ปลัดศธ.เผยคุณสมบัติ "โรงเรียนดีในชุมชน รร.มัธยมดีสี่มุมเมือง"ต้องเป็นอย่างไร ?


เพิ่มเพื่อน    


9ก.พ.64-นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปลัด ศธ.) กล่าวถึงความก้าวหน้าและอุปสรรคของการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณภาพของชุมชน ว่า หลักการของการยกระดับโรงเรียนคุณภาพของชุมชนของแต่ละจังหวัด มีส่วนสำคัญ 3 ด้าน คือ การคัดเลือกโรงเรียนต้องมีพื้นที่ 14 ไร่ขึ้นไป เพื่อให้เพียงพอต่อการขยายตัวและสร้างอาคารเรียน หรือแหล่งเรียนรู้ ตั้งอยู่บนถนนหลักที่สามารถใช้บริการรถรับส่งนักเรียนได้อย่างสะดวก และเป้าหมายอาคารเรียนต้องมีไม่น้อยกว่า 30 ห้อง ๆ ละ 35 คน ซึ่งจะทำให้โรงเรียนคุณภาพของชุมชนหรือโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง มีจำนวนนักเรียนประมาณ 1,000 กว่าคน และไม่ควรเกิน 3,000 คน โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการสนับสนุนงบประมาณปี พ.ศ.2565 นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้รับทราบ ความก้าวหน้าและอุปสรรคของการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณภาพของชุมชน โดยผู้รับผิดชอบการดำเนินการในแต่ละจังหวัด ตามคำสั่ง ศธ. ที่ สพฐ.11/2564 เรื่อง การบูรณาการด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ด้วย

โดยนายอรรถพล ตรึกตรอง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (เลขาฯ กช.) ในฐานะรับผิดชอบจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า ขณะนี้จังหวัดกระบี่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการคัดเลือกโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายข้างต้นของ ศธ. ที่ต้องการสร้างโรงเรียนดี ๆ มีคุณภาพกระจายในภูมิภาค ไม่ต้องแย่งกันเข้ามาเรียนในโรงเรียนชั้นนำที่กระจุกตัวในเมืองใหญ่ และการกำหนดเป้าหมายของโรงเรียน ไม่ควรพิจารณาเฉพาะในพื้นที่ของจังหวัดตนเองเท่านั้น ต้องคำนึงถึงพื้นที่ตั้งของโรงเรียนในจังหวัดใกล้เคียงกันด้วย

ด้านน.ส.เจริญวรรณ หนูนาค รองเลขาธิการ ก.ค.ศ. ในฐานะรับผิดชอบจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ ปัญหาที่พบ คือ โรงเรียนประถมศึกษาบางแห่งยังไม่ทราบเป้าหมายที่ชัดเจนของโครงการ ที่ต้องเอาโรงเรียนเครือข่ายมาเรียนรวมเพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน และการเลือกโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ หากไม่ตรงกับเป้าหมาย ก็ยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ก่อนการเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณ

ด้านนายสุทิน แก้วพนา รองปลัด ศธ. ในฐานะรับผิดชอบพื้นที่จังหวัดลำปาง กล่าวว่า การลงพื้นที่ให้ความสำคัญกับเรื่องระบบฐานข้อมูล และนำ School Mapping ของทั้งจังหวัดมาดู เพื่อใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลในการพิกัดจุดตั้งของโรงเรียน การเชื่อมต่อ ที่จะช่วยให้เด็กในพื้นที่ทุกคน แม้ในพื้นที่ห่างไกล ได้มีที่เรียนอย่างมีคุณภาพมากที่สุดทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งใช้เป็นประโยชน์ในการจำแนกข้อมูลผู้เรียนได้ชัดเจนทุกระดับการศึกษา ทั้งอนุบาล-ประถม-มัธยม รวมทั้งโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาที่อาจต้องไปรวมกับโรงเรียนคุณภาพของชุมชนและโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง อีกเรื่องที่จังหวัดควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก คือ ต้องวางแผนจัดทำ Master Plan การพัฒนาโรงเรียนในปัจจุบันและอนาคตให้ชัดเจน ทำให้ดีที่สุด เพราะมีผลต่อความสำเร็จ เมื่อโรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแล้ว จะได้สง่างาม จูงใจให้นักเรียนเข้ามาเรียน
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"