สปสช.แจ้งด่วน 'หญิงตั้งครรภ์ใกล้คลอด' ที่ฝากครรภ์ 9 รพ.เอกชนถูกยกเลิกสัญญา หากยังไม่มี รพ.รับดูแลต่อ รีบติดต่อ 1330 กด 6

29ก.ย.2565- พญ.ลลิตยา กองคำ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ตามที่ สปสช.ได้มีการยกเลิกสัญญาการให้บริการปฐมภูมิ ประจำ และรับส่งต่อทั่วไปกับโรงพยาบาลเอกชน 9 แห่ง ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 นี้ โดยเป็นไปตามข้อกฎหมายจากปัญหาการเบิกจ่ายค่าบริการไม่ถูกต้อง และที่ผ่านมา สปสช. ได้ประสานขอความร่วมมือโรงพยาบาลเอกชนทั้ง 9 แห่ง เพื่อให้ดูแลผู้ป่วยระบบบัตรทองต่อเนื่องจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565

อย่างไรก็ตามด้วยความกังวลผลกระทบที่อาจเกิดกับผู้ป่วย โดยเฉพาะกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ใกล้คลอด ซึ่งบางรายมีนัดทำคลอดในช่วง 1-2 เดือนนี้ การดำเนินการกรณีที่โรงพยาบาลเอกชนที่หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ยังคงร่วมบริการผู้ป่วยบัตรทองถึงวันนที่ 31 ธ.ค. นี้นั้น ให้หญิงตั้งครรภ์รับบริการทำคลอดที่โรงพยาบาลเดิมต่อได้โดยใช้สิทธิบัตรทอง แต่ในกรณีที่เป็นโรงพยาบาลไม่ร่วมให้บริการผู้ป่วยบัตรทองแล้ว ที่ผ่านมา สปสช. ได้รีบประสานไปยังโรงพยาบาลเอกชนเพื่อขอเวชระเบียนพร้อมประวัติการฝากครรภ์ของผู้ป่วย เพื่อนำมาจัดหาโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนในระบบบัตรเพื่อดูแลและให้บริการหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ใกล้คลอดแล้ว ขณะเดียวกันทางเจ้าหน้าที่สายด่วน สปสช. 1330 จะมีการโทรติดต่อและให้ข้อมูลการเข้ารับบริการกับหญิงตั้งครรภ์ด้วย

“ด้วยกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะที่มีกำหนดจะคลอดในเร็วๆ นี้ ถือเป็นกลุ่มผู้ป่วยเร่งด่วนที่สุดที่ต้องดูแลและหาหน่วยบริการรองรับโดยเร็ว ด้วยมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงการดูแลที่ต่อเนื่องโดยสูตินรีแพทย์ อย่างไรก็ตามในกรณีหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นผู้ป่วยของโรงพยาบาลเอกขนทั้ง 9 แห่ง หากยังไม่ได้รับการติดต่อใดๆ ขอให้โทรมาที่สายด่วน สปสช. 1330 กด 6 โดยเร็ว เพื่อที่จะได้เข้าสู่ระบบเพื่อได้รับการดูแลครรภ์อย่างต่อเนื่อง” รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวและว่า ขณะนี้จากข้อมูลในระบบมีหญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์กับโรงพยาบาลเอกชน 9 แห่ง จำนวน 207 ราย ในจำนวนนี้ 66 ราย ที่ตั้งครรภ์ที่ 38-40 สัปดาห์ ซึ่งต้องหาโรงพยาบาลรองรับโดยด่วน

พญ.ลลิตยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ในกรณีหญิงตั้งครรภ์ที่เข้ารับบริการต่อเนื่องยังโรงพยาบาลแห่งอื่นที่รับดูแลต่อ รวมถึงกรณีผู้ป่วยโรคอื่นๆ ที่หลังวันที่ 30 กันยายน 2565 เป็นต้นไป มีนัดหมายรักษากับโรงพยาบาลอื่น เนื่องจากถูกส่งต่อจาก รพ.เอกชน 9 แห่งนั้น สปสช.ได้ทำหนังสือถึงหน่วยบริการหรือโรงพยาบาลที่รับส่งต่อว่าไม่ต้องเรียกเก็บใบส่งตัวจากผู้ป่วยกลุ่มนี้ ขอให้รักษาผู้ป่วยได้ตามนัดหมายเหมือนเดิม

หญิงตั้งครรภ์ใกล้คลอดที่ฝากครรภ์และมีนัดทำคลอด 9 รพ.เอกชนใน กทม.ที่ถูกยกเลิกสัญญา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 สปสช.จัดระบบให้ได้รับดูแลต่อเนื่องดังนี้

1.ฝากท้องกับ รพ.กล้วยน้ำไท รพ.ประชาพัฒน์ และ รพ.บางมด รับการดูแลที่ รพ.เดิม

โทร.สอบถามได้ที่ รพ.กล้วยน้ำไท 02-7424398, รพ.ประชาพัฒน์ 02-2479966, รพ.บางมด 02-8670606

2.ฝากท้องกับ รพ.บางนา 1 และ รพ.แพทย์ปัญญา ไปรับการดูแลต่อที่ รพ.กล้วยน้ำไท ให้ติดต่อขอเวชระเบียนที่ รพ.เดิม และ โทร.นัดหมาย รพ.กล้วยน้ำไทที่เบอร์ 027424398

3.ฝากท้องกับ รพ.เพชรเวช และ รพ.มเหสักข์ ไปรับการดูแลต่อที่ รพ.คลองตัน ให้ติดต่อขอเวชระเบียนที่ รพ.เดิม และ โทร.นัดหมาย รพ.คลองตันที่เบอร์ 02 3192101

4.ฝากท้องกับ รพ.นวมินทร์ สปสช.อยู่ระหว่างเจรจากับ รพ.นพรัตน์ เพื่อรับดูแลต่อ

หมายเหตุ

1.การดูแลที่ รพ.กล้วยน้ำไท จะมี เคคลินิกเวชกรรม สาขาอ่อนนุช ซึ่งเป็นคลินิกในเครือข่ายร่วมดูแลหญิงตั้งครรภ์ด้วย

2.หญิงตั้งครรภ์ท่านใดที่ยังไม่มี รพ.รับดูแลครรภ์ต่อเนื่อง ติดต่อสายด่วน สปสช. 1330 กด 6

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ สั่ง 'สปสช.-สปส.' ร่วมยกระดับหลักประกันสุขภาพ

นายกฯ สั่งการเดินหน้าบูรณาการการทำงาน สปสช.- สปส. ร่วมมือการทำงาน เริ่ม 1 เม.ย.2567 ยกระดับหลักประกันสุขภาพตรวจสุขภาพเพิ่มเติมตามกลุ่มช่วงอายุ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

สปสช.ยังค้างจ่ายเงินโรงเรียนแพทย์ร่วม 1,000 ล้านบาท แจงยิบติดค้างรพ.ละเท่าไหร่

รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ประธานคณะกรรมการอำนวยการเครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet) กล่าวถึงกรณี รองเลขาฯ สปสช.ชี้แจงค้างจ่ายเงินโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ ที่ไม่สามารถเรียกเก็บได้ รวม 369 ล้านบาท ว่าเกิดจากการเรียกเก็บค่าชดเชย ที่ติดรหัส C และติดรหัส DENY นั้น ไม่ครบถ้วน