'โภชนาบำบัด' เทรนด์ดูแลสุขภาพ ป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังวัยเก๋า


เพิ่มเพื่อน    

(ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ช่วยบำรุงสายตาและป้องกันโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุได้ดี)

 

        กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ “เอ็น ซี ดี” (NCDs) พบได้บ่อยในคนยุคนี้ ไม่ว่าจะเป็นโรคอัลไซเมอร์ ที่คุ้นเคยกันดีในคนอายุ 60 ปีขึ้นไป โรคเบาหวาน และโรคกระดูกพรุน ฯลฯ ทั้งนี้ จึงมีการนำ “โภชนาการบำบัด” มาใช้ หรือกินอาหารเพื่อช่วยรักษาโรค ทั้งนี้ เพื่อลดการจ่ายยาให้กับคนไข้ ซึ่งการรักษาโรคดังกล่าวเรียกได้ว่าเป็นเทรนด์ที่กำลังจะมาในอนาคต ในงาน “เคล็ดลับชะลอวัย...ให้สดใสไปอีกนาน” ที่จัดโดย บริษัท อินเตอร์ฟาร์มา กรุ๊ป จำกัด ผศ.ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ อ.ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล ให้ความรู้เกี่ยวกับการบำบัดโรค ด้วยศาสตร์ดังกล่าวไว้น่าสนใจ

(ผศ.ดร.เอกราช บำรุงพืชน์)

 

        ผศ.ดร.เอกราช กล่าวว่า “สำหรับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อันดับแรกที่พบ ได้แก่ “โรคอัลไซเมอร์” ที่เกิดจากการบริโภคอาหารกลุ่ม “แป้ง” และ “น้ำตาล” ในปริมาณที่เกินความพอดีกับร่างกาย เนื่องจากอาหารทั้ง 2 ประเภทจะส่งผลต่อคลื่นสมอง ทำให้เกิดการอักเสบและเสื่อมลงในที่สุด และปัจจุบันยังมีการศึกษาพบว่า คนไทยบริโภคน้ำตาลสูงถึง 29 ช้อนชาต่อวัน ทั้งที่ความจริงไม่ควรกินหวานเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน สำหรับอาหารที่ป้องกันภาวะสมองเสื่อม

 

        ได้แก่ กลุ่ม “สารสกัดจากใบแปะก๋วย ซึ่งจะช่วยทำให้ระบบโลหิตไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ดี (ไม่แนะนำให้นำใบแปะก๋วยมาตำให้ละเอียดก่อนรับประทาน เนื่องจากสารอาหารต้องสกัดออกมาผ่านทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น) หรือเป็นอาหารในกลุ่มของ “ตระกูลเบอร์รี่” ที่ช่วยบำรุงสมองและสายตา เช่น มะเม่า, มะหลอด, มะเกี่ยง สำหรับหลายคนที่กลัวการบริโภคไข่ สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ สามารถกินไข่ได้วันละ 1-2 ฟอง โดยเฉพาะ “ไข่แดง” ที่มีสารสื่อประสาทที่ช่วยบำรุงสมอง รวมถึงการบริโภค “วิตามิน B รวม” B 1, B 6, B 12 ที่มีสารสื่อประสาทและบำรุงสมอง ก็สามารถลดปัจจัยโรคอัลไซเมอร์ได้เช่นกัน ที่สำคัญไม่ควรรับประทานอาหารจังก์ฟูดส์, น้ำตาล และอย่าคิดในแง่ลบ

(“น้ำมันรำข้าว” ตัวช่วยป้องกันผู้สูงอายุป่วยโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด)

 

        ไล่มาถึง “โรคหัวใจและหลอดเลือด” ที่สามารถป้องกันได้โดยการบริโภค “แอสต้าแซนทิน” ที่มีอยู่ใน “สาหร่ายสีแดง” ซึ่งเป็นสารที่อยู่ในกลุ่มของ “แคโรทีนอยด์” ซึ่งช่วยป้องกันอนุมูลอิสระ หรือเลือกปรุงอาหารที่ใช้ “น้ำมันรำข้าว” ที่มีกรดไขมันชนิดดีอย่าง “HDL” เพื่อไปไล่ไขมันไม่ดี หรือ “LDL” ที่เป็นสาเหตุของหลอดเลือดอุดตัน และทำให้เกิดโรคหัวใจในที่สุด นอกจากนี้ก็ควรบริโภค “แมกนีเซียม” ที่ทางการแพทย์ระบุว่า เป็นแร่ธาตุที่ดีต่อหัวใจ เพื่อช่วยลดทั้งไขมันและน้ำตาลในเลือดได้ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้สูงอายุนอนหลับสบายอีกด้วย ซึ่งพบได้ในถั่วและผักใบเขียว ปิดท้ายกันที่ “วิตามิน E” ที่ช่วยต้านการแข็งตัวของลิ่มเลือด อีกทั้งช่วยลดการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้

        ขณะที่ “โรคเบาหวาน” ที่มีการวิจัยออกมาระบุว่า “ขมิ้นชัน” สามารถลดการเกิดโรคเบาหวานได้ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเบาหวานแฝง หรือค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลอยู่ที่ 100-125 ขึ้นไป และการทดสอบให้ผู้ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อโรค โดยการรับประทานขมิ้นชันเป็นเวลา 9 เดือน ผลปรากฏว่าไม่เป็นโรคเบาหวาน รวมถึง “อบเชย” และ “สารสกัดจากเมล็ดองุ่น” ที่สามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ รวมถึงแร่ธาตุอย่าง “แมกนีเซียม” ที่ช่วยลดภาวะปลายประสาทอักเสบ จากภาวะโรคเบาหวานได้ ข้อควรปฏิบัติที่สำคัญ แนะนำว่าหลังรับประทานอาหารให้ผู้สูงอายุควรหมั่นเดินไปมาเป็นเวลาอย่างน้อย 10 นาที ทั้งนี้ เพื่อให้น้ำตาลที่ได้จากอาหารไหลเวียนออกจากระบบเลือด เพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยไม่ให้ตกค้างในหลอดเลือด ซึ่งนับเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน

ปิดท้ายกันที่โภชนะบำบัด ที่ป้องกัน “โรคกระดูก” ในผู้สูงอายุ ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้กระดูกบางลง ได้แก่ การดื่มแอลกอฮอล์ การพักผ่อนไม่เพียงพอ และการขาดวิตามิน D โดยเฉพาะช่วงวัยหนุ่มสาวที่ไม่ค่อยชอบออกแดด ดังนั้นการสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกนั้น ได้แก่ การบริโภค “วิตามิน C” ซึ่งมีความสำคัญมากในการสร้างคอลลาเจนให้กับมวลกระดูก ทำให้แข็งแรง หรือแม้แต่การรับประทาน “กระดูกอ่อนฉลาม” หรือ “กระดูกอ่อนหมู” ที่สำคัญควรหมั่นออกไปสัมผัสแสงแดดสม่ำเสมอ”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"