โหมโรงกันตั้งแต่ปีเก่า จนเข้าสู่ปีใหม่ พรรคร่วมฝ่ายค้าน นำโดย พรรคเพื่อไทย การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลโดยไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 ภายใต้ยุทธการ ‘กระชากหน้ากากคนดี’ เพื่อให้ข้อเสนอแนะ ติติง รัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา และคณะรัฐมนตรี บริหารราชการ 3-4 ปีที่ผ่านมา
พรรคร่วมฝ่ายค้าน-พรรคเพื่อไทย เตรียมหัวข้ออภิปรายไม่ไว้วางใจครอบคลุมทุกมิติ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การไม่ปฏิบัติตามคำแถลงรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา ประเด็นที่คาบเกี่ยวอาจส่อไปในทาง ทุจริตคอร์รัปชัน เอื้อประโยชน์พวกพ้อง ฯลฯ
พรรคเพื่อไทย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และคณะทำงานได้ร่วมวางเอาไว้ โดยขุนพลนักอภิปรายของพรรคเพื่อไทยจะยังไม่สรุปผู้อภิปราย แต่คาดกันว่าน่าจะเป็นบุคคลหน้าเดิมที่ผ่านเวทีอภิปรายมา
นพ.ชลน่าน นายสุทิน คลังแสง นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา นายสมคิด เชื้อคง นายชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ ส.ส.อุบลราชธานี นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ ส.ส.เชียงราย นายสงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน นายนิยม เวชกามา ส.ส.สกลนคร นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ ส.ส.เลย นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม. นางสาวจิราพร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด เป็นต้น
เป็นส่วนผสมระหว่าง ส.ส.กลุ่มผู้มีประสบการณ์การเมือง และ ส.ส.กลุ่มคนรุ่นใหม่ รายชื่อเบื้องต้นคงจะไม่หนีไปจากนี้มากนัก ช่วงเวลาการอภิปราย เพื่อไทยได้เคยหารือเบื้องต้นกับตัวแทนรัฐบาล เห็นตรงกันว่าควรเป็นหลังจากเทศกาลตรุษจีน 22 ม.ค.ไปแล้ว ซึ่งจะไปตกที่ช่วงกุมภาพันธ์ ถือเป็นช่วงเวลาเหมาะสม ล่าสุด นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล)
“คาดว่าน่าจะได้อภิปรายวันที่ 15-16 ก.พ. หรือวันที่ 23-24 ก.พ. โดยวิปรัฐบาลยืนยันให้ใช้เวลาประมาณ 2 วัน จึงขอให้ได้อภิปรายกันอย่างเต็มที่ ส่วนประเด็นที่ฝ่ายค้านและนักวิชาการ ขอให้นายกรัฐมนตรีอย่ายุบสภาผู้แทนราษฎรหนีการอภิปรายมาตรา 152 นั้น เมื่อมีหนังสือจาก ครม.มา จึงอยากเรียนด้วยความมั่นใจว่า คงไม่ยุบสภาผู้แทนราษฎรหนีการอภิปรายแน่นอน”
แม้ฝ่ายรัฐบาลจะเคาะวันอภิปรายเบื้องต้น กลางเดือนหรือปลายเดือนกุมภาพันธ์ แต่ยังไม่ตรงใจฝ่ายค้าน อยากได้วันอภิปรายเร็วกว่านั้น พร้อมขอเพิ่มวันอภิปรายอย่างน้อยต้องได้ 3 วัน คือช่วงวันที่ 1-3 ก.พ. ถือเป็นวันที่ลงตัว เหมาะสมกว่า ส.ส.ฝ่ายค้านให้เหตุผลว่า มีข้อมูลจำนวนมาก เวลาที่รัฐบาลระบุมานั้นไม่เพียงพอ
รัฐมนตรีที่อยู่ในข่ายโดนอภิปราย ครั้งนี้ต่างจากการอภิปรายแบบลงมติ หรือศึกซักฟอก จะสามารถปูพรมลงรายละเอียดไปได้ทุกคน ไม่ต้องโฟกัสเป็นพิเศษ ล็อกเป้ารัฐมนตรีจำนวนเท่านั้นเท่านี้ สมควรโดนอภิปราย มีใครบ้าง แต่เป้าหมายหลักยังคงเป็น พล.อ.ประยุทธ์อย่างแน่นอน
รัฐมนตรีที่จะโดนไปด้วย มีการเก็งหวย กลุ่มที่โดนล็อกเป้าหนีไม่พ้น นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดีอีเอส นายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.พาณิชย์ นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รมว.พลังงาน เป็นต้น คงจะถูกเพ่งเล็งมากเป็นพิเศษ
ด้วยข้อกล่าวหา การบริหารงานบกพร่อง ปล่อยปละละเลยให้หน่วยงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา กระทำการไม่เหมาะสม ในการใช้งบประมาณ การแสวงหาผลประโยชน์ ส่อไปในทางผิดวินัยราชการ มีการเอื้อประโยชน์พวกพ้อง กลุ่มทุน เจ้าสัว การบริหารงานผิดพลาด ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดปัญหาเหลื่อมล้ำ ปากท้อง ส่งผลกระทบต่อประชาชน ส่งผลในแง่เศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม ฯ
แกนนำในฝ่ายรัฐบาลออกมาย้ำชัดว่า ฝ่ายค้านจะได้อภิปราย รัฐบาลไม่มียุบสภาหนี ไม่ว่าอย่างไร การอภิปรายครั้งนี้ของพรรคร่วมฝ่ายค้าน ที่หวังจะใช้เวทีสภาประจานรัฐบาลนั้น ฝ่ายค้านก็ถูกตั้งข้อสังเกตกลับเช่นกันว่า หวังแค่ประจานผลงานรัฐบาลประยุทธ์มาตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ที่สร้างปัญหาให้ประชาชนอย่างมากมายหลายด้าน อาจไม่มีข้อมูลที่หวือหวาสักเท่าไหร่ อาจจะหยิบยกจาก ข่าวสาร ปมประเด็นข่าวฉาวรายวันมาขยายผล ต่อยอด โดยใช้เวทีนี้วอร์มเครื่อง เช็กเรตติ้ง หาเสียง ตอกย้ำความบกพร่องรัฐบาลประยุทธ์ที่ครองอำนาจรวมทั้งหมดเกือบ 8 ปี แล้วให้ประชาชนไปตัดสินใจในวันเข้าคูหากาบัตรเลือกตั้ง
ฝ่ายค้าน-เพื่อไทย พุ่งเป้าไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ส่วนรัฐมนตรีคนอื่นโฟกัสรัฐมนตรีที่เป็นพรรคคู่แค้นทางการเมือง โดยหยิบยกเอาข่าวฉาวต่างๆ ที่ปรากฏผ่านสื่อมาขยายผลเจาะลึกให้เห็นถึงความบกพร่องของรัฐบาล ภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์และพรรคร่วมรัฐบาล ที่ถือเป็นศัตรูทางการเมือง โดยเฉพาะภูมิใจไทย
สำหรับพี่ใหญ่ในกลุ่ม 3 ป. บิ๊กป้อม-พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลหลายกระทรวง หลายหน่วยงาน จะโดนถล่มมากน้อยแค่ไหน เพราะถือเป็นคีย์แมนคนสำคัญและหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ พรรคแกนนำในรัฐบาล
แม้แกนนำพรรคเพื่อไทยยืนยันว่า พล.อ.ประวิตรอยู่ในข่ายถูกอภิปรายเฉกเช่นรัฐมนตรีในรัฐบาลคนอื่นๆ แต่คำถามต่อมาคือ เพื่อไทยจะระดมขุนพลนักอภิปรายถล่ม จัดหนักจัดเต็ม เอาให้ตายคาเวทีสภา เหมือนกับ พล.อ.ประยุทธ์หรือไม่
หรือจะอภิปรายพอเป็นพิธี ออมมือ รั้งไว้ซึ่งไมตรี ท่ามกลางกระแสข่าวสัญญาใจ พันธมิตรทางการเมือง ระหว่างบิ๊กป้อม-เพื่อไทย-คนทางไกล โยงไปถึง "บิ๊กดีล" การรวมขั้วตั้งรัฐบาลสมัยหน้ารุนแรงเหลือเกิน!!!.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ควักใบแดงถีบพ้นรัฐบาล ในโฟกัส"พีระพันธุ์-รทสช." ทักษิณจ้องยึด"ก.พลังงาน"
แวดวงการเมืองต่างเทน้ำหนักไปทางเดียวกัน โดยมองว่าน่าจะเป็นจริงอย่างที่ อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ-รมว.มหาดไทยและหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวกับสื่อมวลชนว่า “สัญญาณเตือน-เตรียมควักใบแดง ถีบออกจากรัฐบาล” ของทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทยตัวจริง
พท.ฝัน‘หน่อย’ ชิงอบจ.โคราช ในนามเพื่อไทย
“อนุทิน” ตอกย้ำ “ภูมิใจไทย” ไม่ลงเล่นสนามท้องถิ่น เด็กเพื่อไทยยังหวัง
รัฐบาลลุยขายฝันหนีบ่วงการเมือง แกนนำม็อบขยับจัดทัพเดินหน้าไล่
การแถลงผลงานรัฐบาลในรอบ 3 เดือนของ อุ๊งอิ๊ง-น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ภายใต้ชื่อ “2568 โอกาสไทย ทำได้จริง” ที่สตูดิโอ 4 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT)
นโยบายที่“อิ๊งค์”ไม่กล้าพูด เรื่องสำคัญกว่าผลงาน90วัน
บรรดากองเชียร์รัฐบาลเพื่อไทยอาจจะชื่นชม หลัง “แพทองธาร ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี เล่นใหญ่ เปิดสตูดิโอ 4 ของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) ยืนเดี่ยวไมโครโฟน
'อนุทิน' ลั่นใครผิดว่าไปตามผิดปมเด็ดชีพ 'สจ.โต้ง'
มท.1 ยังไม่ทราบปม 'สจ.โต้ง' ถูกยิงดับคาบ้าน 'สุนทร วิลาวัลย์' ขอให้ ตร.สืบสวนก่อน ยันทุกอย่างเดินตามกฏหมาย ไม่มีช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นพวกใคร
แถลงผลงาน3เดือน‘รัฐบาลอิ๊งค์’ โชว์อนาคตประเทศ รอดหรือร่วง?
ได้เวลาตีปี๊บผลงานรัฐบาล 90 วันของ “นายกฯ อิ๊งค์” แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี วันนี้ 12 ธันวาคม 2567 ในหัวข้อ “2568 โอกาสไทย ทำได้จริง” (2025 Empowering Thais : A Real Possibility) ซึ่งจัดเป็นครั้งแรกของรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ที่สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) พร้อมถ่ายทอดสดให้คนไทยได้รับชม