ข่าวดี !จุฬาฯ วิจัยสารสกัดสมุนไพรกว่า 60 ชนิด  มาเป็นยารักษาโควิด 19  


เพิ่มเพื่อน    

 

4 มี.ค.64 - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนา นวัตกรรมยาสมุนไพรรักษา โควิด-19 งานวิจัยสมุนไพรมากกว่า 60 ชนิด เพื่อการค้นหาสารตั้งต้นสำหรับผลิตยาที่สามารถนำมารักษาโรคติดเชื้อ โควิด-19 ในอนาคตผศ.ดร.ธัญญดา รุ่งโรจน์มงคล ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ให้ข้อมูลการวิจัยสมุนไพรที่สามารถนำมารักษาโควิด-19 ว่า สารเคมีจากสมุนไพรมีโครงสร้างซับซ้อนและมีโอกาสพัฒนาเป็นยาได้มากกว่าโครงสร้างทั่วไป แต่ต้องมีการปรับโครงสร้างเพื่อให้เพิ่มประสิทธิภาพ ลดความเป็นพิษ และเพิ่มความคงตัวจนสามารถใช้เป็นยาได้ โดยในการวิจัยครั้งนี้ใช้ทั้งสารที่มาจากยาแผนปัจจุบันที่มีอยู่เดิม และสารสกัดสมุนไพรที่ได้ศึกษาเพิ่มอีกกว่า 60 ชนิด ที่มีความเป็นไปได้ในการพัฒนาเป็นยา อาทิ สมุนไพรในกลุ่มสารไบโอฟลาโวนอยด์ แต่สมุนไพรกลุ่มนี้ในทางเภสัชวิทยา จะไม่แนะนำเพราะจะไม่มีความจำเพาะกับโปรตีนใดๆ ในทางกลับกันเราได้นำสมุนไพรกลุ่มนี้บางชนิด มาปรับปรุงโครงสร้าง ให้เกิดเป็นโครงสร้างใหม่ อาทิ สาร Baicalein ซึ่งเป็นสารสกัดที่ได้มาจากเปลือกของต้นเพกา โดยได้มีศึกษาวิจัยจากที่อื่นๆ ที่มีการตีพิมพ์แล้ว แต่สิ่งที่เราทำคือการต่อยอดในการนำไปปรับปรุงโครงสร้างให้มีความจำเพาะเพื่อให้มีการออกฤทธิ์ในการจับตัวและยับยั้งกับ"โปรตีเอส"ซึ่งเป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่เรียกรวมกันว่า เอ็นไซ์ โปรตีเอส เป็นสารคงที่  ของไวรัสโควิด 19  ที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อย มากกว่าโปรตีนชนิดอื่น ที่อยู่ในไวรัสโควิด ซึ่งถ้าหากหาสมุนไพรหรือยายับยั้งโปรตีเอสได้ ไม่ให้กระจายเชื้อได้ดี ก็จะรักษาอาการได้  ซึ่งสารที่น่าสนใจที่สุดในงานวิจัย คือ สารลูติน ที่เป็นสารสกัดจากผิวเปลือกส้ม 

“ซึ่งสารที่ได้จากสมุนไพรดังกล่าว เราจะมีการทดลองใช้กับเป้าหมายของเราคือ เอนไซม์ โปรตีเอส ซึ่งเป็นหนึ่งในวงจรชีวิตของเชื้อไวรัสโควิด-19 จะมีหน้าที่ในการตัดโพลีเปปไทด์ และยังสามารถช่วยให้ไวรัสแบ่งตัวได้ดี อีกทั้งยังเป็นโปรตีนที่มีความคงที่ มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างน้อย ดังนั้น หากเราสามารถหายาหรือสมุนไพรที่ยับยั้งการสร้างโปรตีเอสได้ ก็อาจจะเป็นการค้นพบสมุนไพรที่ต้านเชื้อโควิด-19 ด้วย โดยได้มีการศึกษาทางเคมีทางคอมพิวเตอร์ โดยการนำสารสมุนไพรมาออกแบบโครงสร้างให้สามารถจับโปรตีเอสได้ดี เข้าสู่การทดลองในห้องปฏิบัติการต่อไป” ผศ.ดร.ธัญญดา กล่าว 


ศ.ร.ต.อ.หญิง ภญ.ดร.สุชาดา สุขหร่อง ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ กล่าวเสริมว่า สมุนไพรในกลุ่มสารไบโอฟลาโวนอยด์ เป็นสารในสมุนไพรที่สร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันตัว เพราะพืชเคลื่อนที่ไม่ได้ หากสัตว์มากินก็เป็นพิษและเสียชีวิต หากเราไปเด็ดลำต้นของพืชทำให้เกิดแผล สารชนิดนี้จึงช่วยในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียให้ ซึ่งจะพบในสมุนไพรหลายชนิด การค้นหาศึกษาสมุนไพรนับว่ามีโอกาสอย่างมากที่จะนำสารตั้งต้นของสมุนไพรมาดัดแปลง ในการพัฒนาเป็นยารักษาต่อสู้กับไวรัสโควิด- 19    ซึ่งขั้นตอนการพัฒนายาจากสมุนไพรไม่ได้ง่ายแต่ก็ไม่ยากเกินไป ทั้งนี้เพื่อให้ยาที่ผลิตออกมามีคุณภาพ มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ


ด้าน ดร.กิตติคุณ วังกานนท์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงในขั้นตอนของการนำสารสมุนไพรมาทดลองกับโปรตีเอสว่า ยาที่ยับยั้งการทำงานของโปรตีเอส อาจเป็นหนทางในการป้องกันและรักษาโรคโควิด-19 ควบคู่ไปกับวัคซีน โดยความรู้ก่อนหน้าจากโรค SARS และ MERS บ่งชี้ว่าโปรตีเอส เป็นเป้าหมายสำหรับการพัฒนายาที่ดี ในปัจจุบันบริษัทยา เช่น Pfizer ก็กำลังพัฒนายาเพื่อยับยั้งการทำงานของโปรตีเอส  ซึ่งห้องปฏิบัติการของจุฬาฯ สามารถสังเคราะห์โปรตีเอสเองได้แล้ว  และนำไปทดสอบกับสารสกัดสมุนไพร เพื่อยับยั้งโปรตีเอส ซึ่งพบว่าได้ผลน่าพอใจ  สมุนไพรหลายชนิดสามารถยับยั้งโปรตีเอสได้ นอกจากนั้น เรายังสามารถหาโครงสร้างสามมิติของโปรตีเอสได้ ซึ่งจะทำให้เราทราบถึงกลไกการทำงานในระดับโมเลกุลและสามารถพัฒนายาที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น 

ดร.กิตติคุณ กล่าวต่อว่า คณะวิจัยใช้ยีนของโปรตีเอสที่สังเคราะห์ขึ้นมา โดยวิธีการทางเคมี แล้วนำไปใส่ในเชื้อแบคทีเรียทำให้สามารถผลิตโปรตีเอสได้เป็นจำนวนมาก จนสามารถนำมาทดสอบกับยาได้ โดยเทคนิคนี้ทำให้รู้ว่ายาตัวไหนที่น่าจะจับกับโปรตีเอสตัวนี้ได้ ไม่เพียงแต่การทดสอบทางคอมพิวเตอร์ แต่สามารถทดสอบจริงในห้องปฏิบัติการได้ด้วย   ซึ่งจะช่วยย่นระยะเวลาในการหายารักษาโรคโควิด-19 ซึ่งปกติใช้เวลานานถึง 10 ปี หรืออาจจะเร็วกว่านั้น ซึ่งในขณะนี้ยังคงมีกาคทดลองเพื่อให้ได้ประสิทธิผลก่อนนำไปทดสอบในสัตว์ต่อไป

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"