อุตุฯ ประกาศฉบับ 7 เตือน 39 จังหวัด รับมือพายุฤดูร้อนถล่ม 28-29 มี.ค.

27 มี.ค.2566 - เมื่อเวลา 17.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน" ฉบับที่ 7 (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 27 - 29 มีนาคม 2566) บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางได้แผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศลาวและทะเลจีนใต้แล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือในระยะต่อไป ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด

ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 27-29 มีนาคม 2566 โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย

โดยพื้นที่ได้รับผลกระทบมีดังนี้

วันที่ 27 มีนาคม 2566

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดบึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคตะวันออก: จังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี และตราด

วันที่ 28 มีนาคม 2566

ภาคเหนือ: จังหวัดพิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

วันที่ 29 มีนาคม 2566

ภาคเหนือ: จังหวัดพิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม และสมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ เตือนฉบับ 6 อัปเดตพื้นที่เสี่ยง 10 จังหวัดภาคตะวันออก-ภาคใต้ฝั่งตะวันตกเจอฝนตกหนัก

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง คลื่นลมแรงและฝนตกหนักถึงหนักมาก ฉบับที่ 6 มีผลกระทบถึงวันที่ 6 มิถุนายน 2566 โดยมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรง

อุตุฯ เตือนฝนถล่ม 36 จังหวัด คลื่นสูง 2-3 เมตร

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก

อุตุฯ ประกาศฉบับ 5 เตือนคลื่นลมแรง ฝนตกหนักถึงหนักมาก

ว่าที่ร้อยตรีธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่องคลื่นลมแรงและฝนตกหนักถึงหนักมาก

ไทยยังเผชิญฝนฟ้าคะนองถ้วนทั่ว 'กทม.-ปริมณฑล' เจอแค่ 20%ของพื้นที่

กรมอุตุฯ คาดวันนี้ไทยยังฝนฟ้าคะนองตั้งแต่ 20-70%ของพื้นที่ เตือนระนอง พังงา และภูเก็ตเตรียมรับมือเจอถล่มหนัก คลื่นสูงกว่า 3 เมตร เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

กรมอุตุฯ ประกาศเตือนเรื่องคลื่นลมแรงและฝนตกหนักถึง 6 มิ.ย.

กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนฉบับที่ 1 เรื่อง คลื่นลมแรงและฝนตกหนักถึงหนักมากมีผลกระทบถึง 6 มิ.ย. ระบุภาคตะวันออกและภาคใต้เตรียมเผชิญฝนถล่ม คลื่นสูงกว่า 3 เมตร เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง