    ดังนั้นทั้ง ๓๒ คนนี้จึงถูกตั้งคำถามว่า เหมาะแล้วหรือที่จะขอเครื่องราชฯ
    ก่อนที่จะวิจารณ์ว่าเหมาะหรือไม่ไปดูชื่อเสียงเรียงนามกันก่อน
    ได้ในฐานะ ส.ส.พรรคก้าวไกล ๒๒ คน
    ๑.นายขวัญเลิศ พานิชมาท
    ๒.นายคารม พลพรกลาง
    ๓.นายจรัส คุ้มไข่น้ำ
    ๔.นายจิรวัฒน์ อรัณยกานนท์
    ๕.นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์
    ๖.พันตำรวจตรี ชวลิต เลาหอุดมพันธ์
    ๗.นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ
    ๘.นายณัฐพล สืบศักดิ์วงศ์
    ๙.นายณัฐวุฒิ บัวประทุม
    ๑๐.นายทองแดง เบ็ญจะปัก
    ๑๑.นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร
    ๑๒.นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์
    ๑๓.นายวาโย อัศวรุ่งเรือง
    ๑๔.นายวรภพ วิริยะโรจน์
    ๑๕.นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร
    ๑๖.นายวุฒินันท์ บุญชู
    ๑๗.นายศักดินัย นุ่มหนู
    ๑๘.นายสมเกียรติ ไชยวิสุทธิกุล
    ๑๙.นายสมเกียรติ ถนอมสินธุ์
    ๒๐.นางสาวณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์
    ๒๑.นางสาวเบญจา แสงจันทร์
    ๒๒.นางสาววรรณวิภา ไม้สน
    ในฐานะประธานกรรมาธิการ ๓ คน
    ๑.นายปดิพัทธ์ สันติภาดา
    ๒.นายสุเทพ อู่อ้น
    ๓.นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล
    เเละอดีต ส.ส.อนาคตใหม่ อีก ๗ คน
    ชั้น ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
    ๑.นายชำนาญ จันทร์เรือง
    ชั้น ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
    ๑.นายไกลก้อง ไวทยการ
    ๒.นายเจนวิทย์ ไกรสินธุ์
    ๓.นายนิรามาน สุไลมาน
    ๔. นางสาวกุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ
    ๕.นางสาวจารุวรรณ ศรัณย์เกตุ
    ๖.นางสาวเยาวลักษณ์ วงษ์ประภารัตน์
    ในมุมมองผมทั้ง ๓๒ คนสมควรได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ ครับ และมีเหตุผลรองรับ อ่านไปเรื่อยๆ นะครับ
    เพราะแม้ส่วนใหญ่จะมีประวัติต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่บ้าง แต่ก็ทำในนามมติพรรค ขณะที่ในนามส่วนตัว อาจจะมีแค่คนสองคน ที่แสดงบทบาทคาบเกี่ยวแต่ก็ไม่ชัดเจน แบบ สามสัส
    ถามว่าก่อนขอพระราชทานเครื่องราชฯ ทั้ง ๓๒ คนนี้รู้หรือเปล่า เพราะผู้เสนอรายชื่อคือประธานสภาผู้แทนราษฎร
    ในทางปฏิบัติเจ้าตัวรู้ครับ!
    หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราชฯ ทำตามระเบียบฯ ว่าด้วยการขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์  พ.ศ.๒๕๓๖ ที่กำหนดให้พิจารณาโดยรอบคอบว่าบุคคลนั้นได้กระทำความดีความชอบ อันเป็นประโยชน์แก่ราชการ หรือสาธารณชนจนถึงขนาดควรได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 
    โดยมิใช่พิจารณาแต่เพียงตำแหน่ง ระดับ ชั้น ชั้นยศ  หรือครบกำหนดระยะเวลาที่จะขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้เท่านั้น
    ทั้งนี้ เพื่อให้บุคคลที่ได้รับพระราชทานรู้สึกภาคภูมิใจในเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานอย่างแท้จริง และเพื่อให้เครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นครื่องหมายเชิดชูเกียรติอย่างสูงด้วย
    ฉะนั้นผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ จึงมีความภาคภูมิใจ ถือเป็นรางวัลตอบแทนที่ทำประโยชน์ให้บ้านเมือง 
    จะมีแค่บางคน ไม่ให้ความสำคัญในสิ่งที่ได้มา ซ้ำยังด้อยค่าให้ดูเป็นเรื่องไร้สาระ 
    "ปิยบุตร แสงกนกกุล" ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ  มาแล้ว ๒ ครั้ง
    ปี ๒๕๕๑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น ๔ จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
    ปี ๒๕๕๖ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น ๓ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
    แล้ว "ปิยบุตร" พูดถึงเครื่องราชฯ อย่างไร?
    "....๒๑ ก.พ.๖๓ คน ๗ คนใส่ชุดครุยบนบัลลังก์ในชื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยุบพรรคอนาคตใหม่ และเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรค ๑๐ ปี ทำให้ผมพ้นจากตำแหน่ง ส.ส. 
    ไม่กี่สัปดาห์ต่อมา เจ้าหน้าที่สภา เป็นธุระเอาการเอางาน ติดต่อมาที่ผม ที่ผู้ช่วย ทีมงานของผม ติดต่อผ่าน เพื่อน  ส.ส. หลายครั้ง ต่อเนื่องหลายสัปดาห์ ให้ผมไปลงนามในเอกสารขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เพื่อส่งเรื่องให้รัฐบาลส่งรายชื่อทูลเกล้าให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยต่อไป 
    เจ้าหน้าที่เน้นย้ำว่าสำคัญ เพราะ ตามลำดับขั้นที่เคยได้ บวกกับจำนวนเวลาที่เป็น ส.ส. และประธาน กมธ. อีก น่าจะขยับไปอีกหลายลำดับ
    Etienne de la Boetie เขียนไว้ตั้งแต่ปี ๑๕๗๖ ว่า
    ธรรมชาติของมนุษย์ คือ ความเป็นอิสระและความต้องการเป็นอิสระ แต่มนุษย์ก็เปลี่ยนแปลงอย่างง่ายดายเมื่อการศึกษาทำให้เขาเปลี่ยน ดังนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างกลายเป็นธรรมชาติของมนุษย์เมื่อเขาเคยชิน สิ่งเดียวที่ยังคงอยู่ในลักษณะตามธรรมชาติของพวกเขา คือ มนุษย์ปรารถนาอะไรที่ง่ายและไม่เปลี่ยนแปลง 
    เหตุผลประการแรกของความเป็นทาสโดยใจสมัคร คือ ความเคยชิน นั่นแหละ มันคือสิ่งที่เกิดขึ้นกับม้าที่กล้าหาญที่สุด เริ่มแรก มันกัดเหล็กปากม้า แต่ไม่นาน มันกลับเล่นสนุกสนานกับเหล็กนั้น เริ่มแรก มันไม่ยอมให้ใครเอาอานมาใส่หลัง แต่ตอนนี้ มันกลับวิ่งเข้าไปให้ใส่บังเหียนด้วยความภาคภูมิใจ และโอ้อวดในชุดเกราะ
    Pierre Bourdieu เคยกล่าวไว้ที่ไหนสักแห่งว่า ระบบการมอบรางวัล เหรียญตรา เกียรติยศ คือ เครื่องมือแห่งการครอบงำ ไม่เพียงแต่ช่วยแบ่งแยกคนออกเป็นพวกเป็นประเภทเท่านั้น แต่ยังช่วยล้อมกรอบให้คนอยู่ในโอวาทด้วย
    ในความเห็นของผม รัฐบาลไม่ได้มีหน้าที่ในการบอกว่าใครควรได้เกียรติยศผ่านการทูลเกล้าฯ รายชื่อขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เกียรติยศของบุคคลผู้ใช้อำนาจสาธารณะพึงเกิดจากความคิดเห็นของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจ และเพื่อให้ผมยังคงความเป็นอิสระในการนำเสนอเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 
    ผมจึงต้องปฏิเสธไม่ลงนามในเอกสารตามที่เจ้าหน้าที่สภาร้องขอ...."
    ครับ...เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ไม่ได้มีเฉพาะไทยประเทศเดียวในโลก และ "ปิยบุตร" รู้ดีว่าโลกใบนี้ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เป็นเครื่องหมายแห่งการยกย่อง
    มิใช่แสดงความเป็นทาส
    ฉะนั้นแปลความเป็นอย่างอื่นไม่ได้เลย นอกจาก "ปิยบุตร" แสดงออกอย่างชัดเจนถึงความเป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
    คงต้องถาม ส.ส.พรรคก้าวไกล และอดีต ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ ทั้ง ๓๒ คน ว่าวันนี้ยังภาคภูมิใจในเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานมาหรือไม่ 
    หรือจะตกเป็นทาสให้สามสัสสนตะพายต่อไป.
    


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"