อบก.รับรอง 'โครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง' ร่วมลดก๊าซเรือนกระจก

โครงการ “ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง” จังหวัดลพบุรี โดย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ได้รับการประกาศรับรองสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme : LESS) ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. มีปริมาณกักเก็บก๊าซเรือนกระจกรวม 18,807.300 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า พร้อมกันนี้ อบก.รับรองฟาร์มและโรงงงานของซีพีเอฟ 57 แห่ง มีปริมาณกักเก็บก๊าซเรือนกระจก 3,448.445 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า จากการดำเนินโครงการรักษ์นิเวศ ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ในสถานประกอบการ

16 ธ.ค. 2564 นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนองค์กร ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า บริษัทฯ สนับสนุนการทำกิจกรรมของโรงงานและฟาร์มทั่วประเทศร่วมลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน ได้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกของอบก. อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 โดยปีนี้ อบก.ได้มอบใบประกาศเกียรติคุณรับรองให้หน่วยงานของซีพีเอฟ 57 แห่ง ที่มีการประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลด และกักเก็บได้จากกิจกรรมต่างๆ มีปริมาณการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกรวม 3,448.445 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า จากการปลูกต้นไม้ในสถานประกอบการ ในโครงการรักษ์นิเวศ บนพื้นที่ดำเนินการรวม 1,720 ไร่

ปีนี้ ยังเป็นปีแรกที่ซีพีเอฟนำ “โครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง” ซึ่งเป็นโครงการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และปลูกป่าใหม่ บริเวณพื้นที่เขาพระยาเดินธง 6,971 ไร่ ที่จังหวัดลพบุรี เข้าร่วมโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกของ อบก. โดยเลือกพื้นที่ที่ขอรับรองโซนส่งเสริมการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติ 1,500 ไร่ ซึ่ง อบก. รับรองปริมาณการกักเก็บก๊าซเรือนกระจก 18,807.300 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยในส่วนของพื้นที่ปลูกโซนอื่นๆ อาทิ แปลงปลูกป่าแบบพิถีพิถัน ปลูกป่าเชิงนิเวศ ปลูกป่าแบบเสริมป่า มีแผนทยอยส่งเข้าร่วมโครงการ LESS ในระยะต่อไป

โครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง เป็นความร่วมมือ 3 ประสาน ภาครัฐ ชุมชน และภาคเอกชน โดยชุมชนรอบพื้นที่เขาพระยาเดินธง กรมป่าไม้ และซีพีเอฟ ร่วมกันอนุรักษ์ ฟื้นฟู ปลูกป่าใหม่เพิ่มเติม บริเวณเขาพระยาเดินธง ต.พัฒนานิคม อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี เริ่มต้นโครงการฯในปี 2559 สำรวจพื้นที่ ศึกษารูปแบบการปลูกป่า การวางแผนปลูกป่า ดูแลให้ต้นไม้ในพื้นที่เติบโต จนถึงกระบวนการเก็บข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์เพื่อเป็นฐานข้อมูลเปรียบเทียบ จนถึงปัจจุบัน สามารถฟื้นสภาพผืนป่ากลับสู่ความอุดมสมบูรณ์ ต้นไม้ที่เติบโตขึ้นสามารถช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์

“ซีพีเอฟ ประกาศเป้าหมายกลยุทธ์ความยั่งยืน CPF 2030 Sustainability in Action ซึ่งภายใต้เป้าหมายดังกล่าว มุุ่งเน้นการมีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจกตลอดกระบวนการผลิต และมีแผนเพิ่มพื้นที่สีเขียวมากกว่า 20,000 ไร่ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของเครือเจริญโภคภัณฑ์ปลุูกต้นไม้ให้ได้ 20 ล้านต้น ก้าวสู่องค์กรที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2573 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) ” นายวุฒิชัย กล่าว

ทั้งนี้ ตลอด 7 ปี (ปี 2558 -2564) ที่ผ่านมา มีโรงงานและฟาร์มของซีพีเอฟ ได้รับการรับรองโครงการ LESS ด้านป่าไม้และพื้นที่สีเขียวมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีปริมาณที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 75,038.509 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า./

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สส. หนุนเครือข่าย เสริมพลัง ทส. และ มท. ลดขยะอาหาร มุ่งเป้าลดก๊าซเรือนกระจก

วันนี้ (16 พฤศจิกายน 2566) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

‘เอส แอนด์ พี’ ร่วมพิธีลงนามความร่วมมือ "โครงการส่งเสริมภาคธุรกิจลดก๊าซเรือนกระจกโดยกำหนดเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์เพื่อมุ่งสู่ Net Zero Emissions"

บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) โดย คุณมณีสุดา ศิลาอ่อน ประธานเจ้าหน้าที่สำนักพัฒนาความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร (คนกลาง)

“ปลูกป่า ปลูกอนาคต” กระจายกล้าไม้กว่า 157,050 ต้น ลดภาวะโลกร้อน เซเว่นฯ ลดก๊าซเรือนกระจกกว่า 3,467 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าในปี 65 กับโครงการ “ปลูกป่า ปลูกอนาคต”

ซีพี ออลล์ ผู้บริหารร้านเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ เดินหน้าเพิ่มพื้นที่สีเขียวอย่างต่อเนื่องในโครงการ “ปลูกป่า ปลูกอนาคต” เพื่อช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นมลพิษทางอากาศ และทำให้เกิดภาวะโลกร้อน

เบทาโกร ผนึก อบก. กำหนดเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก มุ่งสู่ Net Zero

บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ เบทาโกร โฟรเซ่นฟู้ดส์ (ประเทศไทย) จำกัด ภายใต้ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) โดย คุณปัทมา บุญพรม ผู้อำนวยการโรงงาน (ตรงกลาง)

TCMA เร่งเดินเครื่องทุกภาคส่วนใช้ปูนลดโลกร้อน (ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก) สร้างอีโคซิสเต็มมุ่งลดก๊าซเรือนกระจก ก้าวสู่ Thailand Cement Net Zero 2050

สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) ประกาศความมุ่งมั่นแผนกระตุ้นใช้งานปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก มอก. 2594 เพื่อทดแทนปูนซีเมนต์ชนิดเดิมทั้งหมด