โฆษกศาลฯ เปิดหลักเกณฑ์ไต่สวนคำร้องจัดการมรดกรูปแบบออนไลน์


เพิ่มเพื่อน    

15 เม.ย.64 - นายสุริยัณห์ หงษ์วิไล โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวถึงกรณีแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารจัดการคดีในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ฉบับที่ 8 ที่ได้ออกไปเมื่อวันที่ 13 เม.ย. 2564 แล้ว อาจทำให้เกิดปัญหาคดีบางประเภทต้องหยุดชะงัก เกิดผลกระทบต่อคู่ความ ว่า ก่อนหน้านี้ทางสำนักงานศาลยุติธรรมได้มีหนังสือด่วนที่สุด 016/26391  เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด แจ้งหน่วยงานในสังกัด ระบุว่า ปัจจุบันเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดโควิดระลอกใหม่ขึ้น สมควรนำวิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการดำเนินกระบวนพิจารณา สำหรับการไต่สวนคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกที่ไม่มีผู้คัดค้าน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่คู่ความและเพื่อความปลอดภัยของบุคลากรของศาลยุติธรรม คู่ความ และผู้มาติดต่อราชการศาล ในช่วงสถานการณ์ดังกล่าว

ในการนี้ เพื่อให้การดำเนินงานดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน สำนักงานศาลยุติธรรมจึงออกประกาศสำนักงานศาลยุติธรรม เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ฉบับที่ 1 แจ้งให้ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมในหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องทราบ เพื่อสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

โดยประกาศสำนักงานศาลยุติธรรมดังกล่าว มีหลักเกณฑ์สรุปได้ ดังนี้ 1. “คำร้อง” หมายความว่า คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกที่ไม่มีผู้คัดค้าน “อิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอนไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์วิธีต่างๆ เช่นว่านั้น “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรมที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่

2.ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป 3.ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับแก่การไต่สวนคำร้องที่คู่ความหรือพยานมีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ 4.การไต่สวนคำร้องตามประกาศนี้อาจดำเนินการเมื่อศาลเห็นสมควรหรือคู่ความร้องขอ และไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้ระบบ 5.การไต่สวนคำร้องอาจดำเนินการโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น แอปพลิเคชัน Cisco Webex, Google Meet, Line และ Zoom เป็นต้น 6.การแสดงตนของคู่ความหรือพยานในการไต่สวนคำร้องตามประกาศนี้ ให้ดำเนินการโดยให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบบุคคลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ว่าตรงกับคู่ความหรือพยานในคดีหรือไม่ โดยให้บุคคลดังกล่าวแสดงบัตรประจำตัวประชาชนให้ปรากฏทางจอภาพของระบบ และให้เจ้าหน้าที่ทำการบันทึกภาพ ใบหน้าบุคคลนั้นพร้อมกับบัตรประจำตัวประชาชนเสนอศาล เพื่อเป็นหลักฐานรวมไว้ในสำนวน

7.ให้เจ้าหน้าที่จัดทำรายงานเกี่ยวกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการไต่สวน วันเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดในการใช้ระบบ แล้วเสนอศาลเพื่อมีคำสั่งให้รวมไว้ในสำนวน 8.ก่อนเริ่มการไต่สวน ให้เจ้าหน้าที่แจ้งขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติตนในการไต่สวนให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ และตรวจสอบบัตรประจำตัวประชาชนของพยานแล้ว ให้นำพยานสาบานตนหรือกล่าวคำปฏิญาณต่อหน้าศาลที่พิจารณาคดีโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ 9.การนำสืบเอกสารหรือวัตถุพยานในการไต่สวน อาจกระทำโดยแสดงต้นฉบับเอกสารหรือวัตถุพยานให้ปรากฏในจอภาพของระบบระหว่างการไต่สวน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องกับสำเนาเอกสารหรือภาพถ่ายที่ได้ยื่นไว้ในสำนวนแล้ว เว้นแต่มีความจำเป็นต้องใช้ต้นฉบับเอกสารหรือวัตถุพยาน อาจกำหนดให้คู่ความส่งต่อศาลในภายหลังก็ได้

10.ในระหว่างการไต่สวน หากพบปัญหาความบกพร่อง หรือพบเหตุที่ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการใช้ระบบดังกล่าว ให้เจ้าหน้าที่รายงานศาลโดยเร็ว 11.เมื่อพยานเบิกความเสร็จและองค์คณะผู้พิพากษาอ่านบันทึกคำเบิกความพยานแล้ว ให้เจ้าหน้าที่จัดให้คู่ความที่อยู่ในห้องพิจารณาลงลายมือชื่อ ส่วนคู่ความหรือพยานที่ไม่อยู่ในห้องพิจารณา ถือว่าเป็นกรณีที่คู่ความหรือพยานดังกล่าวลงลายมือชื่อไม่ได้ ความในวรรคหนึ่งให้นำมาใช้บังคับแก่การลงลายมือชื่อของคู่ความในรายงานกระบวนพิจารณาโดยอนุโลม

นายสุริยัณห์ กล่าวถึงขั้นตอนหลังการไต่สวนว่า เมื่อศาลไต่สวนพยานทางออนไลน์เสร็จ  ผู้ร้องสามารถขอคำสั่งศาลโดยยื่นคำขอผ่านทางระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรม (CIOS) และสามารถขอรับเอกสารทางไปรษณีย์ได้ โดยขั้นตอนทั้งหมดผู้ร้องและพยานไม่ต้องเดินทางไปศาล ผู้ที่สนใจใช้วิธีไต่สวนทางออนไลน์ดังกล่าว ขอให้โทรศัพท์ติดต่อไปที่ศาลล่วงหน้าก่อนวันนัด เพื่อที่จะได้นัดหมายเวลาและแอปพลิเคชั่นที่จะใช้ในการไต่สวน

ในส่วนของศาลแพ่ง ได้เตรียมใช้เทคโนโลยีดิจิทัลรับมือกับสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ซึ่งการระบาดสองระลอกที่ผ่านมา ทำให้คดีจำนวนมากต้องเลื่อนพิจารณาออกไป ก่อให้เกิดความล่าช้าและอาจเสียหายต่อประชาชน คดีจัดการมรดกก็เช่นกัน หากต้องเลื่อนคดีออกไปอีกย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ถ้าให้คู่ความต้องเดินทางมาไต่สวนที่ศาลก็อาจเกิดความไม่ปลอดภัยทั้งบุคลากรของศาลและตัวคู่ความเอง 

ดังนั้น เมื่อสำนักงานศาลยุติธรรมออกประกาศเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวให้สามารถไต่สวนจัดการมรดกที่ไม่มีผู้คัดค้านผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ ศาลแพ่งจึงเร่งจัดทำ ”โครงการคลินิกจัดการมรดกออนไลน์ VS COVID-19“ โดยวิธีการไต่สวนระหว่างศาลกับผู้ร้องและพยานผ่านระบบ zoom หรือ Line หรือ Microsoft team ทั้งนี้ เพื่อประชาชนจะได้ไม่ต้องเดินทางมาศาลในช่วงนี้ โดยจะเริ่มโครงการตั้งแต่ 1 พฤษภาคม นี้ เป็นต้นไป

ส่วนศาลอื่นๆนั้น ประชาชนหรือคู่ความสามารถสอบถามหรือติดตามข้อมูลจากเว็บไซต์ของศาลยุติธรรมทั่วราชอาณาจักร https://www.coj.go.th/th/content/category/detail/id/6/iid/121186


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"