พาณิชย์เปิด 8 ธุรกิจสุดปังปี 66

“พาณิชย์”วิเคราะห์การเติบโตของธุรกิจในปี 65 พบ มี 3 กลุ่ม 8 ประเภทธุรกิจ ที่จะขยายตัวได้ดีต่อเนื่องในปี 66 เหตุเป็นธุรกิจที่รองรับไลฟ์สไตล์ของคนที่เน้นความสะดวกสบาย รองรับการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและการผ่อนคลายมาตรการคุมโควิด-19 และการปกป้องสิ่งแวดล้อม

8 ม.ค. 2566 – นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าทำการวิเคราะห์แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจในแต่ละกลุ่ม เพื่อนำมาวางนโยบายส่งเสริมธุรกิจให้สอดคล้องกับทิศทางในอนาคต โดยผลจากการวิเคราะห์สถิติการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ งบการเงินและผลประกอบการของธุรกิจ รวมถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจอื่น ๆ และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ในปี 2565 ที่ผ่านมา พบว่า มีธุรกิจที่น่าสนใจและมีแนวโน้มเติบโตได้ดีในปี 2566 จำนวน 3 กลุ่ม และแยกออกได้เป็น 8 ประเภทธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เน้นความสะดวกสบาย เป็นธุรกิจที่รองรับการผ่อนคลายมาตรการคุมโควิด-19 และการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว และเป็นธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการปกป้องสิ่งแวดล้อมและนวัตกรรม
สำหรับกลุ่มที่ 1 เป็นธุรกิจเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ (ไลฟ์สไตล์) และสอดรับกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้บริโภคปัจจุบันที่เน้นความคล่องตัว สะดวกสบาย แบ่งเป็นธุรกิจ 4 ประเภท ได้แก่ 1.อาหารแช่แข็ง อาทิ สัตว์น้ำ เนื้อสัตว์ อาหาร ผลไม้และสัตว์ โดยปี 2565 มีธุรกิจจัดตั้งใหม่จำนวน 99 ราย เพิ่ม 87% ทุนจดทะเบียนรวม 321 ล้านบาท 2.ธุรกิจด้านสุขภาพ และความงาม เช่น บริการทางการแพทย์ สปาและความงาม และสถานที่ออกกำลังกาย ปี 2565 มีธุรกิจจัดตั้งใหม่จำนวน 1,262 ราย เพิ่ม 70% ทุนจดทะเบียนรวม 2,787 ล้านบาท 3.ธุรกิจด้านยาสมุนไพร เช่น ปลูกพืชที่ใช้เป็นยารักษาโรค ขายเภสัชภัณฑ์และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ ปี 2565 มีธุรกิจจัดตั้งใหม่จำนวน 2,126 ราย เพิ่ม 8% ทุนจดทะเบียนรวม 4,992 ล้านบาท และ 4.ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยง เช่น รับดูแลสัตว์เลี้ยงและอาหารสัตว์ ปี 2565 มีธุรกิจจัดตั้งใหม่จำนวน 468 ราย เพิ่ม 36% ทุนจดทะเบียนรวม 2,796 ล้านบาท

กลุ่มที่ 2 เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว การประชุม การจัดเลี้ยง ได้รับอานิสงส์จากมาตรการควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่อนคลายลง และนโยบายส่งเสริมให้เกิดการเดินทางในประเทศและระหว่างประเทศ การเปิดประเทศของจีนในปีนี้ ส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น อีกทั้งช่วงที่ผ่านมา เริ่มมีการจัดงานประชุมใหญ่ และงานจัดแสดงสินค้าต่าง ๆ เพิ่มขึ้น โดยมีธุรกิจที่มีแนวโน้มขาขึ้น 2 ประเภท ได้แก่ 1.ธุรกิจด้านการท่องเที่ยว เช่น นำเที่ยว โรงแรม รีสอร์ต เกสต์เฮ้าส์ ร้านอาหาร และที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยปี 2565 มีธุรกิจจัดตั้งใหม่จำนวน 4,852 ราย เพิ่ม 82% ทุนจดทะเบียนรวม 11,003 ล้านบาท และ 2.ธุรกิจเกี่ยวกับการจัดงาน การประชุม กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดเลี้ยง จัดประชุม การแสดงธุรกิจ สินค้า การถ่ายภาพ โดยปี 2565 มีธุรกิจจัดตั้งใหม่จำนวน 1,830 ราย เพิ่ม 20% ทุนจดทะเบียนรวม 2,773 ล้านบาท

กลุ่มที่ 3 เป็นธุรกิจที่ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม จากเทรนด์ตลาดโลกที่หันมาแข่งขันด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่า นวัตกรรมต่าง ๆ ที่สร้างมาเพื่อทดแทนการใช้วัสดุจากธรรมชาติและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยส่งผลดีกับธุรกิจที่เกี่ยวข้อง 2 ประเภท ได้แก่ 1.ธุรกิจการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การนำวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ การให้คำปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม โดยปี 2565 มีธุรกิจจัดตั้งใหม่จำนวน 133 ราย เพิ่ม 51% ทุนจดทะเบียนรวม 405 ล้านบาท และ 2.ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า เช่น ผลิตยานยนต์ส่วนบุคคลและยานยนต์ชนิดอื่น ๆ ผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ แบตเตอรี่และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง สอดรับกับยอดการจองยานยนต์ไฟฟ้าในงาน Motor Expo 2022 ที่สูงถึง 16% ของยอดจองในงานทั้งหมด โดยปี 2565 มีธุรกิจจัดตั้งใหม่จำนวน 62 ราย จำนวนรวมของธุรกิจที่จัดตั้งใหม่ เพิ่ม 55% ทุนจดทะเบียนรวม 5,923 ล้านบาท

ทั้งนี้ ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค.2565 ธุรกิจ 8 ประเภทที่กล่าวในข้างต้น มีจำนวนธุรกิจคงอยู่รวมกันทั้งสิ้น 94,035 ราย ทุนจดทะเบียนสูงถึง 1,326,042 ล้านบาท แบ่งเป็น 1.ธุรกิจอาหารแช่แข็ง จำนวน 838 ราย ทุนจดทะเบียน 55,875 ล้านบาท 2.ธุรกิจด้านสุขภาพ และความงาม จำนวน 7,707 ราย ทุนจดทะเบียน 47,896 ล้านบาท 3.ธุรกิจด้านยาสมุนไพร จำนวน 14,418 ราย ทุนจดทะเบียน 112,678 ล้านบาท 4.ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยง จำนวน 2,951 ราย ทุนจดทะเบียน 29,330 ล้านบาท 5.ธุรกิจด้านการท่องเที่ยว จำนวน 45,785 ราย ทุนจดทะเบียน 794,047 ล้านบาท 6.ธุรกิจเกี่ยวกับการจัดงาน การประชุม กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง จำนวน 20,421 ราย ทุนจดทะเบียน 114,121 ล้านบาท 7.ธุรกิจการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม จำนวน 1,158 ราย ทุนจดทะเบียน 10,302 ล้านบาท และ 8.ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า จำนวน 757 ราย ทุนจดทะเบียน 161,789 ล้านบาท

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ภูมิธรรม' ถกทูตเช็ก ชวนลงทุน EEC พร้อมดันซอฟต์พาวเวอร์ไทยสู่ตลาดยุโรป

ภูมิธรรมหารือทูตเช็ก ชวนลงทุน EEC ดันซอฟต์พาวเวอร์ มวยไทย อาหารไทย พร้อมเร่งเจรจา FTA ไทย-อียู สร้างรายได้ให้ประเทศ

พาณิชย์ตรวจเข้ม การขนย้ายมันสำปะหลังและสินค้าเกษตรที่ควบคุม เพื่อสร้างความเป็นธรรมแก่เกษตรกร

นายอุดม ศรีสมทรง รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ตามที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายภูมิธรรม เวชยชัย) ได้มีนโยบายให้กรมการค้าภายใน

สนค. เผยอาเซียนเนื้อหอม แนะเร่งเตรียมพร้อมทุกมิติ ดึงลงทุนในไทย

สนค. เผยว่า FDI ส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในระยะยาว โดยปี 2565 ไทยมีมูลค่า FDI เป็นอันดับที่ 5 ของภูมิภาคอาเซียน หดตัวร้อยละ 31.5 ขณะที่มูลค่า FDI ของภูมิภาคอาเซียนขยายตัวร้อยละ 4.6 ซึ่งแนวโน้มการลงทุนในไทยยังมีทิศทางที่ดีจากการขยายตัวถึงร้อยละ 72 ของยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศในปี 2566 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ พร้อมแนะให้เร่งส่งเสริมการลงทุนเชิงรุก ลดอุปสรรค ขยายคู่ FTA

“นภินทร“ หนุน ASEAN BAC ไทย ขับเคลื่อนการค้าดิจิทัล ยกระดับอาเซียนรับการค้ารูปแบบใหม่ ย้ำ

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2567 นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เข้าร่วมการหารือของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน ASEAN BAC