“ธนารัตน์ งามวลัยรัตน์” ปักธงภารกิจ ธ.ก.ส. ดึงดิจิทัลเสริมแกร่งเกษตร พัฒนาชนบทสู่ความยั่งยืน


เพิ่มเพื่อน    


“ภาคเกษตร” ถือเป็นอีกเครื่องยนต์เศรษฐกิจที่มีความสำคัญกับประเทศไทยเป็นอย่างมาก นั่นเพราะมีอัตราการจ้างงานที่อยู่ในระดับสูง พื้นที่ในการทำเกษตรกรรมครอบคลุมกว่า 40% ของพื้นที่ทั่วประเทศ แต่จากโครงสร้างในภาคเกษตรกรรมของไทยที่ยังเน้นการใช้กำลังแรงงาน หลายส่วนยังเข้าไม่ถึงเทคโนโลยี ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาไปในหลายรูปแบบ ทั้งเทคโนโลยีในการสนับสนุนการผลิต การเพาะปลูก ไปจนถึงเทคโนโลยีด้านการเงินเพื่อเสริมศักยภาพการทำเกษตรกรรมในมิติต่างๆ อาจทำให้ประสิทธิภาพของภาคเกษตรกรรมไทยยังเดินหน้าได้ไม่เต็มที่ ดังนั้นการเร่งพัฒนาภาคเกษตรผ่านการส่งเสริม และสนับสนุนเทคโนโลยีในแง่มุมต่างๆ จึงกลายเป็นประเด็นสำคัญที่ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเร่งดำเนินการ
  

“ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)” ตระหนักถึงการเพิ่มศักยภาพให้ภาคเกษตรกรรมของไทย ผ่านการยกระดับและมุ่งสร้าง Social Safety Net สู่เกษตรกรและชุมชน ด้วยการร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ การวิจัย-นวัตกรรม การตลาด การดูแลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม พร้อมสนับสนุนเกษตรกรและผู้ประกอบการรุ่นใหม่เข้ามาเสริมความเข้มแข็งและการเติบโตในภาคชนบท รวมทั้งยังเร่งเติมเทคโนโลยี เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย ตอบโจทย์ความต้องการในยุคดิจิทัล
  

ธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการ ธ.ก.ส.คนล่าสุด ได้เปิดนโยบายในการขับเคลื่อน ธ.ก.ส. ว่า ยังคงมุ่งไปสู่วิสัยทัศน์ที่ธนาคารวางไว้ คือ เป็น “ธนาคารพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน มุ่งสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชนบท” แต่จะปรับวิธีหรือกระบวนการทำงานเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการดูแลเกษตรกรลูกค้าให้สามารถยืนอยู่ได้อย่างมั่นคง ยั่งยืน ผ่านมาตรการสนับสนุนด้านสินเชื่อ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีทักษะความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยี การบริหารจัดการด้านการตลาด ให้เข้ามาต่อยอดในการเพิ่มมูลค่าผลผลิต และสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน
    

ส่วนการขับเคลื่อนงานพัฒนาชนบท จะมุ่งสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน ให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ เน้นดูแลรักษาสุขภาพในครัวเรือนและชุมชน การรวมกลุ่มวิเคราะห์ปัญหา สร้างทางเลือกและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด มีการจัดการด้านการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การดำรงรักษาวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน โดยเน้นความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค การเพิ่มมูลค่าผลผลิต และการบริหารจัดการทางการตลาด เช่น การเชื่อมโยงตลาด Social Commerce การส่งเสริมระบบการตรวจสอบย้อนกลับในสินค้าเกษตรอินทรีย์ตลอดห่วงโซ่คุณค่าบนระบบ Blockchain การพัฒนาสินค้าเกษตรสู่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐาน เป็นต้น
 

ธ.ก.ส. รวมถึงสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่เข้าไปสร้างองค์ความรู้ เพื่อต่อยอดผลผลิต สร้างอาชีพและรายได้ให้กับชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้ โครงการที่ดำเนินการถือเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างตาข่ายความปลอดภัยทางสังคม (Social Safety Net) ที่จะเข้าไปดูแลและสร้างภูมิคุ้มกันให้เกษตรกรและชุมชนมีความเข้มแข็งและเติบโตอย่างมีคุณภาพ
    

ธนารัตน์ กล่าวอีกว่า สร้างการเปลี่ยนแปลงโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการดำเนินงานของธนาคาร การนำ Fin Tech มาใช้ผ่าน Digital Banking เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ทันสมัย รวดเร็ว สะดวกสบาย ช่วยลดต้นทุนและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า เช่น การรับชำระเงินด้วย QR Code ผ่าน Alipay ผ่านแอปพลิเคชันร้านน้องหอมจัง ซึ่งเป็นการเชื่อมระบบการชำระเงินกับต่างประเทศ ช่วยอำนวยความสะดวกในการชำระเงินให้กับลูกค้า
    

โครงการ ATM White Label ระบบเอทีเอ็มกลางที่รับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของทุกธนาคาร ช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างสะดวกและไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการใช้บริการตู้เอทีเอ็มระหว่างธนาคารหรือข้ามเขต การสร้างเครือข่ายทางการเงิน (Banking Agent) ร่วมกับเคาน์เตอร์เซอร์วิส ไปรษณีย์ไทย ตู้บุญเติมและตู้เติมสบาย เพื่อให้ลูกค้ามีทางเลือกในการทำธุรกรรมกับ ธ.ก.ส.มากยิ่งขึ้น

รวมถึง การบริหารจัดการข้อมูลเพื่อรองรับการดำเนินงานและสร้างโอกาสการแข่งขัน การเชื่อมโยงกับผู้ให้บริการอื่น และที่สำคัญคือ การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะและความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ โดยปรับปรุงกระบวนการทำงาน เพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการและให้บริการ พร้อมทั้งลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน

“ธ.ก.ส.ได้วางเป้าหมายในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ผ่านการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการขับเคลื่อนและเพิ่มประสิทธิภาพของลูกค้าของธนาคารและชุมชน โดยเฉพาะในด้านการตลาด ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ บริหารจัดการข้อมูลเพื่อสร้างโอกาสในการแข่งขันที่มากขึ้น ตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่ตรงจุด พร้อมกับการหาช่องทางการจัดจำหน่ายในมิติใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับยุคปัจจุบัน นั่นคือ ช่องทางออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ที่ได้รับความนิยม โดยภายในปีนี้ ธ.ก.ส.วางแผนว่าจะร่วมมือกับธนาคารกรุงไทยในการทำ Social Commerce เพื่อนำสินค้าจากเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนกว่า 150 รายไปจำหน่ายได้ช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค.2564”

 

ตลอดระยะเวลา 55 ปี ธ.ก.ส.ยังคงมุ่งมั่นสร้าง Better Life คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในชนบท Better Community ชุมชนที่ดีและเข้มแข็งขึ้น และ Better Pride สร้างความภาคภูมิใจในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมให้มากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างรากฐานที่เข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ.

---
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"