กูรูศิลปะร่วมสมัย 9 สาขา แชร์ความรู้-ประสบการณ์บนโซเชียล กระตุ้นไอเดียปชช.


เพิ่มเพื่อน    

 

 

     วันที่ 19 เม.ย ดร.วิมลลักษณ์ ชูชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย(สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สศร. ได้ให้ข้าราชการ พนักงานเจ้าหน้าที่ ของ สศร. ทำงานที่บ้านและสลับเลื่อนเวลาการทำงาน รวมทั้งให้ใช้การสื่อสารผ่านระบบออนไลน์ในการประชุม ประสานงานด้านต่างๆ เพื่อช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค นอกจากนี้ ได้ประสานเครือข่ายวงการศิลปะร่วมสมัยทั่วประเทศให้พิจารณางดเว้นหรือเลื่อนกิจกรรมที่เป็นการรวมกลุ่มคนออกไป เพื่อความปลอดภัยของทุกคน ในระหว่างนี้ สศร. มุ่งการดำเนินงานนำศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาจิตใจ สร้างพลังทางสังคม และสร้างมูลค่า ทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนตามแผนยุทธศาสตร์ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563 – 2565) ซึ่งอย่างน้อย เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น จึงสนับสนุนการทำงานของเครือข่ายศิลปะร่วมสมัยทุกสาขา ทุกรูปแบบ โดยเฉพาะการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ ผลงาน กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ และแลกเปลี่ยนการทำงานผ่านทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ขยายความรู้ให้ประชาชนทั้งในและต่างประเทศ

 



     ผอ.สศร. กล่าวอีกว่า ตนได้มอบหมายให้กลุ่มงานประชาสัมพันธ์รับผิดชอบการประสานงานและสร้างเนื้อหาเพื่อเผยแพร่ในเพจเฟซบุ๊ก: สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ในหัวข้อ "#ร่วมสมัยวันละคำ” นำเสนอบทความเชิงสารคดีจากการสัมภาษณ์ศิลปิน ศิลปาธร ศิลปินแห่งชาติ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนผู้มีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญเป็นที่ประจักษ์ในงานศิลปะร่วมสมัย  9 สาขา ได้แก่ ทัศนศิลป์ วรรณศิลป์ ดนตรี ศิลปะการแสดง ภาพยนตร์ สถาปัตยกรรม มัณฑนศิลป์ เรขศิลป์และการออกแบบ โดยมุ่งหวังให้ความรู้ ประสบการณ์และแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปินผู้มีชื่อเสียงทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ นำเสนอเป็นความรู้ในเชิงศิลปะ สามารถกระตุ้นความคิดให้เกิดแรงผลักดันในเชิงบวกแก่ผู้อ่าน ทั้งยังช่วยสรรค์สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ยุวศิลปิน ตลอดจนสมาชิกแฟนเพจที่ให้ความสนใจติดตามข่าวสารและกิจกรรมเพจ สศร. ซึ่งมีกว่า 26,000 คน ตลอดจนเพื่องานศิลปะร่วมสมัยสามารถนำไปต่อยอดสร้างรายได้ให้คนในชุมชนต่างๆ และนำความยั่งยืนสู่ชุมชนได้ ล่าสุดมีการแปลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อเพิ่มศักยภาพให้เนื้อหาได้รับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางและเกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้

     " สำหรับหลักการสร้างเนื้อหาของ “#ร่วมสมัยวันละคำ” เช่น บทความจากการสัมภาษณ์ วัชระ กล้าค้าขาย ศิลปินผู้มีชื่อเสียงในศิลปะเรียลลิสติก มีหลักการทำงานศิลปะในเชิงประจักษ์ บนพื้นฐานของความจริง ตลอดจนงานศิลปะของ พัชรี ทิพยเนตร นักจัดสวนผู้มีประสบการณ์กว่า 20 ปี ทำงานศิลปะสื่อผสม สะท้อนภาพงามแห่งธรรมชาติ ด้วยริบบิ้น ไหมและเส้นด้าย สามารถต่อยอดเพื่อสร้างรายได้และนำความยั่งยืนสู่ชุมชน นอกจากนี้ ยังมี ศิลปะการออกแบบฯ สู่งานจิตรกรรมสีน้ำมันในรูปแบบแกะสลักไม้ของวิระศักดิ์ มนต์แก้ว เจ้าหน้าที่ออกแบบและแกะแม่พิมพ์ชำนาญงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ตลอดจนการนำเสนอขลุ่ยไทยร่วมสมัย จิตวิญญาณไทยในความเป็นสากล จาก อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ศิลปินแห่งชาติ ซึ่งได้อุทิศตนเพื่อพัฒนาขลุ่ยไทยให้มีขีดความสามารถทางดนตรีเทียบเท่ากับเครื่องดนตรีสากลมากถึง 23 รุ่น สิ่งเหล่านี้เป็นแบบอย่างของความล้ำค่าที่ปรากฏชัด เป็นมรดกทางภูมิปัญญาด้านศิลปวัฒนธรรมของคนไทย ที่ควรแก่การยกย่องและเผยแพร่ให้เป็นที่ประจักษ์ " ดร.วิมลลักษณ์ กล่าว

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"