'อัมพร'ติวเข้มจี้ครูปรับการสอนสู่Active Learning รร.ต้องมีหลักสูตรของตัวเองสอดคล้องบริบทพื้นที่

22มิ.ย.65-นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวภายหลังการประชุมสื่อสารสร้างความเข้าใจ โครงการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 เพื่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ให้แก่ครู ผู้บริหาร และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ว่า การประชุมครั้งนี้ตนต้องการสร้างความเข้าใจการขับเคลื่อนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในฐานะหน่วยงานรับนโยบายและเราเป็นผู้ปฎิบัติให้เป็นไปตามแผนปฎิรูปประเทศด้านการศึกษาด้วยการกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะ โดยที่ผ่านมาเรามีการปรับปรุงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 มาแล้วและปรับปรุงอีกครั้งในปี 2560 ด้วยการเพิ่มสมรรถนะการเรียนรู้เข้าไปเพิ่มอีก 5 ตัวจากหลักงสูตรอิงมาตรฐาน

นายอัมพร กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ สพฐ.จึงต้องการขับเคลื่อนหลักสูตรไปสู่กระบวนการจัดการเรียนการสอนให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียน โดยการดำเนินการในการขับเคลื่อนกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) นั้น สพฐ.จะมุ่งพัฒนาครูให้เข้าใจ ว่า อะไรคือการเรียนรู้ในรูปแบบ Active Learning และจะจัดการเรียนการสอนอย่างไรให้ตอบโจทย์การเรียนรู้ดังกล่าว ซึ่งแม้จะมีการอบรมครูไปแล้ว กว่า 4 แสนคน แต่เราต้องการให้เกิดการขับเคลื่นในการปฏิบัติเรื่องนี้อย่างจริงจัง ดังนั้นครูและผู้บริหารจะต้องกลับไปปรับปรุงหลักสูตรของสถานศึกษาให้มุ่งสู่การเป็นสมรรถนะ ซึ่งทุกโรงเรียนจะต้องไปทำหลักสูตรของสถานศึกษาตัวเองให้เหมาะสมตามบริบทของพื้นที่ เช่น โรงเรียนในพื้นที่ภาคใต้มีการอนุรักษ์เรื่องวัฒนธรรมโนราห์ โรงเรียนก็ต้องมุ่งทำหลักสูตรท้องถิ่นให้เด็กได้เรียนรู้วัฒนธรรมของตัวเอง เป็นต้น จากนั้นเมื่อได้หลักสูตรสถานศึกษาที่เป็นหลักสูตรของตัวเองแล้วครูจะต้องนำหลักสูตรไปคลี่ เพื่อกำหนดหน่วยการเรียนออกแบบการวัดและประเมินผล เพื่อให้เกิดการประเมินผลสัมฤทธิ์ของเด็กที่แท้จริงว่าเด็กเรียนไปแล้วเกิดสมรรถนะการเรียนรู้แบบไหนอย่างไร

“จากนี้ไปครูต้องปรับแผนการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ และการวัดประเมินผลใหม่ให้สอดรับกับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เพราะสมัยก่อนครูจะต้องยืนสอนอยู่หน้ากระดาน เป็นผู้บอกความรู้ แต่จากนี้ไปครูต้องเป็นคนอำนวยการ และวิธีการแสวงหาความรู้เด็กต้องทำเอง โดยสิ่งเหล่านี้ที่เราอยากให้เกิดขึ้น ในส่วนเขตพื้นที่ ผอ.โรงเรียนจะต้องปรับการส่งเสริมสนับสนุนให้ครูในเรื่องการวัดและประเมินผลด้วย เพราะสุดท้ายแล้วจะทำให้เกิดการขับเคลื่อนการกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning อย่างแท้จริง”เลขาฯ กพฐ.กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"เสมา1" มอบ สพฐ. ใช้ระบบไอทีทำใบ ปพ.5 ช่วยลดขั้นตอนเอกสารของครูผู้สอน ใบสำคัญด้านการศึกษา หวังก้าวสู่องค์กรดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

เมื่อวันที่ 21 มี.ค. นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ตามที่ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ ได้มีนโยบายลดภาระครู ซึ่งจะเร่งผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หลุดกรอบการทำเอกสารของครูผู้สอนแบบเดิม

"รมช.สุรศักดิ์" ผนึกกำลัง​ สพฐ. ลงพื้นที่กระบี่ ย้ำโรงเรียนต้องปลอดภัย อาหารกลางวันต้องได้คุณภาพ พร้อมดันนโยบาย "เรียนดี มีความสุข" ต่อเนื่อง

เมื่อวันอาทิตย์​ที่ 21 มกราคม 2567 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ จ.กระบี่