ผลศึกษาชี้วัคซีนไฟเซอร์ประสิทธิภาพลดฮวบหลังผ่าน6เดือน

แฟ้มภาพ Getty Images

การศึกษาของไฟเซอร์จากการรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่ได้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์ครบแล้ว 2 โดสในสหรัฐ ยืนยันว่าวัคซีนไฟเซอร์มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการป่วยรุนแรง รวมถึงจากสายพันธุ์เดลตา แต่ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อลดฮวบหลังฉีดโดส 2 แล้วอย่างน้อย 6 เดือน

ข้อมูลล่าสุดนี้ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ "แลนเซ็ต" เมื่อวันจันทร์ที่ 4 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยเป็นการยืนยันข้อมูลที่เคยเผยแพร่เมื่อเดือนสิงหาคมซึ่งยังไม่ผ่านการตรวจทานจากผู้รู้เสมอกัน แต่ข้อมูลที่ได้ก่อนหน้านี้มาจากการทดลองทางคลินิก ที่แสดงให้เห็นว่าวัคซีนไฟเซอร์ป้องกันการป่วยเข้าโรงพยาบาลได้ ส่วนข้อมูลล่าสุดเป็นการรวบรวมประสิทธิภาพของวัคซีนในโลกจริงเมื่อเวลาผ่านไป

รอยเตอร์และเอเอฟพีกล่าวว่า นักวิจัยจากไฟเซอร์และบริษัทผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ไคเซอร์เพอร์มาเนนเต เก็บข้อมูลประวัติสุขภาพของผู้คนราว 3.4 ล้านคนในพื้นที่แคลิฟอร์เนียใต้ ซึ่งราว 1 ใน 3 ฉีดวัคซีนครบแล้ว ระหว่างเดือนธันวาคม 2563 ถึงสิงหาคม 2564 ผลการวิเคราะห์แสดงให้ว่า ประสิทธิภาพของวัคซีนไฟเซอร์ในการป้องกันการรักษาในโรงพยาบาลและการตายยังคงสูงที่ 90% เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือนหลังฉีดโดสที่ 2 ซึ่งรวมถึงกับสายพันธุ์เดลตาด้วย

ส่วนประสิทธิภาพของการป้องกันการติดเชื้อ หลังช่วงเวลาเฉลี่ย 3-4 เดือน พบว่า ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบแล้วได้รับการป้องกัน 73% จากการติดเชื้อ แต่การป้องกันการติดเชื้อเดลตาลดลงจาก 93% ในเดือนแรกหลังการฉีดโดสที่ 2 มาอยู่ที่ 53% หลังผ่าน 4 เดือน ส่วนการป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์อื่นๆ นั้นลดลงจาก 97% มาอยู่ที่ 67%

นักวิจัยกล่าวกันว่า ข้อมูลบ่งชี้ว่า ตัวเลขที่ลดลงเป็นผลจากประสิทธิภาพของวัคซีนที่ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ไม่ใช่เป็นเพราะไวรัสสายพันธุ์เดลตาสามารถหลบหนีการป้องกันของวัคซีนได้

ผลการศึกษานี้สอดคล้องกับทัศนะของหน่วยงานด้านสุขภาพของสหรัฐและอิสราเอลที่ตัดสินใจฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันโดสที่ 3 แก่ประชากรของตนบางกลุ่ม ถึงแม้องค์การอนามัยโลกจะยืนกรานในรายงานเมื่อเดือนกันยายนว่า วัคซีนที่มีอยู่มีประสิทธิภาพเพียงพอและยังไม่จำเป็นต้องฉีดโดสที่ 3 โดยเรียกร้องให้ระงับการฉีดโดสที่ 3 ถึงสิ้นปีนี้ เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำอย่างมากในการฉีดวัคซีนระหว่างประเทศร่ำรวยกับประเทศยากจน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หมอยง’ ย้ำโควิดยังสายพันธุ์โอมิครอน JN.1 ไม่รุนแรง หายไข้-ไอมาก 1 วัน ใส่แมสทำงานได้

โควิด 19 ได้เปลี่ยนแปลงลดความรุนแรงลง จนปัจจุบันความรุนแรงเท่ากับโรคไข้หวัดใหญ่ RSVและเป็นการระบาดตามฤดูกาล

อาจารย์หมอ วิเคราะห์การระบาดโควิด มาจาก โอมิครอน สายพันธุ์ JN.1 เป็นหลัก

แม้ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ไทยจะเป็นขาลง แต่จำนวนคนที่ติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันยังมีจำนวนไม่น้อย จึงควรใช้ชีวิตโดยไม่ประมาท

อาจารย์หมอจุฬาฯ วิเคราะห์การระบาดโควิดไทย อยู่ในช่วง ’ขาลง’

ตัวเลขสัปดาห์ล่าสุด 25 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2024 จำนวนผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล 462 ราย เสียชีวิต 2 ราย ปอดอักเสบ 263 ราย และใส่ท่อช่วยหายใจ 91 ราย

ปรบมือรัวๆ ‘หมอธีระ’ วิเคราะห์การระบาด ‘โควิด’ ชี้ตอนนี้ไทยเป็นขาลง

อาจารย์หมอจุฬาฯ ชี้ตอนนี้ไทยเป็นขาลง แต่ขอให้ตระหนักว่าการติดเชื้อในระหว่างใช้ชีวิตประจำวันยังมีกันอยู่ต่อเนื่อง การเจ็บป่วยไม่ใช่เรื่องที่น่าพิสมัย ไม่ประมาท

สยอง! 'หมอธีระวัฒน์' เผยพบแท่งย้วยสีขาว คล้ายหนวดปลาหมึก ในคนที่ฉีดวัคซีนโควิด mRNA

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ภาพและข้อ

‘หมอธีระ’ วิเคราะห์การระบาดโควิดรอบสัปดาห์ ผู้ป่วยปอดอักเสบมากขึ้น

จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ ถือว่าสูงที่สุดในรอบ 8 เดือน นับตั้งแต่ 10 มิถุนายน 2023 เป็นต้นมา และเป็นการเพิ่มอย่างต่อเนื่องถึง 7 สัปดาห์แล้ว