'นพ.ธีระ' เตือนอย่ามุ่งเศรษฐกิจจนการ์ดป้องโควิดตก!

หมอธีระเตือนสติอย่าหน้ามืดตามัวเหยียบคันเร่งเศรษฐกิจจนลืมเรื่องสุขภาพประชาชน แนะให้ดูตัวอย่างต่างประเทศเร่งเปิดเสรีโดยไม่ป้องกัน ยอดติดเชื้อยอดดับทำสถิติใหม่

16 พ.ย.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 302,106 คน ตายเพิ่ม 612 คน รวมแล้วติดไป 640,885,762 คน เสียชีวิตรวม 6,617,258 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 16 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 93.43 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 76.79

...When health is at risk, everything is at risk...
การประคับประคองระบบเศรษฐกิจให้ดีขึ้น และอยู่รอดได้อย่างยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องพัฒนาเศรษฐกิจโดยลดความเสี่ยงต่อสุขภาพควบคู่ไปด้วย แต่หากหน้ามืดตามัว เหยียบคันเร่งเศรษฐกิจ โดยหลงไปกับกิเลสภาพลวง ทั้งๆ ที่การระบาดยังมากและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่กระตุ้นเตือนให้คนรู้เท่าทันกับสถานการณ์ การป้องกันตัวของประชาชนไม่เข้มแข็งพอ ก็จะเกิดปัญหาระบาดปะทุหนักขึ้นตามมาได้

บทเรียนจากประเทศต่างๆ ที่เสรีการใช้ชีวิต โดยไม่ได้ป้องกันตัว ก็ชี้ให้เห็นเป็นตัวอย่างระลอกแล้วระลอกเล่า เกิดติด ป่วย เสียชีวิต และ Long COVID สะสมมากขึ้น และจะสะท้อนกลับมาในรูปแบบค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพระยะยาวจากโรคเรื้อรัง และความทุพพลภาพที่เกิดขึ้นกับประชากรในภาพรวมของประเทศ

ประเทศที่เพิ่งเปิดเสรีท่องเที่ยว ก็ล้วนมีจำนวนติดเชื้อสูงขึ้น หลายเมืองสูงจนทำลายสถิติติดเชื้อรายวันเดิมที่เคยมีมา ดังนั้นไทยเราก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น จำเป็นต้องตระหนักถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเช่นกัน การป้องกันตัวระดับบุคคลจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ลดละเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง สถานที่เสี่ยง แออัด ระบายอากาศไม่ดี ไม่สบาย ควรแยกตัวจากคนอื่น ตรวจรักษาให้หายดีก่อนไปเรียนและทำงาน

ใช้ชีวิตอย่างมีสติ คอยสังเกตคนรอบข้าง หากเค้าไม่สบาย ก็ควรระวังเรื่องการไปคลุกคลีพบปะใกล้ชิด ใช้เวลาสั้นๆ นายจ้างควรดูแลลูกจ้างและลูกค้าให้ดี ใส่ใจ ถามไถ่สุขภาพ และจัดการดูแล ไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้นจะช่วยลดความเสี่ยงป่วยรุนแรง เสียชีวิต และ Long COVID

สำคัญมากคือ การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องระหว่างที่ใช้ชีวิตประจำวัน จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก
ไม่ติดเชื้อ...ย่อมดีที่สุด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สสส. ร่วมกับ จุฬาฯ ร่วมรณรงค์ World Kidney Day สร้างการรับรู้ควบคู่การดูแล เร่งสื่อสารการใช้ยาเพื่อลดความเสี่ยงโรคไต

“วันไตโลก ปี 68” คนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นจาก 9.8 แสนคน เป็น 1.13 ล้านคน สูญเสียปีสุขภาวะเร็วขึ้น 3.14 เท่า! เหตุบริโภคเค็ม-ใช้ยาไม่ถูกต้อง-เกินความจำเป็น เผยประชาชนเข้าใจเรื่องการใช้ยาที่ถูกต้องแค่ 64.9% สสส. สานพลัง จุฬาฯ สร้างการรับรู้ควบคู่การดูแล เร่งสื่อสารการใช้ยาเพื่อลดความเสี่ยงโรคไต

อาจารย์หมอจุฬาฯ เตือนไข้หวัดใหญ่ระบาดหนัก ฉีดวัคซีนไม่พอ ต้องป้องกันตัวเองด้วย

วัคซีนอย่างเดียวไม่พอที่จะยับยั้งการระบาด แต่พฤติกรรมป้องกันตัว ใส่ใจสุขภาพ มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าวัคซีน

กัลฟ์ จับมือ ทันตะ จุฬาฯ สานต่อโครงการ GULF Sparks Smiles ปีที่ 5 มอบรอยยิ้มให้คนพิเศษในวันแห่งความรัก ตอกย้ำความมุ่งมั่นสร้างโอกาสอย่างเท่าเทียม

บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ กัลฟ์ ร่วมกับ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผวา ‘พิรงรองเอฟเฟกต์’ ลาม

จุฬาฯ เปิดเวทีถก “พิรงรองเอฟเฟกต์” จวกยับกฎหมาย กสทช.ล้าหลัง ไม่ตอบโจทย์ ไร้อำนาจคุม OTT ทีวีดิจิทัลทรุดหนัก อุตสาหกรรมสื่อส่อเค้าร่อแร่ อาจารย์นิติฯ ชี้คดีนี้อาจส่งผลไกล ต่อไป จนท.รัฐอาจลังเลใช้อำนาจ กลัวเสี่ยงถูกฟ้องร้อง

'นิเทศ จุฬาฯ' แถลงการณ์ย้ำจุดยืน จัดเสวนา 'พิรงรอง Effect'

คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกแถลงการณ์ว่า ตามที่บริษัท ทรูดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด ได้ยื่นฟ้อง ศ.กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)