สธ.แจงความพร้อมฉีดวัคซีนโควิดเด็ก 6 เดือนถึง 4 ปี 12 ตุลาคมนี้

สธ.ซักซ้อมแนวทางฉีดวัคซีนโควิดไฟเซอร์ฝาสีแดงเข้มในเด็ก 6 เดือน ถึง 4 ปี ก่อนเริ่มฉีด 12 ต.ค.ทั่วประเทศ

06 ต.ค.25​65 - ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานการประชุมชี้แจงแนวทางการให้บริการวัคซีนโควิด 19 ในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 4 ปี แก่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด โดยกล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2565 โรคโควิด 19 ได้ปรับจากโรคติดต่ออันตรายเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้การควบคุมโรคประสบความสำเร็จ คือ การฉีดวัคซีนโควิด 19 ซึ่งปัจจุบันฉีดได้กว่า 143 ล้านโดส ทำให้คนไทยส่วนใหญ่มีภูมิคุ้มกัน และปัจจุบันได้ขยายการฉีดวัคซีนในเด็กอายุ 6 เดือนถึง 4 ปี ซึ่งจะคิกออฟวันที่ 12 ต.ค.นี้ โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สธ.เป็นประธานที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี จึงมีการจัดประชุมชี้แจงแนวทางการให้บริการวัคซีนเด็กกลุ่มนี้แก่บุคลากรทางการแพทย์ทั้งประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมและสร้างความเชื่อมั่นในการให้บริการอย่างปลอดภัย สำหรับกลุ่มอื่นๆ พบว่าเมื่อโรคลดความรุนแรงลง ทำให้ความต้องการฉีดวัคซีนลดลงตามไปด้วย ดังนั้น ย้ำว่าเข็มกระตุ้นยังมีความจำเป็น ขอให้ฉีดกระตุ้นอย่างน้อย​ 4 เดือนจากเข็มล่าสุด โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 608 ควรรับถึงเข็มที่ 4 โดยขอให้พื้นที่ช่วยกันรณรงค์ฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 2 ล้านโดส ภายในสิ้นปี 2565

ด้าน นพ.ธเรศ กรัษนัยวริวงค์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า วัคซีนไฟเซอร์ฝาสีแดงเข้มสำหรับเด็กอายุ 6 เดือนถึง 4 ปี จะมาถึงวันที่ 7 ต.ค. 2565 เมื่อผ่านกระบวนการตรวจสอบรับรองรุ่นการผลิตจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จะจัดส่งไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง เพื่อให้กระจายต่อในพื้นที่ ตามจำนวนที่มีการแจ้งความประสงค์ และเริ่มคิกออฟพร้อมกัน วันที่ 12 ต.ค.นี้ ซึ่งขณะนี้มีผู้ปกครองสมัครใจให้เด็กรับวัคซีนแล้วเป็นจํานวนมาก โดยสามารถฉีดร่วมกับวัคซีนพื้นฐานชนิดอื่นได้

นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ปัจจุบันเด็ก 6 เดือน ถึง 4 ปี เป็นกลุ่มเดียวที่ยังไม่ได้รับวัคซีนซึ่งช่วงการระบาดของโอมิครอนพบว่าเด็กกลุ่มนี้มีการป่วยและอัตราเสียชีวิตสูงกว่าเด็กโต 3 เท่า สำหรับการซักซ้อมวันนี้ได้เน้นย้ำให้ฉีดวัคซีนตามแนวทาง โดยเด็กเล็กจะใช้ปริมาณวัคซีนน้อยลง คือขนาด 3 ไมโครกรัม จำนวน 0.2 มิลลิลิตร ฉีด 3 เข็ม เข็มสองห่างจากเข็มแรก 1 เดือน และเข็มสามห่างเข็มสอง 2 เดือน หลังฉีดให้สังเกตอาการ 30 นาที และติดตามต่อจนครบ 1 เดือน โดยให้จัดจุดบริการแยกจากกลุ่มวัยอื่น
เพื่อป้องกันความสับสนในการใช้วัคซีน สำหรับข้อกังวลเรื่องผลข้างเคียง สหรัฐอเมริกามีการฉีดและติดตามล้านกว่าโดส พบว่ามีผลข้างเคียงน้อยกว่าเด็กโต ไม่มีอาการแทรกซ้อนรุนแรงถึงเสียชีวิต ถือว่าปลอดภัยสำหรับเด็กเล็ก และยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะ MIS-C จากการติดเชื้อด้วย ทั้งนี้ ขอย้ำว่าหลังจากนี้มีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ จึงมีความเสี่ยงติดเชื้อมากขึ้นทั้งผู้ใหญ่และเด็ก แต่วัคซีนจะช่วยป้องกันไม่ให้ป่วยหนักได้ง่าย เมื่อเด็กไม่ป่วย พ่อแม่ผู้สูงอายุในบ้านจะลดความเสี่ยงด้วยเช่นกัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' แจง 5 ข้อ พูดเรื่องผลกระทบการวัคซีนโควิดทำไม ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

‘หมอมนูญ’ เตือนโควิดหลังสงกรานต์เปลี่ยนไป ใครมีอาการแบบนี้รีบตรวจ ATK

อาการของโรคโควิดเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่เป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คอ จมูก มากกว่าทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลม และปอด

ปลัดสธ. ลงพื้นที่ติดตามการให้ความช่วยเหลือ เหตุแอมโมเนียรั่วไหลในโรงงานน้ำแข็งชลบุรี

ที่จังหวัดชลบุรี นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์มณเฑียร คณาสวัสดิ์ ผู้ต

‘หมอมนูญ’ เผยผลติดตามสถานการณ์ 5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่  ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV)

‘หมอยง’ ย้ำโควิดยังสายพันธุ์โอมิครอน JN.1 ไม่รุนแรง หายไข้-ไอมาก 1 วัน ใส่แมสทำงานได้

โควิด 19 ได้เปลี่ยนแปลงลดความรุนแรงลง จนปัจจุบันความรุนแรงเท่ากับโรคไข้หวัดใหญ่ RSVและเป็นการระบาดตามฤดูกาล