อธิบดีศาลคดีทุจริตฯ ภาค 1 ฟ้อง กรรมการ ปปช. หมิ่นศาล 'สิระ' รับเรื่องเข้ากมธ.กฎหมาย


เพิ่มเพื่อน    

นายเจษฎา คงรอด ทนายความ (ซ้าย)

19 เม.ย.64 - ที่ศาลจังหวัดสระบุรี นายปรเมษฐ์ โตวิวัฒน์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 1 ได้มอบอำนาจให้นายเจษฎา คงรอด ทนายความ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ส.สุภา ปิยะจิตติ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นจำเลย ในความผิดฐานดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาคดี

คำฟ้องโจทก์ระบุพฤติการณ์สรุปว่า วันที่ 23 มี.ค. 2564 จำเลยจัดทำและยื่นคำร้องขอโอนสำนวนคดีของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 1 ในคดีหมายเลขดำที่ อท.84/2563 นายประหยัด พวงจำปา อดีตรองเลขาธิการ ป.ป.ช. ยื่นฟ้องจำเลยกับพวกต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 1 โดยมีข้อความอันเป็นการดูหมิ่น ดูถูก เหยียดหยามโจทก์ซึ่งเป็นผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนคดีดังกล่าว ทำให้โจทก์ได้รับความอับอาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ทั้งยังเป็นการลดคุณค่า ทำลายการใช้ความเด็ดขาดในการรักษาความยุติธรรมของศาล และทำลายชื่อเสียงของศาล หรือผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่ในการพิจารณา

โดยดูหมิ่นโจทก์ว่า โจทก์แทรกแซงการพิจารณาคดี และเป็นเรื่องที่ไม่เป็นการปฏิบัติตามปกติในกระบวนพิจารณา หากให้มีการพิจารณาคดีต่อไปในศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 1 นั้น จำเลยอาจไม่รับความยุติธรรม โจทก์ซึ่งเป็นผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนนั้น มีประสบการณ์ในการพิจารณาพิพากษาคดีอื่นๆ มาเป็นเวลานานกว่า 30 ปี และเคยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ให้เป็นอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม จึงตระหนักดีว่าการทำหน้าที่ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมนั้นต้องมีความเป็นอิสระ ในการพิจารณาพิพากษาคดี ทั้งผู้พิพากษาและผู้บริหารในศาลต่างๆ ต้องให้ความเป็นธรรมแก่คู่ความทุกฝ่าย รวมทั้งประชาชน ตลอดจนผู้พิพากษา และข้าราชการศาลยุติธรรมผู้ใต้บังคับบัญชาในศาลด้วยความเมตตาเอื้อเฟื้อ เพื่อให้การบริหารคดี และการบริหารงานต่าง ๆ ในศาลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

การปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ในตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 1 และผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนคดี หมายเลขดำที่ อท.84/2563 ดังกล่าว เป็นการดำเนินการไปตามอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ทุก ประการ เพื่อประสาทความยุติธรรมให้กับคู่ความทุกฝ่ายในคดีรวมทั้งจำเลยด้วย ซึ่งโจทก์ต้องมีความเป็นอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดีโดยปราศจากการก้าวก่ายหรือแทรกแซงโดยบุคคล หรือองค์กรใด รวมทั้งผู้บริหารในศาลยุติธรรมด้วยเช่นกัน มิฉะนั้นแล้วผู้พิพากษาที่พิจารณาพิพากษาคดีจะเกิดความหวั่นไหวจากการปฏิบัติหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีอันจะเกิดผลกระทบต่อความยุติธรรม และประชาชนทั่วไป รวมทั้งกระทบต่อความมั่นคง ของประเทศชาติ เมื่อศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใดแล้ว หากคู่ความฝ่ายใดรวมทั้งจำเลยเห็นว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายย่อมมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งหรือคำพิพากษาตามกฎหมายต่อไปได้ โดยคู่ความและประชาชนต้องให้ความเคารพศรัทธาการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรมอันเป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชนได้อย่างแท้จริง

การกระทำของจำเลยในการยื่นคำร้องขอโอนคดีโดยระบุข้อความต่างๆ ดังกล่าวมาทั้งหมดข้างต้นนั้น เป็นการดูหมิ่นโจทก์และ/หรือศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาคดี และเป็นการใส่ความด้วย ข้อความอันเป็นเท็จ ว่ามีการแทรกแซงการพิจารณาคดีโดยโจทก์ เป็นเรื่องที่ไม่เป็นการปฏิบัติตามปกติในกระบวนพิจารณา หากให้มีการพิจารณาคดีต่อไปในศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 1 จำเลยอาจไม่ได้รับความยุติธรรมนั้น เป็นการทำลายความเชื่อถือ และความเด็ดขาดในการใช้อำนาจรัฐในการรักษาความยุติธรรรมของศาล รวมทั้งเป็นการลดคุณค่าและทำลายชื่อเสียงของโจทก์ซึ่งเป็นผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดี ทั้งที่ความจริงโจทก์ดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด และกระทำการไปเพื่อประสาทความยุติธรรมแก่ผู้มีอรรถคดีด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเที่ยงธรรม ถูกต้องตามกฎหมายและนิติประเพณี โดยยึดมั่นในความเป็นอิสระของผู้พิพากษาแต่ละท่าน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดฐานดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาคดี และเป็นการดูหมิ่นเจ้าพนักงานผู้ซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่

โดยการกระทำความผิดฐานดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาคดี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 198 มีโทษจำคุกสูงสุดถึง 7 ปี

ภายหลังยื่นฟ้อง นายเจษฎา คงรอด ทนายความของนายปรเมษฐ์ กล่าวว่า ศาลจังหวัดสระบุรีรับคำฟ้องไว้นัดไต่สวนมูลฟ้องโจทก์ในวันที่ 19 ก.ค. นี้ เวลา 13.30 น. โดยในวันนั้น นายปรเมษฐ์ในฐานะโจทก์จะเดินทางมาเบิกความต่อศาลด้วยตนเอง

ผู้สื่อข่าวถามว่าการยื่นคำร้องขอโอนคดีของฝ่ายจำเลย มีผลทำให้อธิบดีผู้พิพากษาฯ ต้องถูกย้ายไปช่วยราชการ และตั้งคณะกรรมการสอบใช่หรือไม่ นายเจษฎา กล่าวว่า เรื่องการสอบวินัย เรายังไม่ทราบว่ามีการร้องเรียนในข้อเท็จจริงเรื่องอะไร  ทราบแต่เพียงว่ามีการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง และทราบอย่างไม่เป็นทางการว่ามีการสรุปข้อเท็จจริงไปแล้ว และมีคำสั่งย้ายนายปรเมษฐ์ไปอยู่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ทั้งที่ท่านยังไม่เคยได้มีโอกาสชี้แจงข้อเท็จจริงกับคณะกรรมการชุดนี้เลย เรายังไม่ทราบว่าเนื้อหาในการร้องเรื่องวินัยเป็นอย่างไร จะเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่ แต่เราประเมินว่าน่าจะเป็นเรื่องเดียวกัน

ด้าน นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นกรณีที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน พอทราบข่าวจึงเดินทางมารับเรื่อง เพื่อให้เข้าสู่คณะกรรมาธิการการกฎหมายฯ เพื่อพิจารณาศึกษาหาข้อเท็จจริงว่า การร้องเรียนของ น.ส.สุภา กระทำในฐานะอะไร มีอำนาจหน้าที่ให้เปลี่ยนคณะสอบสวน หรือร้องขอให้สอบท่านอธิบดีฯ เป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ ท่านอธิบดีฯ ได้รับความเป็นธรรมหรือไม่ ตนในฐานะส่วนตัวมองว่ามีเรื่องที่ไม่ปกติ ถ้าเป็นไปตามข่าว คณะกรรมการสอบสวนชุดนี้ถูกต้องหรือไม่ ให้ความยุติธรรมกับผู้ถูกร้องหรือไม่ อย่างการไต่สวนไม่ว่าจะในชั้นศาล ก็ต้องให้โอกาสจำเลยพิสูจน์ความบริสุทธิ์ให้มากที่สุด ทั้งนี้ จะเชิญคณะกรรมการสอบเรื่องนี้เข้าสู่คณะกรรมาธิการฯ เชิญท่านสุภาและเชิญอธิบดีฯ เรื่องนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องอาจจะสูงกว่าอธิบดีฯ ก็ขอให้เป็นมติของคณะกรรมาธิการฯ ซึ่งก็จะต้องเชิญทั้งหมดทั้งคนร้อง ผู้ตั้งเรื่องให้สอบและคณะกรรมการสอบ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีนี้เป็นคดีแรกที่ผู้พิพากษาระดับอธิบดียื่นฟ้อง ป.ป.ช. โดย ก่อนหน้านี้ น.ส.สุภา จำเลยในคดียื่นคำร้องขอโอนคดีในวันที่ 23 มี.ค.2564 หลังจากนั้นสำนักงานศาลยุติธรรมได้มีคำสั่งลับที่ 333/2564 ลงวันที่ 25 มี.ค.2564 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง กรณีอธิบดีถูกร้องเรียนกล่าวหาว่าเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงการพิจารณา อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของคู่ความคดีหมายเลขดำที่ อท.84/2563 คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงได้รายงานผลการสอบสวนข้อเท็จจริง โดยมีความเห็นว่า อธิบดีมีพฤติการณ์เข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงการพิจารณาพิพากษาคดีของข้าราชการตุลาการในวันที่ 5 เม.ย. 2564 ซึ่งเป็นวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง 

ในวันดังกล่าวฝ่ายโจทก์ในคดีมีพยานสำคัญมาเบิกความ คือนายวิชา มหาคุณ และนายอรรถพล ใหญ่สว่าง ซึ่งในวันดังกล่าวพยานทั้ง 2 ท่าน ได้เดินทางไปศาลพร้อมเบิกความแล้ว แต่จำเลยกับพวกได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เพื่อให้ศาลส่งสำนวนให้ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในเรื่องอำนาจการพิจารณาคดีของศาล ก่อนหน้านี้นับแต่วันฟ้องคดีจนถึงวันนัดไต่สวนมูลฟ้องเป็นระยะเวลากว่า 6 เดือน จำเลยไม่เคยโต้แย้งในประเด็นเขตอำนาจศาลเลย แต่มาโต้แย้งในวันไต่สวนมูลฟ้อง ทำให้ศาลต้องเลื่อนการพิจารณาคดี โดยบ่ายวันดังกล่าวประธานศาลฎีกามีคำสั่งให้โจทก์ไปช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 1


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"