20ก.พ.หนีไม่พ้นนองเลือด! 'ปธ.นปช.'บี้ผบ.ตร.รับผิดชอบกระทืบม็อบ


เพิ่มเพื่อน    

15 ก.พ. 64 - นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวในรายการลมหายใจพีซทีวี เวทีทัศน์ ด้วยใบหน้าและแววตาที่เต็มไปด้วยความซึมเศร้าจากเหตุการณ์ตำรวจทุบตีประชาชน และลากหน่วยแพทย์อาสาไปรุมกระทืบ ทำร้ายต่อหน้ากล้องโททัศน์สื่อมวลชนจำนวนมาก ระหว่างการชุมนุมของกลุ่มราษฎรเมื่อคืน (13 ก.พ.) ที่ผ่านมา

นายจตุพร กล่าวว่า เหตุการณ์เมื่อคืนนั้น เป็นอีกคืนหนึ่งที่ตนนอนหลับลำบากมาก เมื่อจุดแข็งของการชมนุมคือสันติวิธีถูกทำลายลง แล้วจะกลายเป็นจุดอ่อนทันที ปัญหาว่าใครทำลายสันติวิธี และเคยพูดถึงพวกมือที่สามมาเสมอในช่วงชุมนุม ดังนั้นจึงคาดการณ์ได้ว่า หลังจากนี้จะนำไปสู่อะไรขึ้น

อีกอย่าง เมื่อแกนนำราษฎร 4 คนถูกถอนประกัน ถูกขังคุกแล้ว และถ้าวันหนึ่งพนักงานอัยการส่งฟ้องแกนนำคนอื่นในข้อหาความผิดเดียวกัน มาตรการไม่ให้ประกันตัวคงถูกนำมาใใช้ รวมทั้งจากวันนี้ไปถึงวันที่ 20 ก.พ. นี้ ที่นัดชุมนุมกันอีกครั้ง จึงไม่รู้ว่าใครจะถูกฟ้องศาลกันบ้างและจะเหลือใครกันบ้าง 

"ภาพตำรวจทุบตีจะโดยเป็นหน่วยแพทย์อาสา และประชาชนก็ตาม เป็นภาพที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น ขณะเดียวกันภาพอีกภาพหนึ่ง ไม่รู้ว่าใครเป็นใครแล้ว ผมว่ามันเป็นปัญหา เรื่องอย่างนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ภาพการทุบตีอย่างน้อย 2 กรณี อาจจะมี 3 กรณีที่ตำรวจลงมือนั้น การแถลงข่าวของฝ่ายรัฐแทนที่จะปรักปรำผู้ชุมนุมแล้ว ฝ่ายรัฐควรตั้งกรรมการตรวจสอบเรื่องนี้อย่างเอาจริงเอาจัง เพราะการลากคนมาทุบ มากระทืบ ที่เรียกว่าประชาทัณฑ์นั้น มันไม่ควรจะเกิดขึ้นจากการกระทำของตำรวจ" นายจตุพร ระบุ

อีกทั้ง สิ่งที่รัฐบาลต้องกระทำคือการตั้งกรรมการตรวจสอบ ถือว่าเป็นการกระทำเกินกว่าเหตุ เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ส่วนมือโยนระเบิดปิงปองต้องมีการสอบสวนกัน หรือมือยิงที่ สน.นางเลิ้งก็ต้องตรวจสอบแต่ละกรณีไป แต่ถ้ากลไกรัฐและผู้ชุมนุมมาอธิบายในมิติเดียวแล้วจะไม่เห็นทั้งภาพ จึงควรมากางกันทั้งภาพเพื่อประโยชน์ทุกฝ่าย  เพราะการชุมนุมครั้งต่อไปในวันที่ 20 ก.พ.นั้น โรคแทรกจะมากมาย ซึ่งจะกลายเป็นชนวนสำคัญเมื่อสันติวิธีถูกทำลายแล้ว และมีเรื่องแปลกๆ ซ่อนอยู่อย่างมีนัยสำคัญ

“ในการชุมนุมของคนเสื้อแดงนั้นโรคแทรกมือที่สาม เท้าที่สี่ จะเกิดขึ้นในช่วงปลาย ซึ่งไม่รู้ว่าใครเป็นใคร และใครจะใส่เสื้อแดงไปทำอะไรก็ได้ แต่ในยุคนี้มีการปิดหน้าตาช่วงโควิดจึงยิ่งยากไปกันใหญ่ที่จะระบุว่าใครเป็นใคร ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ตัวแทนทั้งสองฝ่ายต้องคุยกันแล้วทำความจริงให้ปรากฎ เพราะครั้งต่อไปในอีก 7 วันข้างหน้าจะเกิดความสูญเสียที่ใหญ่กว่านี้ เมื่อคืนโชคดีที่ไม่มีคนตาย และไม่มีใครปรารถนาเช่นนั้น”

นายจตุพร กล่าวว่า รัฐต้องทำความจริงให้ปรากฎ และอย่ามีการให้ท้ายผู้ใต้บังคับบัญชา แม้ผู้ชุมนุมทำผิดกฎหมายอะไร ตำรวจก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเช่นกัน โดยตำรวจไม่มีสิทธิ์อะไรไปตั้งศาลเตี้ย หรือปฏิบัติตนพิพากษาด้วยการทำร้าย รุมกระทืบ รุมตีกันนั้น มันได้สะท้อนให้เห็นถึงความโกรธ ซึ่งเป็นเส้นแบ่งบางๆ ถ้าให้เดินกันต่อไป ตนว่าครั้งหน้าตะลุมบอนกัน แล้วจะเกิดโรคแทรกขึ้น

นอกจากนี้เหตุการณ์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. จะชี้อนาคตได้ทุกอย่าง ถ้าทั้งสองฝ่ายไม่ตั้งหลักกันนั้น การปฏิบัติของตำรวจนั้น พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ยังไม่แถลงมาตรการ อาจเป็นเพราะภาพมันชัด การลากมากระทืบต่อหน้ากล้องนั้นมันน่าสนใจ เพราะเป็นเรื่องต้องอ่านกันหลายชั้นเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. เต็มไปด้วยกองทัพสื่อมวลชน และประชาชนที่อยู่ในเหตุการณ์สามารถเป็นสื่อได้ ดังนั้นภาพนี้จึงมีนัยที่สำคัญที่สุด แต่ ผบ.ตร.ต้องก็แสดงความรับผิดชอบตรวจสอบ เพราะหลายเรื่องมีความสงสัยกันอยู่แล้ว ภาพมันตำตา 
อีกอย่าง ตนคาดว่าน้ำผึ้งหยดเดียวจะเกิดขึ้นแน่นอน และเรื่องนี้จะเป็นชนวนสำคัญ เพราะเป็นภาพที่ประชาชนยอมรับกันไม่ได้ และเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุอย่างที่ตำรวจไม่ควรกระทำ เพราะเป็นภาพที่กระแทกหัวใจของประชาชน เป็นภาพที่สะเทือนใจจึงเป็นสิ่งละเอียดอ่อน

“ผมไม่รู้ว่า ผบ.ตร.จะแสดงท่าทีในเรื่องนี้อย่างไร เพราะสิ่งนี้เป็นเหมือนการเอาน้ำมันราดเข้ากองไฟ เรื่องการทำร้ายกัน ทำเกินกว่าเหตุต้องมีคนรับผิดชอบ ไม่มีกฎหมายใดที่อนุญาตให้ตำรวจทำลายประชาชน หรือแพทย์อาสา หรือประชาชนจะไปทำร้ายตำรวจก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน เพราะไม่มีใครมีสิทธิ์จะไปทำร้ายกัน” 

นายจตุพร กล่าวว่า การต่อสู้เรียกร้องเป็นการแสดงจุดยืนทางการเมือง ความเชื่อการเมืองไม่จำเป็นต้องเห็นตรงกัน แต่ไม่จำเป็นต้องทำร้ายกัน หากไม่มีการดำเนินการอะไรแล้ว ตนว่าวันที่ 20 ก.พ. หนีไม่พ้นนองเลือด เนื่องจากอทั้งสองฝ่ายควบคุมกันไม่ได้และมีโรคแทรก ซึ่งไม่เคยมีใครป้องกันได้ในระหว่างชุมนุม

“บทเรียน 13 ก.พ.ถ้าไม่แก้ไขแล้ว ในวันที่ 20 ก.พ. ผมว่าเป็นจุดเปลี่ยน และระหว่างจากวันที่ 13 ก.พ. ถึงวันที่ 20 ก.พ. นั้น ถ้าอัยการทำเรื่องไปถึงศาลฟ้องแกนนำที่เหลืออยู่ และให้เหตุผลอันเดียวกันนั้น ผมว่าเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบาก และไม่ง่ายกับสถานการณ์อันนี้” 
รวมทั้ง เชื่อว่าการชุมนุมในวันที่ 20 ก.พ.นี้ ถ้าไม่แก้ไขเหตุการณ์วันที่ 13 ก.พ.ที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ว่าฝ่ายผู้ชุมนุมหรือตำรวจก็ตาม ย่อมเป็นจุดชนวนการนองเลือดมันก็คงจะเป็นความจริง เพราะเมื่อสันติวิธีถูกทำลาย แม้จะพยายามรักษาสันติวิธี แต่มีขบวนการแทรกที่เป็นความประหลาดกันอยู่ ดังนั้นทั้งสองมิติต้องได้รับการคลี่คลายคือ ตำรวจต้องถูกดำเนินคดี ส่วนคนที่ใช้ความรุนแรงก็ต้องถูกดำเนินคดี เป็นการตัดไฟตั้งแต่ต้นลม

นายจตุพร กล่าวว่า เมื่อภาพต่างๆเป็นพยานหลักฐานแล้ว อย่างไรก็หนีกันไม่ออก อย่าเถียงแค่เอาผลประโยชน์ทางการเมืองไปกันวันๆกันเลย เพราะหนทางข้างหน้ามันเปราะบาง ที่ตนต้องพูดเพราะไม่ต้องการให้เกิดปัญหาในการชุมนุมวันที่ 20 ก.พ. เนื่องจากเป็นห่วงในชะตากรรมของพี่น้องประชาชน และไม่ต้องการเห็นใครมาบาดเจ็บ ล้มตายกันอีกแล้ว

“ต้องยอมรับความเป็นจริงว่า แรงกระเพื่อมระหว่างเมียนมากับไทยเป็นความสัมพันธ์กัน เพราะการขยับชุมนุมของคนเมียนมาได้สร้างแรงบันดาลใจขึ้น ถ้าการชุมนุมครั้งหน้า ทั้งสองฝ่ายไม่คิดออกแบบวางแผนรับมือร่วมกันแล้ว ครั้งหน้าจะเป็นปัญหาจริงๆ ดังนั้นตำรวจที่ทำร้ายแพทย์อาสาต้องถูกดำเนินคดี และคนที่ทำร้ายตำรวจบาดเจ็บต้องถูกดำเนินคดีเช่นเดียวกัน” ประธาน นปช. ระบุ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"