'หมอยง' ชี้โควิดเพิ่มขึ้นตามฤดูกาล พีกที่ 2 ไม่มากเท่าหน้าฝน

21 พ.ย. 2565 – ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 เมื่อโรคเพิ่มขึ้นตามฤดูกาล

เมื่อนักเรียนเปิดเทอม และเข้าสู่ฤดูหนาว โรค covid-19 จะเพิ่มขึ้นตามฤดูกาล ในพีกที่ 2 แต่ก็จะไม่มากเท่าในฤดูฝนที่ผ่านมาหรือพีคแรก และก็จะลดลงหลังเดือนกุมภาพันธ์

การศึกษาของศูนย์ไวรัสที่ทำอยู่ ร่วมกับจังหวัดชลบุรี พบว่าประชากรผู้ใหญ่ที่อายุเกิน 15 ปีไปแล้ว เกือบทั้งหมดหรือ 98 – 99 เปอร์เซ็นต์มีภูมิต้านทานที่ตรวจพบได้ จากการฉีดวัคซีนและหรือติดเชื้อ ยกเว้นในกลุ่มที่อายุน้อยกว่า 5 ปี มีถึง 35% ที่ยังไม่มีภูมิต้านทาน ต่อเชื้อโควิค 19 หรือไม่เคยติดเชื้อมาก่อนนั่นเอง

สถานการณ์โดยทั่วไป จะไม่รุนแรง เพราะมีภูมิต้านทาน ยกเว้นในกลุ่มเปราะบางมีโรคประจำตัว เช่น โรคไตเรื้อรังที่ต้องฟอกไต โรคปอดโรคหัวใจหรือ 608 ที่จะทำให้โรครุนแรง เช่นเดียวกันกับไข้หวัดใหญ่

แม้ว่ามีรายงาน การกลายพันธุ์ของไวรัส ในที่ต่างๆ ทั่วโลก แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานใด ที่พบว่าไวรัสที่กลายพันธุ์ เพิ่มความรุนแรงของโรค การกลายพันธุ์ส่วนใหญ่จะทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำได้

สภาพทั่วไป ทุกสิ่งใกล้จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ด้วยการอยู่กับโรคโควิด 19 ที่เหมือนกับโรคทางเดินหายใจโรคหนึ่ง ประชากรส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานหรือการติดเชื้อ การติดเชื้อในประชากรขณะนี้อยู่ที่ประมาณร้อยละ 70 ประชากรส่วนใหญ่ได้ทั้งวัคซีนและการติดเชื้อ การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นทุกวันนี้ น้อยกว่าการติดเชื้อในธรรมชาติ การติดเชื้อก็เป็นการกระตุ้นสร้างภูมิต้านทานให้กับประชากรไปพร้อมกัน

การติดเชื้อซ้ำเกิดขึ้นได้ แต่โอกาสติดเชื้อจะน้อยกว่าคนที่ไม่เคยติดเชื้อ และหรือไม่เคยฉีดวัคซีนเลย เมื่อสัมผัสโรคโควิด 19

ทุกชีวิตต้องเดินหน้า การเปลี่ยนถ่ายเข้าสู่ภาวะปกติ ก็คงจะค่อยเป็นค่อยไป เช่นการใส่หน้ากากอนามัย ขณะนี้ถ้าอยู่ในกลุ่มคนจำนวนมาก ควรใส่หน้ากากอนามัย แต่ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง สวนสาธารณะ ชายทะเล ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใส่ ให้พิจารณาตามสถานการณ์ และความสมัครใจ

สิ่งที่จะต้องทำอย่างยิ่งคือ ผู้ป่วย หรือเมื่อป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ ควรใส่หน้ากากอนามัยทุกราย ไม่ว่าโรคทางเดินหายใจนั้นจะเป็น covid หรือไม่ เป็นแนวทางปฏิบัติที่ควรทำ เพื่อป้องกันไม่ให้แพร่กระจายโรคไปสู่ผู้อื่น

พบผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น ความรุนแรงของโรคก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น และต่อไปก็จะเหมือนโรคทางเดินหายใจโรคหนึ่ง ที่พบได้ตามฤดูกาล

การให้วัคซีนป้องกันโรค มีความจำเป็นอย่างยิ่งในกลุ่มเปราะบาง 608 รวมทั้งเด็กเล็ก การให้วัคซีนยังเป็นไปด้วยความสมัครใจ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โควิดสงกรานต์พุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 849 ราย

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 7 - 13 เมษายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 849 ราย

โควิดยังพุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 728 ราย ผู้สูงอายุดับ 2 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 24 - 30 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่

‘หมอยง’ ชี้แบคทีเรียกินเนื้อ ไม่ใช่โรคใหม่ ส่วนใหญ่เกิดกับผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ

แบคทีเรียกินเนื้อ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ไม่ใช่โรคใหม่ ส่วนใหญ่เกิดกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

‘หมอยง’ ย้ำโควิดยังสายพันธุ์โอมิครอน JN.1 ไม่รุนแรง หายไข้-ไอมาก 1 วัน ใส่แมสทำงานได้

โควิด 19 ได้เปลี่ยนแปลงลดความรุนแรงลง จนปัจจุบันความรุนแรงเท่ากับโรคไข้หวัดใหญ่ RSVและเป็นการระบาดตามฤดูกาล

โควิดพุ่ง! ไทยติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 630 ราย ดับเพิ่ม 5 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 17 - 23 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 630 ราย