28 พ.ย.2565-กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศระหว่างเวลา 06.00 น.ถึงเวลา 06.00 น. วันที่ 29 พ.ย. ลักษณะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ โดยภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ไว้ด้วย
สำหรับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ประกอบกับมีลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
ภาคเหนือ อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-16 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 15-19 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดอุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม และสมุทรสาคร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดสงขลา ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
กรุงเทพและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ลมหนาวกำลังแรงยังมีอีกระลอก 26-28 ม.ค. จากนั้นลมเริ่มเปลี่ยนทิศทาง
กรมอุตุนิยมวิทยา อัพเดทผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 20 ม.ค. - 3 ก.พ.68 init. 2025011912 จากศูนย์พยากรณ์อากาศ
อุตุฯ เตือนอากาศเย็นถึงหนาว มีหมอกบางตอนเช้า ใต้ฝนฟ้าคะนอง 20%
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนภาคใต้ตอนบน
กรมอุตุฯพยากรณ์ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ทั่วไทยอากาศเย็นถึงหนาว ‘กทม.’ ต่ำสุด 18 องศาฯ
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว
อากาศเย็นต่อเนื่อง กรมอุตุฯ เผยลมหนาวพัดปกคลุมเสริมลงมาอีก ช่วง 26 -28 ม.ค.68
การพยากรณ์ฝนสะสมรายวันทุกๆ 24 ชม.นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.)15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 19 ม.ค. - 2 ก.พ.68
ไทยตอนบนยังหนาวเย็น ข่าวดีภาคใต้ตอนล่างฝนตกลดลง
กรมอุตุนิยมวิทยา รายงาน พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีอากาศเย็นในตอนเช้า
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า
กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า ในช่วงวันที่ 19 – 20 ม.ค. 68 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นยังค