สนช.ชู3ยุทธศาสตร์แก้ปัญหา'คนกับลิง'ในพื้นที่วิกฤติ 12 จว.


เพิ่มเพื่อน    

14 พ.ค.61- พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการติดตามกลไกการปกป้องคุ้มครองสัตว์  กล่าวถึงรายงานผลการศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการปัญหาลิงในพื้นที่วิกฤติ ซึ่งคณะอนุกรรมการได้ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช รวมทั้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการศึกษาวิจัยในมิติต่างๆว่า ปัญหาพิพาทระหว่างคนกับลิง รวมทั้งความเดือดร้อนรำคาญที่เกิดจากลิงในปัจจุบัน  ได้แผ่ขยายไปในหลายพื้นที่มากกว่า 50 จังหวัดทั่วประเทศ แต่ในพื้นที่ที่ถือว่าอยู่ในขั้นวิกฤติและจำเป็นจะต้องมีการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยทันทีมีอยู่ทั้งสิ้น 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลพบุรี กระบี่ ชลบุรี ตรัง ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ภูเก็ต มุกดาหาร สตูล สระบุรี อำนาจเจริญ และเขตบางขุนเทียน กทม. 

พล.ต.อ.พงศพัศกล่าวว่า ในรายงานฉบับนี้ได้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวออกเป็น 3 ยุทธศาสตร์ 9 กลยุทธ์ และกิจกรรมหลักในด้านต่างๆ ที่แต่ละจังหวัดจะต้องนำไปเร่งรัดดำเนินการตามสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น  ภายใต้วิสัยทัศน์ ประชาชนสุขใจ ลิงปลอดภัย อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน เพราะการแก้ไขปัญหาลิงมีความจำเป็นต้องอาศัยการบูรณาการจากการทุกภาคส่วน ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีข้อสั่งการ เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.2559 เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ให้ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องร่วมกันแก้ไขปัญหาลิงที่จังหวัดลพบุรีเป็นแห่งแรก 

"จากการศึกษาเพิ่มเติมของคณะอนุกรรมการพบปัญหาพิพาทระหว่างมนุษย์กับลิงนั้น ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในจังหวัดลพบุรีเท่านั้น แต่ได้กระจายไปในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งพื้นที่ที่อยู่ในภาวะวิกฤติกระจายตัวอยู่ใน 12 จังหวัด  ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนรำคาญจากลิงอย่างต่อเนื่อง  รวมทั้งหลายฝ่ายยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคจากสัตว์สู่มนุษย์โดยเฉพาะจากการสัมผัสและการอยู่ใกล้ชิดกับลิง 

ปธ.อนุกรรมการติดตามกลไกการปกป้องคุ้มครองสัตว์ กล่าวว่า  ในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่วิกฤติทั้ง 12 จังหวัดคณะอนุกรรมการได้นำเสนอยุทธศาสตร์สำคัญขึ้น 3 ยุทธศาสตร์ เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการให้ได้ผลโดยเร็ว ได้แก่      ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการลิง ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการถิ่นที่อยู่อาศัยของลิง และ ยุทธศาสตร์การบูรณาการแก้ปัญหาลิง โดยในแต่ละยุทธศาสตร์จะประกอบ ด้วยกลยุทธ์และกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การควบคุมประชากรลิงด้วยการทำหมัน การฟื้นฟูระบบนิเวศเดิมให้ลิงสามารถอยู่ได้ในถิ่นฐานเดิม การจัดทำฐานข้อมูลในการดูแลสุขภาพและสวัสดิภาพลิง รวมทั้งการนำองค์ความรู้ในการลดปัญหาและข้อพิพาทเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบและนำไปปฏิบัติ เช่น การให้อาหารลิงในพื้นที่ที่กำหนดไว้เท่านั้น เป็นต้น  

"ในวันพุธที่ 16 พ.ค.นี้ จะมีการสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยศาสตราจารย์พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และ นายวัลลภ ตั้งคณานุรักษ์ ประธานคณะกรรมการติตามกลไกและพิจารณาปกป้องคุ้มครองสัตว์ จะเข้าร่วมสัมมนากับผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 12 จังหวัด รวมทั้งผู้บริหารของกรมอุทยาน สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมปศุสัตว์ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน สื่อมวลชน และประชาชนในพื้นที่ที่ประสบปัญหา เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในการนำแนวทางการบริหารจัดการปัญหาลิงในพื้นที่วิกฤติ ตามที่คณะอนุกรรมการได้จัดทำขึ้นไปปฏิบัติให้บังเกิดผลโดยเร็ว ก่อนที่ปัญหาพิพาทระหว่างคนกับลิง และปัญหาความเดือดร้อนต่างๆจะลุกลามขยายตัวออกไปจนไม่อาจควบคุมได้"ปธ.อนุกรรมการติดตามกลไกการปกป้องคุ้มครองสัตว์ กล่าว 
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"