วิกฤติเมืองพัทยาหนักแค่ไหน? ทิฟฟานี่ฯโอดปิดให้บริการครั้งแรก


เพิ่มเพื่อน    

(อลิสา พันธุศักดิ์)

      “จะเห็นได้ว่ามีความพยายามหาเงินต่างๆ ไปช่วยทุกฝ่าย แต่ฝ่ายที่ควรช่วยมากที่สุดต้องเป็นคนที่จะตายก่อน ตอนแรกจะเอาเงินไปช่วยเด็กจบใหม่ มาช่วยพนักงานเด็กจบใหม่ แต่ตอนนี้แทบไม่มีคนรับพนักงาน ทำไมคนที่อยู่ในธุรกิจแล้วไม่ช่วย? รัฐบาลจำเป็นที่ต้องช่วยเหลืออย่างเร็ว เพราะตอนนี้เหลือน้อยมากแล้วที่คุณต้องช่วย ถ้าสายเกินไปรัฐก็ต้องจ่ายเพื่อช่วยเรื่องคนตกงาน ว่างงาน ถูกเลิกจ้าง มันไม่สมเหตุสมผลเหมือนกัน เอาจริงๆ รัฐก็เหมือนเจ้าของกิจการเหมือนกัน อยู่ที่จะมองเหมือนเอกชนหรือเปล่า ตอนนี้ยิ่งใหญ่ยิ่งเจ็บ หลายธุรกิจหลายคนบอกว่าโชคดีที่ตัวเองไม่ใหญ่” 

 

        เมืองพัทยาเปรียบเสมือนจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั่วโลก เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยสีสันและสร้างความสุขให้ต่างชาติได้เข้ามาเยือนหลายล้านคนต่อปี แม้ว่าจะได้รับความนิยมจากนักเดินทางจำนวนมาก แต่ทว่าเมืองพัทยาต้องเจอกับปัจจัยลบหลายอย่างรุมเร้า ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงไปบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของค่าเงิน เศรษฐกิจของชาติต่างๆ และการแพร่ระบาดของโรค 

        ประการหลังดูเหมือนกำลังเป็นโจทย์หนักของผู้ประกอบการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากเดิมที่ต้องแข่งขันด้านราคากันอย่างรุนแรง เพื่อชิงมาร์เก็ตแชร์ในภาคการท่องเที่ยว ตอนนี้ชีพจรเมืองพัทยาสาหัสมากกว่าเดิม เพราะแทบไม่มีนักท่องเที่ยว ร้านค้า สถานบันเทิง โรงแรม ต่างเฝ้ารอคอยให้แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์เกิดขึ้นในเร็ววัน แต่กระนั้นก็ยังไม่มีใครสามารถการันตีได้ว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะสิ้นสุดลงเมื่อไหร่!

ปิดให้บริการครั้งแรกในรอบ 46 ปี

        นางสาวอลิสา พันธุศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทิฟฟานี่โชว์ พัทยา จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2563 บริษัทกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินงานมิสอินเตอร์เนชั่นแนลควีน แต่เนื่องจากเริ่มมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ต้องมีการปิดโรงละคร นับเป็นการปิดโรงละครครั้งแรกตั้งแต่ดำเนินธุรกิจมาเป็นระยะเวลา 46 ปี ซึ่งไม่เคยปิดมาก่อนเลย เดิมทีคาดการณ์กันว่าอาจต้องใช้เวลาสัก 3 เดือน สถานการณ์ก็น่าจะปรับตัวดีขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการวางแผนงานและหาแนวทางว่าควรจะต้องเดินไปทิศทางใด 

        สำหรับในช่วง 2 เดือนแรกบริษัทต้องเริ่มวางแผนใหม่ เนื่องจากเห็นว่าอาจต้องใช้ระยะนับปีเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยว จึงต้องมีการจัดตั้งงบประมาณเพื่อดูแลพนักงานให้ดีที่สุด เพราะการเป็นธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเมนต์ต้องพึ่งพาพนักงานจำนวนหลายร้อยคน พอสถานการณ์เริ่มคลี่คลายก็หวังว่าเดือนมกราคม 2564 บริษัทน่าจะกลับมาเปิดให้บริการอย่างเต็มที่อีกครั้ง ก็เตรียมตัวเป็นอย่างดี ควบคู่ไปกับการประเดิมทำจัดงานประกวดมิสทิฟฟานี่ยูนิเวิร์ส แต่ในครั้งนี้เป็นการเจาะกลุ่มลูกค้าคนไทย ก็ได้รับผลตอบรับดีเป็นอย่างมาก ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าคนไทยไม่สามารถเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศได้ ขณะเดียวกันการจะดูโชว์ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะดูได้ จึงเปิดให้บริการศุกร์และเสาร์ บริษัทได้วางแผนที่จะเปิดการแสดงช่วงปีใหม่ กำลังจะเริ่มทำการจองผ่านช่องทางออนไลน์ แต่พอมีการแพร่ระบาดอีกครั้งก็ต้องปิด

        “ในช่วงนั้นไม่สามารถจัดงานและอีเวนต์ต่างๆ ได้ ก็ต้องอดทนกันไป ที่สำคัญคือต้องดูแลพนักงานของบริษัท ส่วนธุรกิจโรงแรมปิดตั้งแต่ปีที่แล้ว ทำให้ต้องหันมาโฟกัสที่ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม สามารถช่วยพนักงานได้บ้าง ทุกคนทำงานเต็มที่ การมีอีกหนึ่งธุรกิจก็ยังพอเลี้ยงลูกน้องได้ เราคิดว่ามันก็ลำบากนะ สำหรับคนที่มีโรงแรมอย่างเดียว หรือ Attraction เดียวที่ไม่หันไปทางไหนได้ บางคนบอกให้คิดนอกกรอบ แต่ถามว่ากี่คนที่จะมีความเปลี่ยนแปลงไวได้ขนาดนี้ เราเป็นธุรกิจที่ขายอาหารได้ แต่สุดท้ายแล้วก็ยังแผ่วได้ เพราะทุกคนปรับตัวที่จะใช้เงินที่มีแบบจำกัดมาก

        เนื่องจากมีรายได้น้อย ทุกคนมาทำอาหารแบบลดแลกแจกแถม ต้นทุนไม่ได้ถูกลง แต่เงินในกระเป๋าของคนส่วนใหญ่ลดลง เรามีค่าใช้จ่ายขั้นต่ำเป็นแสนอยู่แล้ว ทั้งโรงละคร ค่าที่ดิน ค่าเช่า ที่ยังต้องจ่าย สิ่งที่เราไม่อยากให้เกิดคือนักแสดงลำบาก ทุกคนทำมาทั้งชีวิตเพื่อสิ่งนี้ เป็นการเรียนเพื่อเป็นมืออาชีพ ยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อว่าโรงละครต่างๆ ต้องมาเจอสถานการณ์เช่นนี้”

        ทั้งนี้ บริษัทมีพนักงานในเครือปัจจุบันประมาณ 400 คน ทั้งในกลุ่มธุรกิจโรงละครทิฟฟานี่โชว์ พัทยา, โรงแรมวู้ดแลนด์ โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ต, ร้านอาหารและเครื่องดื่มลา บาแกตต์ และไทยมาเช่ ซึ่งต้องปิดให้บริการไปเนื่องจากมีขนาดใหญ่ 

เสนอมาตรการอุ้มค่าแรงงาน

        นางสาวอลิสากล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาสมาคมโรงแรมไทยได้มีการนำเสนอมาตรการ Co-payment เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ต่อธุรกิจโรงแรม โดยจะเป็นการสนับสนุนเงินเดือนค่าจ้าง 50% ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการรักษาการจ้างงานเดิม เพื่อให้โรงแรมทุกแห่งทั่วประเทศสามารถรักษาพนักงานเดิมที่มีศักยภาพและมีประสบการณ์ในการทํางาน โดยรัฐบาลสนับสนุนเงินอุดหนุน เงินเดือนค่าจ้าง 50% ของอัตราเงินเดือนที่จ้าง โดยผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมจะต้องดําเนินกิจการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และพนักงานจะต้องอยู่ในระบบประกันสังคม

        “จะเห็นว่าได้มีความพยายามหาเงินต่างๆ ไปช่วยทุกฝ่าย แต่ฝ่ายที่ควรช่วยมากที่สุดต้องเป็นคนที่จะตายก่อน ตอนแรกจะเอาเงินไปช่วยเด็กจบใหม่ มาช่วยพนักงานเด็กจบใหม่ แต่ตอนนี้แทบไม่มีคนรับพนักงาน ทำไมคนที่อยู่ในธุรกิจแล้วไม่ช่วย? รัฐบาลจำเป็นที่ต้องช่วยเหลืออย่างเร็ว เพราะตอนนี้เหลือน้อยมากแล้วที่คุณต้องช่วย ถ้าสายเกินไปรัฐก็ต้องจ่ายเพื่อช่วยเรื่องคนตกงาน ว่างงาน ถูกเลิกจ้าง มันไม่สมเหตุสมผลเหมือนกัน เอาจริงๆ รัฐก็เหมือนเจ้าของกิจการเหมือนกัน อยู่ที่จะมองเหมือนเอกชนหรือเปล่า ตอนนี้ยิ่งใหญ่ยิ่งเจ็บ หลายธุรกิจหลายคนบอกว่าโชคดีที่ตัวเองไม่ใหญ่” 

ปัจจัยลบรุมเร้าเมืองพัทยา

        ส่วนสถานการณ์เมืองพัทยาก่อนการแพร่ระบาดก็ต้องบอกว่าซบเซา เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจแถบยุโรป แต่ก็มีเอเชียนมาร์เก็ตเข้ามาทดแทน ตอนนั้นก็น่ากลัวอยู่แล้วและคิดว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น แต่ก็ยังพอไปได้ บริษัทก็คิดหาวิธีอยู่ว่าจะไปทางไหน มองหาโอกาสใหม่ๆ ต้องปรับตัว มองหาลูกค้าระดับบน ลูกค้าที่ไม่ใช่กลุ่มทัวร์ ตอนนั้นเป็นนักท่องเที่ยวอิสระ นับว่ายังดีอยู่มาก หากเทียบกับธุรกิจที่พึ่งพาทัวร์มาตลอดชีวิต 

        ไม่มีใครคิดว่าจะต้องเจอโควิด! หลายธุรกิจเขา Settle เรื่องการท่องเที่ยว แน่นอนว่านักท่องเที่ยวไทยหรือไทยเที่ยวไทยอาจจะไม่ใช่กลุ่มที่ใหญ่พอ หลายๆ คนอาจจะเคยคิดว่าคนไทยจะเป็นเหมือนญี่ปุ่น คือมีการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ แต่ก็อาจจะยากสำหรับคนไทย เนื่องจากประชากรยังต้องมีภาระอีกเยอะ มีต้นทุนที่จะดูแลครอบครัวอีกเยอะ ค่าการศึกษา ค่าครองชีพต่างๆ ระบบต่างๆ ไม่เอื้ออำนวยให้เกิดการเท่าเทียม หากรัฐเห็นเป็นบริษัท ก็อาจจะต้องช่วยลดภาระของผู้คนเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่ใช่เป็นการเพิ่มภาระในการใช้จ่ายให้บุคลากรในประเทศ ส่วนตัวจึงมีความรู้สึกว่าค่าครองชีพของคนไทยยังไม่เหมาะกับการท่องเที่ยว เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ มากพออยู่แล้ว  

        หากจะให้เปิดประเทศ ก็มองว่าการเปิดประเทศจะทำให้ทุกคนลำบาก คนจะมองว่าคนในวงการท่องเที่ยวอยากให้เปิดประเทศ สิ่งที่รัฐต้องทำคือควบคุมและดูแลได้เต็มที่ จากนั้นจะทำอะไรก็ทำ แต่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่พวกเรา กลับกลายเป็นคนที่ควบคุมดูแลมีการเอาคนนอกประเทศเข้ามาแบบผิดกฎหมาย หากมองว่าไม่มีคนงานระดับล่างทำงานให้ ก็ต้องทำให้การเข้าเมืองถูกกฎหมาย เป็นอาชีพของเขา ผู้ประกอบการหรือเราๆ เองทำตามกฎ แต่เมื่อไหร่คนที่ไม่ทำตามระเบียบหรือกฎต่างๆ โดยเฉพาะรัฐที่ต้องรับผิดชอบ 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"