คลินิกมลพิษ..รับมือฝุ่น PM 2.5 ชี้แนะประชาชนเฝ้าระวังตัวเอง


เพิ่มเพื่อน    

    จากสถานการณ์มลภาวะทางอากาศหรือฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในช่วงนี้เข้าขั้นวิกฤติ และมีแนวโน้มว่าจะต้องเผชิญกับเหตุการณ์นี้ในระยะยาว โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ จึงได้จัดตั้งคลินิกมลพิษขึ้น ทั้งนี้ นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า คลินิกมลพิษให้บริการตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งเป็นคลินิกเฉพาะทางที่เน้นการทำงานด้านเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม ประเมินสถานการณ์มลภาวะ ประเมินจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคจากมลภาวะทางอากาศ ใช้เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ในการออกมาตรการเด็ดขาดเพื่อลดการเจ็บป่วยของประชาชน ควบคู่กับการรักษาและดูแลผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบให้ได้รับการรักษาและกลับไปใช้ชีวิตปกติ     ทั้งนี้คลินิกมลพิษนี้เปิดให้บริการเป็นแห่งแรกในประเทศไทย เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนและตอบสนองนโยบายกระทรวงสาธารณสุขและกรมการแพทย์ อย่างไรก็ตามผลต่อสุขภาพจากมลภาวะทางอากาศอาจจะไม่สามารถวินิจฉัยเป็นรายคนได้ในปัจจุบัน คลินิกมลพิษจึงเน้นหนักในการให้ข้อมูล และประเมินสภาวะสุขภาพ รวมถึงติดตามผู้ป่วยเป็นระยะ โดยใช้เวลาหลายปี สิ่งที่บันทึกในประวัติคัดกรองและการตรวจพิเศษ จึงเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญมากเมื่อเกิดโรคให้เห็นชัดเจน เพื่อต่อยอดงานวิจัยและหาคำตอบเกี่ยวกับมลภาวะทางอากาศ เช่น ระยะเวลาในการได้รับมลพิษ การใช้หน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง ความรู้เรื่องโรคที่เกี่ยวข้องที่สามารถเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ การดำเนินงานคลินิกมลพิษในปีที่ผ่านมามีเครือข่ายคลินิกมลพิษโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ กทม. และโรงพยาบาลในพื้นที่เสี่ยง รวม 39 แห่ง และศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร อีกจำนวน 68 แห่ง


    นพ.สมบูรณ์ ทศบวร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี เปิดเผยว่า นอกจากโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ได้จัดตั้งคลินิกมลพิษแล้ว ยังได้จัดทำคู่มือปฏิบัติงานของคลินิกมลพิษ ประกอบด้วย โครงการจัดตั้งคลินิกมลพิษ แนวทางปฏิบัติตามขั้นตอน การให้คำแนะนำ การตัดสินใจในการส่งตรวจพิเศษแบบซักประวัติ และความรู้เรื่อง PM 2.5 แก่ประชาชน รวมทั้งจัดตั้งคลินิกมลพิษออนไลน์ www.pollutionclinic.com เพื่อให้ประชาชนได้ ทำการประเมินอาการที่เกิดขึ้นกับตัวเอง และรับทราบถึงคำแนะนำเบื้องต้นได้ทันที หากพบว่ามีความรุนแรงหรือมีความจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ โดยมีผู้เข้าชมเว็บไซต์จำนวน 9,794 ครั้ง และมีผู้ทำการประเมินตนเอง/ขอคำปรึกษาแพทย์คลินิกมลพิษออนไลน์ 145 ราย และปัจจุบันจากสถานการณ์โรคติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับอาการโรคทางเดินหายใจเช่นเดียวกับผลกระทบมลพิษ PM 2.5 โรงพยาบาลจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาให้มีการเชื่อมโยงตอบคำถามและให้ความรู้ผ่านเว็บไซด์คลินิกมลพิษออนไลน์ไปพร้อมกัน


    สำหรับการป้องกันคือ ทำให้ร่างกายแข็งแรง ป้องกันปอดเราโดยหายใจอากาศบริสุทธิ์ พยายามอยู่ในที่ซึ่งมี PM 2.5 น้อย หรือใช้เครื่องฟอกอากาศ พยายามหลีกเลี่ยงอย่าอยู่กลางแจ้งนาน ให้ทำงานสักระยะแล้วหลบเข้าในอาคาร การใส่หน้ากากจะทำให้อึดอัด โดยเฉพาะในสภาพอากาศร้อนยิ่งทำให้ไม่สามารถใส่หน้ากากได้นาน ขณะนี้หน้ากาก N95 เป็นหน้ากากที่ใช้ป้องกันได้ดีที่สุด แต่ในทางปฏิบัติไม่สามารถใส่ได้นาน เพราะจะอึดอัด อย่างไรก็ดีการใช้หน้ากากอื่นชั่วคราวก็ทำได้ โดยสังเกตอาการระคายเคือง แสบคอ มีเสมหะ ถ้าเป็นก็แสดงว่าหน้ากากไม่ได้ผล อาจจะต้องเปลี่ยนมาใช้หน้ากาก N95.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"