ESG และ NET ZERO ในบริบทของกลุ่มเปราะบางในประเทศไทย

   ในช่วงปีที่ผ่านมาหลังวิกฤติด้านสาธารณสุขของโรคระบาดโควิด 19  ประเทศไทยเริ่มฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและผู้คนจำนวนมากได้กลับสู่ชีวิตเป็นปรกติแม้จะมีส่วนหนึ่งที่ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงชีวิตหน้าที่การงานและมีอีกจำนวนหนึ่งที่เมื่อกลับไปอยู่บ้านในต่างจังหวัดช่วงการระบาดแล้วก็ไม่ได้กลับมาใช้ชีวิตในเมืองหลวงอีกต่อไป

           โดยในส่วนของภาคธุรกิจนั้น ยังมีความท้าทายอยู่อีกมากทั้งในบริษัทฯขนาดใหญ่ลงไปถึงผู้ประกอบการเอสเอ็มอีซึ่งถือเป็นตัวจักรสำคัญด้านเศรษฐกิจฐานรากและเป็นกลุ่มธุรกิจที่เปราะบางขาดเงินทุนหมุนเวียน ขาดนวัตกรรม เผชิญความเสี่ยงต่างๆทั้งในด้านของทรัพยากร ความสามารถทางการแข่งขันตลอดจนค่าจ้างแรงงานที่มีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆจนหลายธุรกิจอาจต้องเตรียมปิดตัวลง

           ในภาคประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง เรื่องของหนี้ครัวเรือน หนี้นอกระบบ สังคมผู้สูงอายุ เด็กที่หลุดจากระบบการศึกษา คุณแม่วัยใส ยาเสพติด ความเหลื่อมล้ำทางสังคมและอีกหลายๆเรื่องที่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างทำให้ไม่สามารถจะเข้าใจเทรนด์ต่างๆในสังคมโลกได้ โดยเฉพาะในคำทับศัพท์สองคำคือ ESG และ Net Zero ที่ดูเหมือนในภาคธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดกลางต่างชูนโยบายทั้งสองเรื่องเป็นพันธกิจด้านความยั่งยืนของตนอยู่แทบทุกวันในสื่อต่างๆ ด้วยความตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจหรือไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ก็ตาม

           บทความนี้จะสะท้อนให้เห็นว่าแม้แต่ธุรกิจใหญ่ๆเองก็ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในคำทั้งสองคำนี้ ดังนี้

           ESGย่อมาจาก Environment (สิ่งแวดล้อม) , Social (สังคม), และ Governance (การกำกับดูแล) ซึ่งมีที่มาจากแนวคิดจากทางตะวันตกของกิจการที่ผู้ลงทุนจะให้ความสนใจเลือกลงทุนภายใต้หลักของ Triple Bottom Line คือ Profits (กำไร) People (คน) และ Planet (โลก) หมายถึงการประกอบธุรกิจจะต้องเลิกคำนึงถึงกำไรแต่เพียงอย่างเดียวแต่ต้องให้ความใส่ใจและจัดทำรายงานซึ่งถูกเรียกว่ารายงานความยั่งยืนที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility หรือ CSR) และผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน  (Stakeholders) โดยเฉพาะพนักงาน ลูกค้าและชุมชนรอบข้างตลอดจนการปฏิบัติอย่างถูกกฎระเบียบ            มีธรรมาภิบาล โดย ESG และ CSR ต่างก็ถูกมองว่าให้เป็นองค์ประกอบหนึ่งของการพัฒนาความยั่งยืนที่องค์การสหประชาชาติ ธนาคารโลก OECD และองค์การต่างๆทั่วโลกให้ความสนใจอย่างกว้างขวางแต่ถ้าถามกลับว่าความยั่งยืนที่แท้จริงอยู่ตรงไหน เชื่อว่าประชาชนและนักวิชาการก็อาจจะตอบหรือให้ความเห็นที่แตกต่างกันและยิ่งถ้าเอา ESG ไปอธิบายรวมกับความยั่งยืน (Sustainability) ในภาพที่ใหญ่กว่าด้วยแล้วก็ยิ่งจะเพิ่มความสับสนมากขึ้นโดยเฉพาะในภาคประชาชนและกิจการเอสเอ็มอีซึ่งเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ของประเทศที่ยังขาดความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้เพราะลำพังการหารายได้และมีกำไรบ้างก็ยากเย็นแสนเข็ญมากพอแล้ว

           อีกคำหนึ่งคือ Net Zero คือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ที่รัฐบาลไปลงนามพันธสัญญาไว้ว่าจะทำให้สำเร็จได้ภายในปี พ.ศ. 2608 (ค.ศ. 2065) และจะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ก่อนเป็นอันดับแรกให้ได้ในปี พ.ศ.2593 (ค.ศ.2050) จึงเห็นว่ามีความเข้าใจผิดและสับสนระหว่าง Net Zero และ Carbon Neutrality อีกด้วยเพราะ Net Zero นั้นไม่สามารถจะใช้วิธีหักกลบด้วยคาร์บอนเครดิตได้เหมือนกับ Carbon Neutrality และยังต้องเป็นการจัดการก๊าซเรือนกระจกทุกประเภทไม่เฉพาะคาร์บอนเพียงประเภทเดียวแต่รวมถึงก๊าซมีเทน (Methane) จากการเลี้ยงสัตว์ที่มีความรุนแรงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึงประมาณ 80 เท่าและก๊าซอื่นๆอีกด้วย

           ดังนั้น แม้แต่กลุ่มทุนระดับใหญ่ๆยังเข้าใจคลาดเคลื่อนกันขนานใหญ่เรื่อง ESG และ Net Zero แล้วนับประสาอะไรกับกลุ่มเปราะบางอย่างเอสเอ็มอีตลอดจนประชาชนคนธรรมดาหาเช้ากินค่ำจะเข้าใจและปฏิบัติได้ เรื่องนี้รัฐบาลและทุกภาคส่วน โดยเฉพาะกรมน้องใหม่อย่าง กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อม  (สืบค้นรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.mnre.go.th ) คงต้องช่วยๆกันสร้างการรับรู้ในสังคมอย่างถูกต้องและร่วมด้วยช่วยกันทำทั้งประเทศอย่างเป็นระบบจึงจะสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

เวทีพิจารณ์นโยบายสาธารณะ
เทวัญ อุทัยวัฒน์
กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล

                                                                   

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย จับมือ TOA เดินหน้าพิชิต Net Zero มุ่งใช้นวัตกรรมสีรักษ์โลกลดก๊าซเรือนกระจก (GHG) ยกระดับที่อยู่อาศัย เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

“เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย” ผู้นำการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน จับมือพันธมิตร “TOA” ผู้นำเบอร์หนึ่งในตลาดสีทาอาคาร เคมีภัณฑ์ก่อสร้าง

กลุ่มบริษัท พราว โชว์ศักยภาพโครงการ Project Pineapple by Proud Group สนับสนุนหลักการ ESG อย่างเป็นระบบครบวงจร ยกระดับธุรกิจสู่ความยั่งยืน

กลุ่มบริษัท พราว ผู้นำในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภท Integrated Entertainment and Resort Destination ชั้นนำของประเทศไทย มุ่งดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึง ESG การดูแลสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมถึงความยั่งยืน (Sustainability)

บ้านเดียวได้เงินหมื่น 9 คน รวมเกือบแสน เผยซื้อข้าวสารหอมมะลิเป็นสิ่งแรก

ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ที่ อ.พล จ.ขอนแก่น หลังพบว่ามีผู้ที่ได้รับเงินตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ 10,000 บาทผ่านสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ ครอบครัวเดียวเกือบ 100,000 บาท ตามสิทธิ์ที่ได้รับ