อบรมพระนิสิตเมียนมา ลุย 6 พื้นที่เสี่ยง ให้ความรู้โควิด-19


เพิ่มเพื่อน    

 

จับมือด้วยกัน ร่วมสร้างสุขภาวะแรงงานต่างชาติที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระลอกใหม่ สสส.ผนึก สช. สถานีไทยพีบีเอส และภาคีสุขภาพพระสงฆ์ จัดอบรมพระนิสิตชาวเมียนมา 50 รูป ดึงทักษะเด่นด้านภาษา ช่วยเป็นล่าม-ทำคลิป-ลงพื้นที่ รุกงานสร้างความรอบรู้สุขภาพช่วงโควิด-19 ระลอกใหม่ พร้อมให้กำลังใจแรงงานชาวเมียนมาสู้ต่อ ตั้งเป้า 6 พื้นที่เสี่ยง บางขุนเทียน-บางบอน-ภาษีเจริญ-บางแค-จอมทอง-หนองแขม

            

ขณะนี้มีแรงงานเมียนมามากกว่า 4 ล้านคน ออกไปทำงานในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ในจำนวนนี้มีจำนวน 2 ล้านคน ทำงานอยู่ในเมืองไทย โดยเฉพาะแรงงานด้านประมงและรับเหมาก่อสร้าง สถิติกระทรวงแรงงานมีแรงงานต่างด้าวถูก กม. 1.3 ล้านคน เป็นแรงงานพม่า 82% หรือ 1 ล้านคน ยังมีแรงงานที่หลบหนีเข้าเมืองอย่างผิด กม.หลบซ่อนอยู่ในเมืองไทย แรงงานพม่ามากที่สุดอยู่ จ.ระนอง ได้รับการตั้งฉายานามว่าเป็น จ.ของพม่าแล้ว องค์กรเครือข่ายสิทธิแรงงานเมียนมามีการเคลื่อนไหว ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไว้รัสโควิด-19 ในเมียนมาเข้าสู่ภาวะวิกฤติ มียอดผู้ติดเชื้อสูงถึงหลักแสนคน มียอดผู้เสียชีวิตหลักสองพันคน

 

มจร.ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กระทรวงสาธารณสุข สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (ThaiPBS) กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (MWG) และกรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรม “อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาพระนิสิตจิตอาสาเพื่อสร้างเสริมฟื้นฟูสุขภาวะแก่แรงงานต่างชาติที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระลอกใหม่” โดยมีพระสงฆ์ พระนิสิตเข้าร่วม 50 รูป เมื่อเร็วๆ นี้ ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

 

พระเทพวัชรบัณฑิต, ศ.ดร.อธิการบดี มจร. กล่าวว่า มจร.มีความตระหนักเป็นอย่างดีว่าปัญหาการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานข้ามชาติในปัจจุบันนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อวันที่ 25 มกราคม ได้มีการหารือร่วมกับ สสส. สช. และภาคีสุขภาพพระสงฆ์ ถึงแนวทางความร่วมมือการสื่อสารและช่วยเหลือแรงงานเมียนมา ซึ่งมีมติเห็นชอบการดำเนินงานใน 4 ข้อ ดังนี้

 

1.สช.จะเป็นกลไกประสานหน่วยงานภาคีต่างๆ สนับสนุนให้พระนิสิตเมียนมามีบทบาทช่วยเหลือ 2.สสส.สนับสนุนการจัดอบรมพระนิสิตเมียนมาให้มีความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพ โดยเฉพาะการป้องกันโควิด-19 3.สสส. ThaiPBS องค์กรพัฒนาเอกชน ร่วมกับพระนิสิต สร้างเครือข่ายการสื่อสาร และผลิตสื่อ และ 4.ให้พระนิสิตเมียนมาช่วยสื่อสารความรู้ความเข้าใจต่อแรงงานเมียนมาให้มีความรู้เกี่ยวกับโควิด-19 ขณะนี้พระนิสิตเมียนมา 50 รูป พร้อมที่จะเข้ามาช่วยเหลือด้านการสื่อสาร สร้างความรู้ด้านสุขภาพและให้กำลังใจแรงงานชาวเมียนมาด้วยกันเป็นอย่างมาก

 

 

นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เข้ามามีบทบาทในฐานะหน่วยงานกลางสานพลังความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงพระนิสิตชาวเมียนมา เพื่อช่วยเหลือด้านการสื่อสาร เป็นที่ปรึกษา (Counsellor) และผู้นำทางความคิด (Influencer) ให้กับแรงงานชาวเมียนมา อันจะเป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญในการเฝ้าระวัง ช่วยเหลือ และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ โดยเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ได้หารือการทำงานพระนิสิตช่วยเหลือแรงงานเมียนมาร่วมกับ กทม. ซึ่งมีข้อสรุปบทบาทพระนิสิตเมียนมา 3 ข้อ คือ

 

1.ช่วยเป็นล่ามแปลภาษาสอบสวนโรคกรณีพบผู้ติดเชื้อ ด้วยการคุย 3 สาย และการร่วมทำ Timeline 2.ช่วยสื่อสารให้ความรู้การป้องกัน ดูแลสุขภาพกับแรงงานเมียนมา และ 3.ลงพื้นที่ให้กำลังใจ ข้อแนะนำ คำปรึกษา ช่วยเหลือด้านคุณภาพชีวิต (อาหาร) ตลอดจนกิจกรรมด้านจิตใจ โดยมีแนวทางการทำงาน คือ 1.พระนิสิตร่วมกันผลิตสื่อให้กับแรงงานเมียนมาเป้าหมาย โดยให้ความรู้ด้านโควิด-19 ผนวกกับความรู้ทางธรรมะ 2.ลงพื้นที่ที่มีแรงงานเมียนมาจำนวนมาก และพื้นที่วัดที่แรงงานเมียนมานิยมไปทำบุญ จำนวน 6 เขต ได้แก่ บางขุนเทียน (วัดพรหม) บางบอน ภาษีเจริญ (วัดรางบัว/วัดเมืองมะริ) บางแค (วัดสิงห์) จอมทอง (วัดสิงห์) หนองแขม (วัดหนองแขม) และ 3.เชื่อมกลไกการทำงานของเครือข่าย โดยร่วมกับมหาเถรสมาคมจัดประชุมออนไลน์กับวัดในพื้นที่

 

 

ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า สสส.ให้ความสำคัญกับการลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นมากกับชาวเมียนมาในช่วงโควิด-19 ระลอกใหม่ นอกจากนั้นประเทศไทยมีข้อจำกัดเรื่องการสื่อสารระหว่างบุคลากรชาวไทยและแรงงานชาวเมียนมา โดยเฉพาะการทำความเข้าใจในเรื่องการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องตามมาตรการของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และการฟื้นฟูเยียวยาจิตใจ

 

สสส.ร่วมกับภาคีพระสงฆ์ ที่ถือเป็นภาคีสำคัญในการผลักดันให้เกิดสังคมสุขภาวะ ได้สนับสนุนจัดอบรมการผลิตสื่อที่จะช่วยสร้างความเข้าใจเรื่องโควิด-19 โดยเน้นผลลัพธ์ 2 ประการ คือ 1.สามารถผลิตเป็นคลิปวิดีโอสั้นเพื่อใช้สื่อสารได้ด้วยตนเอง 2.มีช่องทางการเผยแพร่ขั้นพื้นฐานทางสื่อสังคมออนไลน์ อาทิ ยูทูบ เฟซบุ๊ก ให้พระสงฆ์สามารถเป็นที่พึ่งส่งต่อกำลังใจแก่แรงงานชาวเมียนมา ด้วยความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพ มาตรการการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรคที่สอดคล้องกับมาตรการรัฐและนโยบายที่ประเทศไทยวางไว้ และเพื่อสนับสนุนให้พระสงฆ์เข้ามามีส่วนร่วมช่วยเหลือนโยบายภาครัฐ ทั้งเรื่องการสื่อสารและเยียวยาด้านจิตใจแก่แรงงานเมียนมาในประเทศไทย

 

 

สสส. -Chula UDC เปิดตัวหลักสูตรออกแบบที่เป็นมิตรรองรับสังคมสูงวัย

 

ข่าวดีสำหรับผู้ดูแลผู้สูงวัย คนพิการแบบมืออาชีพ รองรับเมืองไทยมีผู้สูงวัยติดอันดับ 2 ของอาเซียน สสส.ร่วมกับ Chula UDC เปิดตัว Universal Design Academy หลักสูตรอบรมการออกแบบเพื่อทุกคนเต็มรูปแบบหลักสูตรแรก ในรูปแบบ Hybrid เสริมความรู้ ความเข้าใจ ในการออกแบบด้วยการเรียนรู้ตลอดชีวิต รับมือสังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ ขานรับกฎหมายสิ่งอำนวยความสะดวกคนพิการฉบับใหม่

 

สถานการณ์ประชากรโลกปี 2558 จำนวน 7,349 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้สูงอายุ 901 ล้านคน หรือร้อยละ 12 ของประชากรทั้งหมด อายุ 60 ปีขึ้นไป 901 ล้านคน หรือ 12% อายุ 15-19 ปี 4,533 ล้านคน (62%) อายุ 0-14 ปี 1,916 ล้านคน หรือ 26% ทั้งนี้ ประชากรผู้สูงวัยในอาเซียนในปี 2558 อาเซียนมีประชากรทั้งหมด 633 ล้านคน ในจำนวนนี้มีผู้สูงอายุ 59 ล้านคน (ร้อยละ 9) จำนวน 3 ประเทศที่เข้าเกณฑ์สังคมผู้สูงวัยคือ

1.ประเทศสิงคโปร์ 18% 2.ประเทศไทย 16% 3.ประเทศเวียดนาม 10% ส่วนประเทศที่มีแนวโน้มสังคมผู้สูงวัยมาเลเซีย, พม่า 9% บรูไน, อินโดนีเซีย 8% ฟิลิปปินส์ ติมอร์-เลสเต กัมพูชา 7% ลาว 6%

 

 

ประชากรสูงวัยในประเทศไทยปี 2548 ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัย โดยมีสัดส่วนประชากรผู้สูงวัยถึงร้อยละ 10 ปี 2558 ประเทศไทยมีประชากรทั้งหมด 65.1 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้สูงอายุ 11 ล้านคน หรือร้อยละ 16 ปี 2564 ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ 20% ปี 2574 ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด 28% โครงสร้างอายุของประชากรที่เปลี่ยนไปนี้เท่ากับเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างของสังคมไทยโดยรวม เมื่อจำแนกประเภทผู้สูงอายุ พบว่ามีผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่ดูแลตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งผู้อื่นร้อยละ 85.3 ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 60-69 ปี ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งผู้อื่นในบางกิจกรรมของกิจวัตรประจำวันร้อยละ13.8 ส่วนใหญ่อยู่ในวัยมากกว่า 80 ปี ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นทั้งหมดร้อยละ 1 ส่วนใหญ่อยู่ในวัยมากกว่า 80 ปี ผู้สูงอายุในวัยปลายอายุมากกว่า 80 ปี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สะท้อนถึงการเพิ่มของประชากรในวัยพึ่งพิงทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ การมีอายุยืนยาวขึ้นตามมาด้วยโรคภัยไข้เจ็บเรื้อรังยาวนานขึ้น

 

ข้อที่น่าสังเกต มีผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวลำพังร้อยละ 8.6 และร้อยละ 17.6 อยู่ลำพังกับคู่สมรส ทั้ง 2 กลุ่มจัดเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีความเปราะบางต่อปัญหาต่างๆ สัดส่วนประชากรวัยทำงาน 2 คนต่อการดูแลผู้สูงอายุ 1 คน และประชากรวัยเด็กอีก 1 คน ทำให้ครอบครัวปัจจุบันและครอบครัวใหม่ในอนาคตประสบกับความเครียดจากค่าครองชีพและหน้าที่ดูแลคนในครอบครัวที่เพิ่มขึ้น

            

 

ภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. กล่าวว่า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน (Chula UDC) และภาคีเครือข่าย จัดงาน Universal Design Academy สานพลังสร้างความเข้าใจกฎหมายเพื่อคนพิการและผู้สูงอายุ ภายใต้โครงการพัฒนานวัตกรรมสภาพแวดล้อมสังคมสูงวัย ผ่านหลักสูตรอบรมการออกแบบเพื่อทุกคน

 

จากสถิติในปี 2563 พบว่า เมืองไทยมีผู้สูงอายุที่อายุ 60 ปีขึ้นไป กว่า 13 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 16.73 ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งเข้าสู่สังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์แล้ว ขณะที่จำนวนคนพิการมีแนวโน้มอาจเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งมีอยู่กว่า 2 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 3.09 ของประชากรทั้งประเทศ การออกแบบเพื่อผู้สูงอายุ คนพิการและคนทุกคน จึงควรเอื้อกับชีวิต ไม่ควรถูกมองข้ามในสังคม

 

“ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนชัดว่า การเตรียมความพร้อมเรื่องออกแบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ที่อยู่อาศัย สถานพยาบาล สถานที่ท่องเที่ยว ห้างสรรพสินค้า สถานศึกษา ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ทางเดินเท้า สะพานลอย ระบบบริการและเทคโนโลยี ฯลฯ ให้รองรับการใช้ชีวิตของทุกคนเป็นสิ่งสำคัญ หลักสูตรอบรม Universal Design Academy มีวัตถุประสงค์สร้างองค์ความรู้ให้กับผู้ที่เข้ามาอบรม ได้นำไปประยุกต์ออกแบบพื้นที่เพื่อทุกคนได้ตรงจุด จนกลายเป็นนวัตกรรมที่เป็นต้นแบบจุดประกายให้ผู้ที่พบเห็นนำไปปฏิบัติตามในระยะยาว สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสถาปนิก ผู้ออกแบบ เจ้าของโครงการอสังหาริมทรัพย์ต้องเห็นคุณค่าความปลอดภัยในชีวิตคนพิการและผู้สูงอายุ โดยเริ่มจากการวางผังอาคารและพื้นที่สาธารณะโดยรอบ ที่รองรับคนทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียมกัน” ภรณีกล่าว

 

รองศาสตราจารย์ไตรรัตน์ จารุทัศน์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน กล่าวว่า การออกแบบเพื่อทุกคน หรือ Universal Design เป็นการออกแบบตามหลักแนวคิดสากลที่องค์การสหประชาชาติ หรือ United Nations (UN) ต้องการส่งเสริมให้ทุกคนเข้าถึงสิทธิและได้รับประโยชน์อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมตามหลักสิทธิมนุษยชนโดยที่ไม่ถูกเลือกปฏิบัติ แม้ว่าจะมีสถานะเป็นคนพิการหรือผู้สูงอายุ

 

 

ล่าสุดกรมโยธาธิการและผังเมืองเตรียมประกาศเรื่องมาตรฐานสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนพิการฉบับใหม่ ซึ่งมีรายละเอียดที่รัดกุมเข้มงวดมากขึ้น จึงเป็นโอกาสสำคัญที่หลักสูตร Universal Design Academy จะสร้างความเปลี่ยนแปลง กระตุ้นให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบอาคาร โครงสร้างพื้นฐาน หันมาสนใจเรื่องกฎหมาย ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับการเลือกใช้วัสดุ และปรับพื้นที่ให้ทุกคนเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม

 

“หลักสูตรนี้เราวางการเรียนการสอนเป็นรูปแบบ Hybrid มีทั้งเรียนในห้องและเรียนออนไลน์ได้ มีหลากหลายอาชีพ ได้แก่ สถาปนิก วิศวกร ผู้รับเหมา อาจารย์ นิสิต นักศึกษา แพทย์ ทันตแพทย์ ผู้ดูแลอาคารของทางราชการ ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์เพื่อผู้สูงอายุและคนพิการ ฯลฯ ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสมัครรุ่นต่อไป สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : Chula.UDC หรือ โทร.09-2518-1301, 0-2218-4354

อยากให้ทุกคนมาร่วมกันขับเคลื่อนเรื่องนี้สู่นโยบายระดับชาติที่จับต้องและเข้าถึงได้ ลดความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมในสังคม” รศ.ไตรรัตน์กล่าว

 

Facebook : Chula.UDC.แบบ 360 โดย รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ แนวทางการปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับ Universal design อุปกรณ์แบบต่างๆ ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน ธนาคารอุปกรณ์ : ไม้เท้า ราวจับ รถเข็นช่วยเดิน การให้คำปรึกษา คำแนะนำปรับปรุงบ้าน ศูนย์รวบรวมงานวิจัยและนวัตกรรม 

 

ห้องครัว ความสูงเคาน์เตอร์ 80 ซม. พื้นด้านล่างโล่ง 70 ซม. เพื่อให้รถวีลแชร์สามารถเข้าใช้งานในพื้นที่ได้ ปลั๊กไฟควรมีสวิตช์ปิด-เปิดเพื่อป้องกันการกระชากตอนเสียบปลั๊ก ก๊อกน้ำแบบปัดหรือแบบก้านโยก ชั้นวางของควรติดตั้งในระยะที่สามารถเอื้อมหยิบของได้ง่าย ไม่อยู่สูงจนเกินไป

 

ห้องน้ำ อ่างล้างหน้าควรเป็นแบบแขวน หรือแบบตรึงเคาน์เตอร์สูงจากพื้น 80 ซม ด้านล่างโล่ง ติดตั้งราวจับข้างอ่างล้างหน้า ก๊อกน้ำแบบปัดหรือแบบก้านโยก มีพื้นที่ว่างภายในห้อง ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 1.50 ม. ติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน ราวจับที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุควรมีลักษณะกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-4 ซม. หรือ 1.5 นิ้ว จับได้แน่น กำได้พอดีมือ ติดตั้งราวจับจากผนังไม่น้อยกว่า 5 ซม. ฝักบัวปรับระดับได้ ห้องน้ำควรมีระบบระบายอากาศ เพื่อลดเชื้อโรค เชื้อรา ห้องน้ำควรแห้งตลอดเวลา น้ำไม่ขังทำให้พื้นลื่น

 

ส่วนอาบน้ำ ผู้สูงอายุควรใช้เก้าอี้นั่งอาบน้ำ เพื่อความปลอดภัย ความสูงของก๊อกฝักบัวสูง 90-120 ซม. ฝักบัวมีราวปรับระดับความสูงได้ ก๊อกฝักบัวเป็นแบบปัด เปิด-ปิดได้ง่าย ห้องน้ำควรอยู่ใกล้กับห้องนอน พื้นห้องน้ำต้องใช้วัสดุที่ไม่ลื่น ภายในห้องน้ำไม่ควรมีพื้นต่างระดับกับธรณีประตู พื้นเรียบไม่มี step ระบายน้ำได้ด้วย มีรางน้ำ สีของพื้น ผนังต้องมีความแตกต่างกัน ประตูเป็นแบบบานเปิดออกสู่ภายนอก หรือแบบบานเลื่อนเปิดได้กว้างไม่น้อยกว่า 90 ซม. มีสุขภัณฑ์และอุปกรณ์ที่เหมาะสม

 

โถส้วมควรใช้ชนิดนั่งราบแบบฟลัชแทงก์สูง 45 ซม. แบบที่มีหม้อน้ำเป็นพนักพิงและที่ปล่อยน้ำเป็นแบบก้านโยก ความสูงของโถส้วมไม่ควรจะสูงหรือเตี้ยจนเกินไป ติดตั้งราวจับบริเวณใกล้โถส้วมสูงจากพื้น 70 ซม. เพื่อช่วยพยุงตัว ราวจับข้างชักโครกอีกด้านเป็นราวจับแบบพับเก็บได้ในแนวดิ่ง เพื่อช่วยพยุงตัว สูงจากพื้น 70 ซม. ติดห่างจากโถส้วม 15-20 ซม. อ่างล้างหน้า เก้าอี้นั่งอาบน้ำ และราวจับ

 

ปัญหาอุบัติเหตุมักจะเกิดขึ้นภายในห้องน้ำที่บ้าน ควรติดตั้งลูกบิดประตูห้องน้ำแบบที่คนภายนอกสามารถเปิดประตูเข้ามาเพื่อช่วยเหลือได้เมื่อมีเหตุฉุกเฉิน ประตูบานเลื่อน กระจกฝ้า การจัดห้องให้เหมาะสมกับผู้สูงวัย มีความสะดวก ปลอดภัย กับผู้ใช้งาน 

 

ห้องนอนก็เป็นอีกห้องหนึ่งที่เกิดอุบัติเหตุได้บ่อยกับผู้สูงวัย เนื่องจากเป็นห้องที่มืด เพื่อให้นอนหลับได้ดี สวิตช์ไฟฟ้าภายในห้องนอนควรอยู่ใกล้มือ ไม่ใช่อยู่ใกล้ประตู ซึ่งจะต้องเดินไกลกว่าจะไปถึง มีโอกาสที่จะสะดุดหกล้มลงได้ เพราะจะมีการวางหนังสือ เก้าอี้ อีกทั้งแสงสว่างก็ไม่เพียงพอ

 

 

หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องกับการพิทักษ์คุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ

 

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นกระทรวงหลักที่ให้การช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ได้รับความเดือดร้อนและได้รับอันตรายจากการถูกกระทำรุนแรง หรือถูกแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบด้วย กม. หรือถูกทอดทิ้ง มีศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 ติดต่อภายในเวลาราชการ ศูนย์เฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์ เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ อาสาสมัคร 40,000 คน มีแผนการพัฒนาต้นแบบด้านการให้ความรู้ ถอดบทเรียนกลุ่มอาสาสมัครที่มีศักยภาพ ให้ความรู้อาสาสมัครในการพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ

 

กระทรวงสาธารณสุข มีศูนย์พึ่งได้ รับเรื่องราวร้องทุกข์และให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน การให้บริการแจ้งเหตุสายด่วน หมายเลข 1169 ตลอด 24 ชม. สายด่วนกรมสุขภาพจิตให้บริการปรึกษาตลอด 24 ชม.ทั่วประเทศไทย สายด่วน 1669 ฮอตไลน์คลายเครียด

 

กระทรวงมหาดไทย ให้ความช่วยเหลือด้านความปลอดภัย สวัสดิภาพแก่ประชาชน และผู้สูงอายุ โดยมีศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ กองบัญชาการตำรวจนครบาล เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุด่วน ฯลฯ ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก เยาวชน สตรี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน สายด่วนหมายเลข 1192

 

กระทรวงแรงงาน ส่งเสริมการสร้างอาชีพให้แก่ผู้สูงอายุ เพื่อให้การส่งเสริมการมีงานทำของผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพและเป็นผลเป็นรูปธรรม การกำหนดอัตราค่าจ้างรายชั่วโมง ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และนโยบาย บริการจัดหางาน จ้างงานผู้สูงอายุในภาครัฐ ขยายโอกาสการมีงานทำ ส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุในอาชีพที่เหมาะสมกับวัยและประสบการณ์ ฝึกอาชีพและพัฒนาเพิ่มทักษะฝีมือแรงงานผู้สูงอายุ ส่งเสริมสิทธิสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุ รวมทั้งการสร้างหลักประกันทางสังคม

 

กระทรวงยุติธรรม ปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพที่ประชาชนพึงได้รับตาม กม. โดยการจัดวางระบบและส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ การดำเนินการให้พยาน ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญาได้รับการคุ้มครอง ช่วยเหลือ เยียวยาในเบื้องต้น เพื่อให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองและดูแลจากรัฐอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน มีการให้ความช่วยเหลือทาง กม.ในระดับพื้นที่ มีศูนย์ฯ ชุมชนซึ่งผู้ที่เดือดร้อนขอความช่วยเหลือได้


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"