อุตฯเกษตร ค้าปลีก โรงแรม ก่อสร้าง เสี่ยงกำไรลด 5-15% จากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 5% จากอัตราเดิม เริ่ม 1 ต.ค.65 ส่งผลต้นทุนเพิ่มเฉลี่ยราว 0.5% และกระทบกำไรจากการดำเนินงานให้ลดลงเฉลี่ยราว 4.6% กลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตร ค้าปลีก โรงแรม ร้านอาหาร ก่อสร้าง อาจมีกำไรลดลงมากกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม หรือลดลง 5%-15

30 ส.ค. 2565 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ ระบุว่า ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 อัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแรงงานไทยจะถูกปรับขึ้นในรอบกว่า 2 ปีจากครั้งหลังสุดเมื่อ 1 มกราคม 2563 หากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามข้อเสนอของมติคณะกรรมการค่าจ้าง ที่พิจารณาให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันปรับขึ้นมาที่ 328-354 บาท หรือเฉลี่ยทั้งประเทศ (77 จังหวัด) อยู่ที่ 337 บาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 5% จากอัตราเดิม

การมีผลบังคับใช้ของอัตราใหม่ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ทำให้ในปี 2565 ค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยทั้งประเทศจะอยู่ที่ 325 บาท/วัน (9 เดือนแรก อยู่ที่ 321 บาท) เพิ่มขึ้นราว 1.3% จากในปี 2564 ขณะที่ ในปี 2566 ค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยทั้งประเทศจะเพิ่มขึ้นเป็น 337 บาท/วันเต็มปี หรือเพิ่มขึ้น 3.7% จากปี 2565 ในกรณีที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอีกระหว่างทาง

การเพิ่มขึ้นในแต่ละจังหวัดในอัตราที่ไม่เท่ากัน ทำให้ภาคอุตสาหกรรมที่มีแหล่งที่ตั้งของกิจการต่างกัน จะได้รับผลกระทบที่แตกต่างกัน โดยเบื้องต้นกิจการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล จะได้รับผลกระทบด้านต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่มากกว่าหากเทียบกับพื้นที่อื่น

ทั้งนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า อุตสาหกรรมที่พึ่งพาแรงงานในสัดส่วนสูง ไม่ว่าจะเป็น การทำเกษตร (กสิกรรม ประมง เป็นต้น) ค้าปลีก โรงแรม ร้านอาหาร ก่อสร้าง จะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากกำไรที่อาจลดลงราว 5%-15% หรือมากกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม ขณะที่บางกิจการในอุตสาหกรรมโรงแรมและร้านอาหาร เป็นกลุ่มที่เผชิญความท้าทายสูง เนื่องจากจังหวะเวลาของการพลิกกลับมาทำกำไรอาจถูกเลื่อนออกไปจากเดิมจากประเด็นด้านต้นทุนที่สูงขึ้น

ทั้งนี้ ในความเป็นจริง ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับต้นทุนที่ปรับขึ้นหลายด้าน แต่อาจสามารถขยับราคาสินค้าขึ้นได้จำกัด ซึ่งตัวเลขข้างต้น เป็นการวิเคราะห์ผลกระทบเบื้องต้นโดยเน้นไปที่ต้นทุนแรงงาน ภายใต้สมมติฐานว่าปัจจัยอื่นๆ ที่เหลือคงที่ และกำไรจะลดลงหากธุรกิจไม่สามารถขยับราคาขายได้

ไม่เพียงต้นทุนแรงงาน ที่จริงแล้วภาคอุตสาหกรรมได้เผชิญแรงกดดันด้านต้นทุนมาก่อนหน้านี้และยังมีแนวโน้มที่ต้นทุนจะยังคาอยู่ในระดับสูง ทั้งวัตถุดิบและพลังงาน และถัดจากนี้อาจยังมีต้นทุนทางการเงิน ท่ามกลางสถานการณ์ฝั่งรายได้ที่ในภาพรวมแม้จะเริ่มทยอยฟื้นตัวดีขึ้นตามลำดับ แต่ก็ยังมีความเปราะบางและเป็นแนวโน้มการฟื้นตัวที่ยังไม่แข็งแรง นั่นหมายความว่า การรักษาความสามารถในการทำกำไรจะยังคงเป็นโจทย์ท้าทายเฉพาะหน้าสำหรับภาคอุตสาหกรรมต่อไป

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ประเด็นเรื่องแรงงานจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ นับจากนี้ เนื่องจากโครงสร้างประชากรไทยจะเริ่มมีจำนวนที่ลดลง และแรงงานมีอายุมากขึ้นหรือเป็นสังคมสูงวัยสุดยอด (Hyper-aged society) ในอีกไม่ถึง 10 ปีข้างหน้า ดังนั้น การเพิ่มผลิตภาพแรงงานจึงเป็นโจทย์สำคัญที่ภาคอุตสาหกรรมต้องเร่งดำเนินการตั้งแต่ตอนนี้หากพอจะทำได้ เพื่อที่จะรักษาความสามารถในการแข่งขันและอยู่รอดได้ท่ามกลางสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนรวดเร็วและซับซ้อนขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา การเพิ่มขึ้นของผลิตภาพแรงงานในอุตสาหกรรมไทยยังมีความไม่เท่ากัน และในระดับประเทศถือว่าเพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่าเวียดนาม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ถกค่าแรง 400 บาทล่ม ประชุม 3 ฝ่ายสะดุด!

นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ชุดที่ 22 เป็นประธานการประชุมบอร์ดค่าจ้าง ครั้งที่ 9/2567 ที่กระทรวงแรงงาน เพื่อพิจารณาปรับอัตรา

พิพัฒน์ เรียกร้องนายจ้าง เห็นใจลูกจ้าง ขึ้นค่าแรง 400 บาท วอนเข้าร่วมประชุมไตรภาคี พรุ่งนี้ 13.30 น. แย้ม ก.คลัง เห็นด้วยมาตรการบรรเทาผลกระทบนายจ้าง

วันที่ 19 กันยายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าการขึ้นค่าแรง 400 บาทว่า ในวันพรุ่งนี้ (20 ก.ย.67) เวลา 13.30

พิพัฒน์ ย้ำ 1 ต.ค.ค่าแรง 400 บาท เผยมีข้อเสนอ 7 มาตรการ ช่วยบรรเทาผลกระทบทั้งนายจ้าง-ลูกจ้าง

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงข้อเสนอจากกระทรวงแรงงาน เกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือนายจ้างกรณีขึ้นค่าแรง 400 บาทในช่วงเดือนตุลาคม 2567 ว่า กระทรวงแรงงานได้รับข้อหารือจากผู้ประกอบการ