จี้“คลัง”ยกเครื่องภาษีบุหรี่ใหม่ห่วงรัฐสูญรายได้4,000ล้าน!


เพิ่มเพื่อน    

 

8 มี.ค. 2564 รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง ระบุว่า ผลการดำเนินงานของ ยสท. ในปีงบประมาณ 2563 พบว่า ภาพรวมปริมาณยอดขายบุหรี่ลดลงจากปีก่อน แต่มีกำไรเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยมีรายได้รวม อยู่ที่ 45,879 ล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณก่อนหน้า 9.7% ค่าใช้จ่ายรวม อยู่ที่ 45,304 ล้านบาท ลดลงมากกว่า 10% จากการควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีขึ้น ส่งผลให้ในปีงบประมาณ 2563 ยสท.มีกำไรสุทธิ 593 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% และมีอัตราส่วนทำกำไรต่อผู้ถือหุ้น (ROE) 3.4% โดยหากไม่รวมภาระผูกพันในเรื่องค่าก่อสร้างสวนป่าเบญจกิติจำนวน 260 ล้านบาท ยสท. ก็จะมีกำไรสุทธิเพิ่มเป็น 853 ล้านบาท

ขณะที่ยอดจำหน่ายบุหรี่ของ ยสท. ในปี 2563 เท่ากับ 17,473 ลดลง 6.3% จากปี 2562ที่ระดับ 18,645 ล้านมวน โดยมีส่วนแบ่งตลาดลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 58% ในปี 2562 เหลือ 55% ในปี 2563 โดยยอดจำหน่ายบุหรี่กลุ่มราคาสูงกว่า 60 บาท ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจนเหลือเพียง 9% ของยอดขาย ในขณะที่บุหรี่กลุ่มราคาต่ำกว่าหรือเท่ากับ 60 บาท มียอดจำหน่ายเพิ่มสูงขึ้นเป็น 91% ของยอดขาย สะท้อนให้เห็นว่า หลังการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตในปี 2560 มีการเปลี่ยนไปสูบบุหรี่ ยสท. ที่มีราคาถูกลง และมีการหันไปสูบบุหรี่ต่างประเทศที่มีความได้เปรียบด้านความเป็น International Brand แต่ราคาขายปลีกเท่ากับราคาเท่าบุหรี่ ยสท.

“ผู้บริโภคบางส่วนยังหันไปสูบยาเส้นและบุหรี่เถื่อนที่มีราคาถูกว่าหลายเท่าตัว โดยปริมาณการบริโภคยาเส้นมวนเองในประเทศไทยในช่วงหลังจากปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่เกือบเท่าตัว และบุหรี่เถื่อนก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยแม้มีการห้ามนำเข้าบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา แต่ในยุคปัจจุบันเป็นยุคที่การซื้อขายออนไลน์เติบโตอย่างมากในประเทศไทย ทำให้การขายหรือการส่งเสริมการขายบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ผ่านทางช่องทางสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ สะดวก ดังนั้น ประเทศไทยอาจไม่สามารถควบคุมกระบวนการลักลอบนำเข้าและค้าบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ได้ อันเนื่องมาจากมีความต้องการสินค้าดังกล่าวในปริมาณที่สูง” รายงานข่าว ระบุ

ทั้งนี้ จากประเด็นดังกล่าว มีการประมาณการว่ารัฐต้องสูญเสียรายได้จากการเก็บภาษีสรรพสามิตบุหรี่ในส่วนนี้ไปประมาณ 3,000-4,000 ล้านบาท อีกทั้ง การที่ ยสท. เสียส่วนแบ่งตลาดให้แก่บุหรี่ต่างประเทศกระทบต่อผลประกอบการของ ยสท. ทำให้ไม่สามารถนำส่งรายได้เข้าสู่คลังมาเป็นเวลา 2 ปี หากกระทรวงการคลังและกรมสรรพสามิตไม่เร่งแก้ปัญหาโครงสร้างภาษียาสูบให้มีความเหมาะสม และส่งผลดีต่อรัฐบาล ระบบสาธารณสุขและธุรกิจของประเทศไทย คาดว่า ยสท. จะสูญเสียส่วนแบ่งตลาดลงไปอีกและประสบภาวะขาดทุนในไม่ช้า

นายภาณุพล รัตนกาญจนภัทร ผู้ว่าการการ ยสท. กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติวงเงินกู้ระยะสั้น จำนวน 1,500 ล้านบาท เพื่อให้ ยสท. ไว้ใช้จ่ายเมื่อมีความจำเป็น ว่า ไม่ใช่การกู้เงิน แต่เป็นเพียงการดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยงที่ได้รับ โดยยืนยันว่า ยสท. ยังเป็นองค์กรที่มีความมั่นคงแข็งแกร่งมาก ในช่วงปลายปีงบประมาณ 2563 ยสท. มีเงินสดคงเหลือในบัญชี 8,500 ล้านบาท โดย ยสท. มีกำไร 593 ล้านบาท และมั่นใจว่าในปีงบประมาณ 2564 ผลกำไรจะเพิ่มขึ้น และยังคาดการณ์ว่าในปีงบประมาณ 2565 อาจมีกำไรกว่า 1,000 ล้านบาท เนื่องจาก ยสท.ได้ดำเนินการยกระดับประสิทธิภาพทางการบริหาร การผลิต การตลาด การควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเดินหน้ารุกธุรกิจใหม่ ๆ การพัฒนารายได้จากอสังหาริมทรัพย์ที่มีอยู่ทั่วประเทศ เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ครม. เมื่อวันที่ 2 มี.ค. ที่ผ่านมา ได้มีมติเห็นชอบให้ ยสท. กู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องปี 2564 ซึ่งเป็นการเป็นการขอเปิดวงเงินกู้ระยะสั้น (โอดี) จำนวน 1,500 ล้านบาท ว่า สาเหตุที่ ยสท. ต้องขอกู้โอดีนั้น เนื่องจาก ยสท. มีรายได้จากการขายบุหรี่ลดลง

นอกจากนี้คาดว่ายอดการขายบุหรี่ 2564 จะไม่ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยคาดว่าจะต่ำกว่าเป้าที่วางไว้ถึง 50% ส่งผลกระทบกับกระแสเงินสดของ ยสท. ซึ่งคาดว่า ณ สิ้นเดือน ก.ย. 2564 จะเห็นอยู่ 1,540 ล้านบาท เมื่อต้องหักเงินส่งคลังแล้ว จะทำให้กระแสเงินสดของ ยสท. ติดลบ มีปัญหาขาดสภาพคล่อง ทำให้ต้องขอวงเงินกู้โอดีไว้รองรับปัญหา


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"