ส่งออก ม.ค. หดตัว สรท.ยังหวังผลักดันให้ปี 66 กลับมาเติบโต 1-2%

7 มีนาคม 2566 – นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนมกราคม 2566 กับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) พบว่า การส่งออกมีมูลค่า 20,249.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว 4.5% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 700,127 ล้านบาท หดตัวตัว 0.9% (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย พบว่าการส่งออกในเดือนมกราคมหดตัว 3.0%) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 24,899.1 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 5.5% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 871,430 ล้านบาท ขยายตัว 9.4% ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนมกราคม 2566 ขาดดุลเท่ากับ 4,649.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเท่ากับ 171,303 ล้านบาท

อนึ่ง สรท. ยังหวังผลักดันให้การส่งออกรวมทั้งปี 2566 เติบโตระหว่าง 1-2% (ณ เดือนมีนาคม 2566) โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญ ได้แก่ 1) ภาวะเศรษฐกิจโลกยังคงมีความไม่แน่นอนสูง มีโอกาสเกิดภาวะถดถอยและการชะลอตัวของภาคการผลิต แต่ยังคาดหวังภาคบริการและการท่องเที่ยวช่วยผลักดันการฟื้นตัว 2) ต้นทุนราคาพลังงานในตลาดโลกยังคงมีความผันผวนตามสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะค่าไฟฟ้า และภาวะเงินเฟ้อ

ทั้งนี้ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย มีข้อเสนอแนะที่สำคัญประกอบด้วย 1) ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย สนับสนุนการใช้เงินสกุลท้องถิ่น (Local currency) ที่มีอยู่ รวมถึงเร่งขยายกรอบความร่วมมือไปยังประเทศคู่ค้าที่สำคัญเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เพื่อลดความผันผวนจากการใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯในการทำธุรกรรม และพิจารณาทบทวนการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม 2) ขอให้ควบคุมหรือกำกับดูปรับขึ้นค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (FT) ในงวดเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2566 อยู่ระดับที่เหมาะสม เนื่องจากค่าไฟฟ้าเป็นต้นทุนหลักของภาคการผลิต และกระทบต่อขีดความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย และ 3) เร่งผลักดันกระบวนการเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) ไทย–สหภาพยุโรป, ไทย-EFTA และ FTA ใหม่ในตลาดคู่ค้าสำคัญ เช่น UAE และ GCC เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไม่ใช่ภูมิแห่งธรรม! ขายข้าวเน่าให้แอฟริกา จบกันมาตรฐานส่งออกไทย

นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ความรับผิดชอบของไทย ต่อความปลอดภัยของเพื่อนร่วมโลก