ครั้งแรก James Dyson Award ! เปิดเวทีท้าทายนวัตกรไทยรุ่นใหม่ ไปถึงดวงดาว

บเป็นครี้งแรกที่ มูลนิธิรางวัลไดสัน หรือ James Dyson Award  ได้จัดการประกวดแข่งขันออกแบบนวัตกรรมระดับนานาชาติในประเทศไทย   ถือว่าเป็นการเปิดโอกาสให้เยาวชนไทย ได้แสดงผลงานด้านวิศวกรรมและการออกแบบสู่สายตาโลก โดยเปิดรับผลงานจากนักประดิษฐ์รุ่นใหม่แล้วตั้งแต่วันที่ 16มีนาคม   ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2565 ผ่านเว็บไซต์ jamesdysonaward.org ไทย โดยผู้ชนะระดับชาติจะได้รับรางวัลจำนวน 222,000 บาทและมีสิทธิในการชิงรางวัลระดับนานาชาติที่มีรางวัลจำนวนถึง 1,330,000 บาท

อัชฌาเอื้อ เชี่ยวชาญ  วิศวกรด้านแอร์โร ไดนามิค ของไดสัน  ณ สำนักงานประเทศสิงคโปร์  ซึ่งจบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวการบิน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ   ได้ชี้แจงเกี่ยวกับโครงการประกวดว่า ไดสัน ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนามาก ใช้เงินลงทุนไมต่ำกว่า 1.09 แสนล้านบาท  โดยมีนักวิจัยมากถึง 6,000คน   เนื่องจาก มองว่าหัวใจสำคัญของไดสันก็คือ การเกิดไอเดีย หรือคอนเซ็ปต์ใหม่ ๆ และนำไอเดียนั้นมาทดลองวิจัย ทดสอบ ปรับปรุง วนซ้ำไปซ้ำมา  และกลายเป็นโซลูชั่น แก้ไขปัญหา  การเรียนรู้จากความผิดพลาด ถือว่าเป็นเรื่องท้าทาย การทดสอบครั้งแล้วครั้งเล่า จนเป็นที่แน่ใจ ก่อนมาเป็นผลิตภัณฑ์  เพื่อให้ได้โปรดักส์ที่ได้ออกมาดีกว่าเดิม    ซึ่งถืว่าจะเป็นการผลักดันเทคโนโลยีให้ไปข้างหน้า


“เครื่องใช้ไฟฟ้าของไดสัน มีน้อยชนิด แต่เหมือนคำว่าน้อยแต่มาก เพราะมีขนาดเล็ก กระทัดรัด มีประสิทธิภาพสูง เช่น เครื่องดูดฝุ่นที่แต่ก่อนใหญ่ เทอะทะ ของไดสัน เป็นเครื่องไร้สาย  เสียงไม่ดัง  นอกจากนี้ ยังมีเครื่องเป่าผม เครื่องฟอกอากาศ ก็เป็นที่นิยมในตลาด ก็ใช้หลักไซโคลน”  


สำหรับ James Dyson Award ที่เปิดตัวอย่างเป็นทางการในประเทศไทยในปีนี้ อัชฌาเอื้อ บอกว่า นับเป็นโอกาสที่ดีที่เยาวชนไทยจะได้โชว์ความสามารถ การออกแบบเทคโนโลยีและนวัตกรรม   ซึ่งมีรางวัลระดับนานาชาติถึง 1.3 ล้านบาท  ผลงานผู้ชนะยังได้รับการประชาสัมพันธ์ออกไปทั่วโลก  และลิขสิทธิ์ของผลงานยังเป็นของผู้ออกแบบ ไม่ใช่ของไดสัน


” ผู้ไดัรับรางวัล ยังสามารถ นำผลงานของตนเองไปต่อยอดเป็นธุรกิจ การแข่งขันนี้ จึงเป็นโอกาสของคนรุ่นใหม่ ที่จะสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อเปลี่ยนโลก ซึ่งผมก็หวังให้คนไทยเก่ง มีความสามารถไปถึงเวทีระดับโลกได้”อัฌชาเอื้อกล่าว


ด้าน   Lydia Beaton ประธานมูลนิธิ “James Dyson Foundation” กล่าวว่า เจตนาของมูลนิธิไดสัน ก็เพื่อต้องการสร้างนว้ตกรรุ่นใหม่ เพื่อให้ไอเดียของเขาเหล่านี้ แพร่ออกไปสู่ระดับสากล  โดยการประกวดครั้งแรกมีขึ้นในปีค.ศ. 2005 เพื่อค้นหาไอเดียสดใหม่ของนักศึกษาและบัณฑิตจบใหม่จากคณะวิศวกรรมและคณะด้านการออกแบบด้วยโจทย์เดิมมาตลอด 17 ปีนั่นก็คือ “ออกแบบอะไรก็ได้ที่แก้ไขปัญหา” และด้วยโจทย์ที่เปิดกว้างทางความคิดเช่นนี้เอง ทำให้เราได้เห็นสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นจากปัญหาในระดับโลกมากมาย โดยผู้ชนะในปีที่ผ่านๆ มาได้นำเสนอสิ่งประดิษฐ์ที่แก้ไขปัญหาที่น่าทึ่ง ตั้งแต่แก้ไขปัญหาการเข้าถึงการรีไซเคิลพลาสติก แก้ปัญหาเลือดออกจากแผลมีดบาด และพัฒนาการตรวจโรคต่างๆ ได้เองที่บ้าน โดยรางวัลในระดับนานาชาตินั้นจะถูกคัดเลือกโดย James Dyson โดยตรง ผู้ชนะการประกวดครั้งนี้จะได้รางวัลเป็นเงินทุนและยังได้รับโอกาสการประชาสัมพันธ์ผลงานในระดับโลก ซึ่งถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการนำไอเดียไปต่อยอดทางธุรกิจ


 จุดหลักของการแข่งขันที่มีหัวข้อเเปิดกว้างมากเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแพทย์ เครื่องใช้ต่างๆ หรือเรื่องความยั่งยืน สิ่งแวดล้อม ต่างๆ เป็นการแข่งขันเชิงแนวคิด ที่ออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาการทำงานต่างๆ ลิเดีย กล่าวว่า  เนื่องจาก เซอร์เจมส์ ไดสัน เชื่อว่า วิศวกรรุ่นใหม่ๆ จะสามารถทำโซลูชั่น มาแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ ซึ่งผู้ออกแบบจะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาของเขา ที่เขาสามารถนำไปต่อยอดเป็นธุรกิจของตัวเองได้ ที่ผ่านมา ก็มีหลายคนทีร่รับรางวัล ที่นำไปต่อยอดเปิดธุรกิจของตนเอง


ต่อข้อถามว่า ทำไม ถึงเปิดเวทีที่ประเทศไทย ลิเดีย กล่าวว่า การเลือกของมูลนิธิ มองจากวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ ซึ่ง5 ปีที่ผ่านมา มองเห็นว่าว่าประเทศไทยมีวัฒนธรรมการผลักดันเรื่องของการออกแบบเยอะมาก ซึ่งการประกวดที่มีขึ้นในประเทศไทย หวังว่า เยาวชนไทย จะคิดสร้างสรรค์ผลงานที่มีความน่าสนใจ และไปถึงระดับนานาชาติได้


“หลักการคัดเลือกผลงานของไดสัน คือ การเปิดรับไอเดียใหม่ๆ เราจะนำผลงานต้นแบบ ที่เป็น Proto Type มาทดสอบ ดูว่าใช้่ได้จริงแค่ไหน เราจึงเปิดกว้างในการประกวดมาก “ประธานมูลนิธิไดสันกล่าว


ส่วนJames Dyson ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าทีมวิศวกร Dyson ส่งสาร เกี่ยวกับการประกวดในประเทศไทยว่า  ความสำคัญของรางวัล James Dyson Award คือการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาด และส่งเสริมให้นักประดิษฐ์และออกแบบรุ่นใหม่ได้ตั้งคำถามและท้าทายกับสิ่งต่างๆ เชื่อว่าคนรุ่นใหม่มีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้และมันเป็นสิ่งที่ควรสนับสนุน เพราะโลกในอนาคตคือโลกของพวกเขา รางวัลนี้จะให้ความมั่นใจและพื้นที่สำหรับการแก้ปัญหา


” 70% ของผู้ชนะในระดับนานาชาติที่ผ่านมาได้สานต่อโครงการและต่อยอดสิ่งประดิษฐ์ของพวกเขาในทางธุรกิจด้วย ผมตื่นเต้นมากที่ในปีนี้เราจะเปิดตัว James Dyson Award ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และผมตั้งตารอดูผลงานที่จะเปลี่ยนโลกจากนักประดิษฐ์เยาวชนไทย ขอให้ทุกคนโชคดี”

สำหรับการประกวดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จำนวนสิ่งประดิษฐ์จากผู้เข้าแข่งขันทั่วโลกได้เพิ่มขึ้นจนทำลายสถิติ และด้วยวิสัยทัศน์ที่เห็นถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมในการอนาคต James Dyson ได้เลือกผู้ชนะรางวัลระดับนานาชาติถึง 3 รางวัลเป็นครั้งแรกในปี 2564 ที่ผ่านมาโดยแต่ละรางวัลจะได้เงินรางวัลจำนวน 1,330,000 เช่นกัน

 ในปีนี้จะมีการเลือกผู้ชนะรางวัลระดับนานาชาติเช่นเดิม แต่ก่อนจะถึงการแข่งขันในระดับนานาชาติ แต่ละประเทศจะทำการคัดเลือกผู้ชนะในระดับชาติ และรางวัลรองชนะเลิศอีก 2 รางวัล โดยคณะกรรมการที่ทำการคัดเลือกผู้ชนะจะมาจากผู้เชียวชาญในแต่ละประเทศและวิศวกรจาก Dyson โดยในปี พ.ศ. 2565 นี้ James Dyson Award ได้เปิดตัวเป็นครั้งแรกใน 2 ประเทศนั่นก็คือประเทศตุรกี และ ประเทศไทย

สำหรับผู้ที่ชนะรางวัลระดับชาติจะได้รับเลือกให้ลงแข่งในระดับนานาชาติโดยอัตโนมัติ โดย James Dyson จะเป็นผู้คัดเลือกผู้ชนะในระดับนานาชาติด้วยตัวเอง  โดยสิ่งที่วิศวกรจาก Dyson มองหาในสิ่งประดิษฐ์จากการแข่งขันครั้งนี้ไม่ได้ให้ความสำคัญกับแค่ผลกระทบของปัญหาเป็นส่วนหลัก แต่เป็นคุณค่าของสิ่งประดิษฐ์นั้น รวมถึงการทำงานได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพของสิ่งประดิษฐ์นั้นด้วย

ผลงานชนะรางวัลระดับนานาชาติด้านการแพทย์ปี2021

มีตัวอย่างผลงานที่ได้รีบรางวัลนานาชาติ จากการแข่งขัน  James Dyson Award ที่สามารถต่อยอดเป็นธุรกิจได้ อาทิ ผลงาน”mOm incubators” จากผู้ชนะระดับนานาชาติปี 2014   เป็นการเพิ่มตัวเลือกในการดูแลเด็กแรกเกิด หลังจากทดสอบการใช้งานเสร็จสิ้น ขณะนี้ mOm ได้ใช้งานในองค์กร UK NHS trust สามแห่งและได้ช่วยชีวิตทารกกว่า 20 ชีวิต โดยมีแผนการพัฒนา mOm ไปสู่การใช้งานในระดับโลกเพื่อช่วยอัตรการเข้าถึกการดูแลทารกทั่วโลก และในปี 2017 ผู้ชนะรางวัลรองชนะเลิศจากสหรัฐอเมริกา


ผลงาน SoaPen สบู่ในรูปแบบปากกาสีสันสดใสที่กระตุ้นการล้างมือได้พัฒนาผลงานสู่การดำเนินธุรกิจและติดอันดับ Forbes 30 Under 30 Lists และได้จำหน่ายสินค้าทั่วทวีปอเมริกาและล่าสุดได้ผลิตเจลล้างมือเพื่อตอบรับความต้องการของตลาดในช่วงการระบาดของโรค COVID-19


Rabbit Ray ผู้ชนะรางวัลรองชนะเลิศระดับชาติ จากสิงคโปร์ เครื่องมือสื่อสารสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ช่วยอธิบายขั้นตอนทางการแพทย์แก่เด็ก โดยเจ้าของสิ่งประดิษฐ์ Esther Wang ได้ก่อตั้งบริษัทด้านสุขภาพและการศึกษาที่ชนะรางวัลอย่างบริษัท Joytingle โดยสิ่งประดิษฐ์ของเธอสามารถช่วยอธิบายได้ตั้งแต่การฉีดวัคซีนจนไปถึงการรักษาด้วยคีโม  

ผลงานชนะรางวัลระดับนานาชาติด้านความยั่งยืนปี 2021


 ขั้นตอนการสมัคร  ผู้เข้าแข่งขันสมัครประกวดแข่งขันผ่านแบบฟอร์มออนไลน์ภายในเว็บไซต์ James Dyson Award โดยผู้เข้าแข่งขันต้องอธิบายว่าสิ่งประดิษฐ์นั้นคืออะไร วิธีการทำงานเป็นอย่างไร และกระบวนการพัฒนาสิงประดิษฐ์นั้นๆ โดยสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับการตอบรับดีจะต้องแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ได้จริง และต้องสามารถอธิบายถึงที่มาที่ไปได้อย่างชัดเจน พร้อมแสดงกระบวนการทดลองและพัฒนา และแสดงหลักฐานในการพัฒนาต้นแบบในรูปแบบภาพและวิดีโอ


โดยปีนี้กรรมการจะพิจารณาข้อจำกัดในการสร้างต้นแบบสิ่งประดิษฐ์อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19   เกณฑ์ผู้เข้าแข่งขัน  จะต้องกำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมการแข่งขัน James Dyson Award หรือจบการศึกษาเป็นระยะเวลาไม่เกิน 4 ปีในคณะวิศวกรรม หรือคณะด้านการออกแบบ ในกรณีที่เข้าแข่งเป็นทีม สมาชิกในทีมทุกคนจะต้องศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมแข่งขัน James Dyson Award หรือจบการศึกษาไม่เกิน 4 ปี โดยต้องมีสมาชิกอย่างน้อย 1 คนที่ศึกษาหรือจบการศึกษาไม่เกิน 4 ปีจากคณะวิศวกรรมหรือคณะด้านการออกแบบ  ผู้สนใจดูข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่เว็บไซต์ James Dyson Award.


เพิ่มเพื่อน