ปกสีแดงฉานพร้อมตัวอักษร AI เป็นแสงขาวโพลนเพื่อตอกย้ำว่า AI อาจกำลังทำลายมนุษยชาตินั้นดึงดูดความสนใจของผู้คนได้ไม่น้อย
อย่างน้อยผมก็ต้องหยุดตั้งคำถามว่า พาดหัวขึ้นปกอย่างนี้ “แรงไปหน่อย” หรือเปล่า
ทำให้ต้องติดตามปฏิกิริยาของผู้คนที่เห็นปกนิตยสารฉบับนี้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาด้วย
บางคนวิพากษ์ผ่านทวิตเตอร์ว่า “พาดหัวขึ้นปกอย่างนี้เกินไปหน่อย อย่างนี้มันเฟกนิวส์นี่นา...”
อารมณ์ของผู้คนต่ออนาคตของ “ปัญญาประดิษฐ์” วันนี้ค่อนข้างคุกรุ่น
ที่เห็นว่าดีเลิศประเสริฐศรีก็มาก แต่ที่มองว่าเป็นมหันตภัยใหญ่หลวงก็มีไม่น้อยเช่นกัน
รายงานพิเศษของไทม์เล่มนี้ จงใจประเมินถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการแข่งขันกันอย่างบ้าคลั่งในการเป็นผู้ชนะในเกมเทคโนโลยีรอบนี้
โดยเปรียบเทียบว่า ในอดีตหลายๆ ประเทศแข่งกันพัฒนาและสั่งสมอาวุธที่ร้ายแรงขึ้นเรื่อยๆ
จนกลายเป็นการแข่งกันสร้างแสนยานุภาพอย่างไร้ขีดจำกัด หรือที่เรียกว่า arms race เพราะไม่มีใครยอมถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
แต่ในการแข่งกันเรื่อง AI นี้ ผู้ชนะอาจเป็นสมองกลที่เก่งมากจนกลายเป็นความฉลาดสายพันธุ์ใหม่ในโลก
ที่ทำให้มนุษย์เป็นเสมือนสายพันธุ์ชิมแปนซี ผลที่ตามมาก็คือมนุษยชาติก็จะกลายเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในที่สุด
รายงานของไทม์บอกว่า การที่บริษัทยักษ์ๆ เห็นถึงศักยภาพของ AI และกระโดดเข้าแข่งกันพัฒนากันอย่างเอาเป็นเอาตายในตอนนี้ อาจจะเข้าใจผิดคิดว่ามันเหมือนการแข่งขันด้านอาวุธ
การแข่งทำสงครามยังมีผู้ชนะและผู้แพ้
แต่ถ้าเป็นการแข่งสร้าง AI ที่ฉลาดมากขึ้นทุกวันจนเก่งกว่ามนุษย์
นั่นอาจหมายความว่าคนอาจแพ้กันหมด
รายงานนี้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายช่วยกันระดมสมองและตั้งสติให้ดี และต้องพัฒนาเทคโนโลยีนี้ด้วยความรอบคอบ
โดยไม่ต้องแข่งขันกันอย่างบ้าคลั่งเพียงเพื่อจะชนะกันทางด้านพาณิชย์
ในสัปดาห์เดียวกันนี้เอง ก็มีกลุ่มผู้นำในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีออกมาเตือนว่า เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่พวกเขาสร้างขึ้นอาจเป็นภัยคุกคามต่อมนุษยชาติในวันใดวันหนึ่งข้างหน้า
จึงควรพิจารณาว่ามันมีความเสี่ยงต่อสังคมที่อาจเทียบได้กับโรคระบาดและสงครามนิวเคลียร์
“การลดความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของมนุษย์จาก AI ควรมีความสำคัญระดับโลกควบคู่ไปกับความเสี่ยงระดับสังคมอื่นๆ เช่น โรคระบาดและสงครามนิวเคลียร์” ส่วนหนึ่งของถ้อยแถลงที่เผยแพร่โดย Center for AI Safety ยืนยัน
องค์กรนี้เป็นหน่วยงานไม่แสวงหาผลกำไร เป็นจดหมายเปิดผนึกลงนามโดยผู้บริหาร นักวิจัย และวิศวกรมากกว่า 350 คนที่ทำงานด้าน AI
ผู้ลงนามประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงจากเอไอชั้นนำ 3 ราย ได้แก่
Sam Altman หัวหน้าผู้บริหารของ OpenAI;
Demis Hassabis ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Google DeepMind;
และ Dario Amodei ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Anthropic
รวมถึง Geoffrey Hinton และ Yoshua Bengio นักวิจัย 2 ใน 3 คนซึ่งได้รับรางวัล Turing Award จากการบุกเบิกงานเกี่ยวกับโครงข่ายประสาทเทียม และมักถูกมองว่าเป็น “เจ้าพ่อ” ของ AI ยุคใหม่
แถลงการณ์ดังกล่าวมีขึ้นในช่วงเวลาที่มีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากปัญญาประดิษฐ์ ความก้าวหน้าล่าสุดในรูปแบบภาษาขนาดใหญ่ที่เรียกว่า - ประเภทของ AI ระบบที่ใช้โดย ChatGPT และแชตบอตอื่นๆ
ทำให้เกิดความกลัวว่าในไม่ช้านี้ AI อาจถูกใช้ในวงกว้าง เพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดและโฆษณาชวนเชื่อ หรืออาจทำให้คนตกงานนับล้าน
ChatGPT ซึ่งเป็นโมเดลภาษาปัญญาประดิษฐ์จากห้องปฏิบัติการวิจัย OpenAI เป็นข่าวเกรียวกราวตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงความสามารถในการตอบคำถามที่ซับซ้อน เขียนบทกวี สร้างโค้ด วางแผนวันหยุดพักผ่อนและแปลภาษา
GPT-4 ซึ่งเป็นเวอร์ชันล่าสุดที่เปิดตัวเมื่อกลางเดือนมีนาคม สามารถตอบสนองต่อรูปภาพได้ (และช่วยให้สอบเนติบัณฑิตได้ด้วย)
สองเดือนหลังจากการเปิดตัว ChatGPT บริษัท Microsoft ซึ่งเป็นนักลงทุนและหุ้นส่วนหลักของ OpenAI ได้เพิ่มแชตบอตที่คล้ายกัน ซึ่งสามารถสนทนาด้วยข้อความแบบปลายเปิดได้แทบทุกหัวข้อในเครื่องมือค้นหาทางอินเทอร์เน็ต Bing
“กวี” แชตบอตของ Google ที่เรียกว่า Bard เปิดตัวในเดือนมีนาคมสำหรับผู้ใช้จำนวนจำกัดในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ
เดิมมองว่าเป็นเครื่องมือสร้างสรรค์ที่ออกแบบมาเพื่อร่างอีเมลและบทกวี โดยสามารถสร้างแนวคิด เขียนบล็อกโพสต์ และตอบคำถามด้วยข้อเท็จจริงหรือความคิดเห็นได้
Baidu ยักษ์ใหญ่ด้านการค้นหาของจีนเปิดตัว Ernie ซึ่งย่อมาจาก Enhanced Representation through Knowledge Integration
แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนักเพราะทำงานไม่ค่อยจะได้ตามความคาดหวัง
เมื่อเห็นการแข่งกันออกสินค้า AI กันอย่างรุนแรงเช่นนี้ บางคนเชื่อว่า AI อาจมีพลังมากพอที่จะสร้างความปั่นป่วนในระดับสังคมได้ภายในเวลาไม่กี่ปี หากไม่ดำเนินการใดๆ เพื่อชะลอการรุกคืบของมัน
เดือนที่ผ่านมาเหล่า “เจ้าพ่อ AI” ได้พบกับประธานาธิบดี โจ ไบเดน และรองประธานาธิบดีกมลา แฮร์ริส เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับเอไอและระเบียบข้อบังคับที่กำกับดูแลทั้งหลาย
Altman แถลงต่อวุฒิสภาเตือนถึงความเสี่ยงของ AI ขั้นสูง และเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาตรการควบคุมดูแลการพัฒนาก่อนที่จะสายเกินแก้
แต่คนอีกกลุ่มหนึ่งก็โต้แย้งว่า เทคโนโลยี AI ยังไม่ถึงขั้นที่จะก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อสังคมในส่วนรวม
หลายคนแย้งว่า AI กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วจนแซงหน้าการกำกับดูแลขององค์กรมนุษย์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
อาการที่เห็นอยู่นี้จะเรียกว่า “ตระหนก” มากกว่า “ตระหนัก” ก็เห็นจะไม่ผิด
แต่ในเมื่อ “เจ้าพ่อเอไอ” เองออกมาส่งเสียงตะโกนดังลั่นอย่างนี้แล้ว เราๆ ท่านๆ ที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญก็คงต้องฟังอย่างตั้งใจโดยพร้อมเพรียงกันเสียแล้ว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เมื่อเวียดนามลุยปลูกข้าว คาร์บอนต่ำ, ไทยเราอยู่ไหน?
ข่าวที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทยมาจากเวียดนามหลายเรื่อง
ตัวเลขเศรษฐกิจปีหน้า ยังต้องลุ้นการแจกเงินหมื่น!
ขณะที่เรารอว่ามาตรการ “ปั๊มหัวใจ” ด้วยการแจกเงิน 10,000 บาท ผ่าน digital wallet ของรัฐบาลเศรษฐานั้น การประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจจากแบงก์ชาติก็ส่งสัญญาณอะไรหลายอย่าง
เริ่มพรุ่งนี้: มาตรการ CBAM ที่กระทบส่งออกไป EU
เส้นตายสำหรับการเริ่มต้นมาตรการของยุโรปอันเกี่ยวกับมาตรฐาน “โลกร้อน” ที่จะกระทบผู้ส่งออกไทยใกล้เข้ามาแล้ว
พักหนี้เกษตรกรรอบนี้จะได้ผล ดีกว่า 13 ครั้งที่ผ่านมาอย่างไร?
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติมาตรการ “พักหนี้เกษตรกร” 3 ปีทั้งต้นทั้งดอกแล้ว
ไฉนจาก ‘เลือกตั้งผู้ว่าฯ’ วันนี้ กลายเป็น ‘ผู้ว่าซีอีโอ’?
หนึ่งในนโยบายรัฐบาลที่กำลังได้รับการกล่าวขวัญอย่างกว้างขวางคือ “ผู้ว่าซีอีโอ”
Hard skills, Soft skills ไม่ใช่ Soft power
พอรัฐบาลเศรษฐาประกาศนโยบาย One Family One Soft Power (OFOS) หรือ “หนึ่งครอบครัว หนึ่งซอฟต์เพาเวอร์” คนในหลายๆ วงการก็มีคำถามว่า