ญี่ปุ่นแก้กม.เนรเทศผู้ลี้ภัยง่ายขึ้น

ญี่ปุ่นเริ่มบังคับใช้กฎหมายคนเข้าเมืองฉบับแก้ไขเมื่อวันศุกร์ ซึ่งอนุญาตให้รัฐบาลเนรเทศผู้ไม่ผ่านการขอลี้ภัยครบ 3 ครั้ง แม้ว่าพรรคฝ่ายค้านและกลุ่มสิทธิมนุษยชนจะคัดค้านกฎหมายฉบับนี้

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า ญี่ปุ่นเริ่มบังคับใช้กฎหมายคนเข้าเมืองฉบับแก้ไข เมื่อวันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน 2566  

ก่อนกฎหมายคนเข้าเมืองฉบับแก้ไขผ่านการเห็นชอบจากรัฐสภา ผู้ยื่นขอสถานะผู้ลี้ภัยในญี่ปุ่นสามารถอยู่ในประเทศได้ระหว่างกระบวนการตัดสินใจของทางการญี่ปุ่น โดยไม่คำนึงว่าพวกเขาพยายามรักษาสถานะผู้ลี้ภัยมาแล้วกี่ครั้งก็ตาม

แต่ปัจจุบันเมื่อกฎหมายนี้บังคับใช้ รัฐบาลญี่ปุ่นสามารถเนรเทศผู้ยื่นขอลี้ภัยได้หลังจากการยื่นขอสถานะผู้ลี้ภัยของเขาถูกปฏิเสธ 3 ครั้ง

เคน ไซโตะ รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมญี่ปุ่น กล่าวว่า กฎหมายคนเข้าเมืองฉบับแก้ไขนี้จะปกป้องผู้ที่ต้องได้รับการปกป้อง ขณะเดียวกันก็จัดการผู้ละเมิดกฎหมายอย่างเคร่งครัด

รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมญี่ปุ่นกล่าวด้วยว่า มีผู้ขอลี้ภัยจำนวนมากที่ใช้ระบบสมัครยื่นขอลี้ภัยไปในทางที่ผิดเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกเนรเทศ โดยที่พวกเขาไม่ได้หลบหนีจากภัยอันตรายหรือการกดขี่ข่มเหงเพื่อมาขอลี้ภัยอยู่ในญี่ปุ่น

เมื่อปีที่แล้วญี่ปุ่นอนุมัติสถานะผู้ขอลี้ภัยเพียง 202 ราย จากผู้ที่ยื่นขอลี้ภัยในญี่ปุ่นราว 12,000 คน นอกจากนี้แล้วทางการญี่ปุ่นให้ชาวต่างชาติพำนักในประเทศ 1,760 คน ด้วยเหตุผลด้านมนุษยธรรม

ในปีที่แล้วเช่นกัน รัฐบาลญี่ปุ่นรับผู้อพยพชาวยูเครนมากกว่า 2,400 คน ภายใต้กรอบการทำงานที่แตกต่างกัน

นักเคลื่อนไหวจัดชุมนุมต่อต้านร่างกฎหมายฉบับแก้ไขนี้ รวมถึงพันธมิตรพรรคฝ่ายค้านที่คัดค้านการแก้ไขกฎหมายนี้ แต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคร่วมรัฐบาลที่ครองเสียงข้างมากในรัฐสภา โหวตผ่านร่างแก้ไขกฎหมายฉบับนี้

ความวุ่นวายเกิดขึ้นในรัฐสภาญี่ปุ่นเมื่อวันพฤหัสบดี เมื่อ ส.ส.พรรคฝ่ายค้านเข้าไปล้อมรอบประธานกรรมาธิการที่อภิปรายร่างแก้ไขกฎหมายนี้ และพยายามสกัดไม่ให้มีการโหวตแก้ไขกฎหมาย

ด้านสมาคมเนติบัณฑิตยสภาโตเกียวระบุในสัปดาห์นี้ว่า เป็นเรื่องไม่อาจทนได้ที่จะเนรเทศผู้ขอลี้ภัย แม้ว่าผู้นั้นจะมีประวัติอาชญากรรม ที่อาจเป็นการเนรเทศ ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของพวกเขา และประเทศที่เขาถูกเนรเทศอาจทำให้ชีวิตและเสรีภาพของเขาตกอยู่ในอันตราย

ด้านพรรคเสรีประชาธิปไตยที่เป็นพรรครัฐบาลของญี่ปุ่น กล่าวว่า การแก้ไขกฎหมายคนเข้าเมือง จะทำให้การเข้าถึงการรักษาพยาบาลและตัวเลือกที่พักดีขึ้นสำหรับผู้ที่อยู่ระหว่างการยื่นขอลี้ภัย

สภาพการควบคุมตัวผู้อพยพในญี่ปุ่นโดนตรวจสอบอย่างละเอียด หลังการเสียชีวิตของวิชมา ซันดามาลี หญิงศรีลังกา วัย 33 ปี ระหว่างถูกควบคุมตัวเมื่อปี 2564

ซันดามาลีไม่ใช่ผู้ขอลี้ภัย แต่ถูกควบคุมเนื่องจากวีซ่าของเธอหมดอายุ หลังจากเธอมาขอความคุ้มครองจากตำรวจ โดยมีรายงานว่าเธอหลบหนีความสัมพันธ์ที่เป็นอันตราย

มีรายงานว่า เธอบอกกับเจ้าหน้าที่หลายครั้งว่าเธอปวดท้องและมีอาการป่วยอย่างอื่น ด้านนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนกล่าวหาว่าเธอไม่ได้รับการรักษาทางการแพทย์อย่างเพียงพอ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ ยันดูแลผู้ลี้ภัยเมียนมาตามสิทธิ์ควรได้รับ พร้อมหนุนเจรจากันอย่างสันติสุข

นายกฯ ย้ำไทยให้ความสำคัญเรื่องสิทธิมนุษยชน ยันดูแลผู้ลี้ภัยเมียนมาชายแดนตามสิทธิ์ควรได้รับ หนุนให้มีการพูดคุยและเจรจากัน อย่างสันติสุข

'เจลีก'เอาใจเด็กไทย จัดดวลแข้งรุ่นไม่เกิน16ปี คัด5คนไปทัวร์ลูกหนังที่ญี่่ปุ่น

'เจลีก' ลีกฟุตบอลอาชีพแห่งประเทศญี่ปุ่น พร้อมจุดประกายโอกาสครั้งสำคัญให้กับเยาวชนไทยอีกครั้ง เดินหน้าจัดงานแถลงข่าวเปิดทัวร์นาเมนต์ J.LEAGUE Youth Challenge Thailand 2023 ‘ปลุกความกล้า ไล่ล่าความฝัน ไปกับเจลีก’ การแข่งขันฟุตบอลเยาวชนรุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 500,000 บาท พร้อมคว้าโอกาสไปเปิดประสบการณ์สำคัญที่ประเทศญี่ปุ่น

เต้น ณัฐวุฒิ เสนอนิรโทษกรรมนักเคลื่อนไหวต่อสู้ทางการเมือง โดยเฉพาะม.112

นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อดีตผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า หลายมาตรการด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล หวังว่าจะลุล่วงแก้ปัญหาได้จริง ส่วนทางด้านการเมือง

กรมอุตุฯ อัปเดตเส้นทางพายุ 3 ลูก ไทยมีฝนเพิ่มขึ้น

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตเส้นทางพายุ 3 ลูก โดยระบุว่า พายุไต้ฝุ่น "เซาลา (SAOLA)" (พายุลูกที่ 9) มีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ (ใกล้เกาะลูซอล)

'พั้นช์-เจเจ-ลาติน-เหมย CGM48' ขึ้นแท่นฑูตโปรโมทการท่องเที่ยวแดนปลาดิบ

นับเป็นความภูมิใจของ 4 สาว ไอดอลวง CGM48 นำทีมโดย พั้นช์-วัชรี ด่านผาสุกกุล, เจเจ-ศุภาพิชญ์ ศรีไพโรจน์, ลาติน-พิมพ์นารา ร่ำรวยมั่นคง และ เหมย-รพีพรรณ แช่มเจริญ จากค่าย iAM ได้เดินทางไปเมือง Yamanouchi ประเทศญี่ปุ่น เพื่อรับตำแหน่ง “Yamanouchi Tourist Ambassador”